สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 2 ก.ย. 66
สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 2 ก.ย. 66 เวลา 7.00 น.
ฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงสูงสุดที่ผ่านมารายภาค มีฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณ จ.ตราด (389) จ.พังงา (235) จ.แพร่ (140) จ.บุรีรัมย์ (62) จ.สุพรรณบุรี (60) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (56)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 44,100 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,657 ล้าน ลบ.ม. (55%)
กอนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 29 ส.ค.-3 ก.ย. 66 บริเวณ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร ตาก พิษณุโลก และอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย ชัยภูมิ ขอนแก่น สกลนคร มหาสารคาม หนองบัวลำภู และกาฬสินธุ์ ภาคตะวันออก จ.ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต และเฝ้าพื้นที่เสี่ยงระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ แม่น้ำยัง บริเวณอ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด และ แม่น้ำสงคราม บริเวณอ.บ้านม่วง
จ.สกลนคร ถึง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม
สทนช. จัดงาน “ความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ”
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการจัดกิจกรรม “ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ” เนื่องในวันน้ำโลกประจำปี 2566 เพื่อสื่อสารกับทุกภาคส่วนให้ร่วมกันเร่งการเปลี่ยนแปลงผ่านสารของนายกรัฐมนตรี ในวันน้ำโลก 22 มีนาคม 2566 และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ด้วยการสร้างความตระหนักและความร่วมมือ เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และยกระดับการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนกับทุกภาคส่วน รวมถึงเยาวชน โดยมุ่งพัฒนาน้ำดื่มน้ำใช้ที่ได้มาตรฐาน และขับเคลื่อนความร่วมมือใช้น้ำอย่างประหยัด เป็นลำดับแรกรัฐบาลยืนยันเจตนารมณ์และความพร้อมเดินหน้าไปกับประเทศสมาชิกในการประกาศคำมั่นโดยสมัครใจ ร่วมเร่งการเปลี่ยนแปลงด้านน้ำตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีส่วนร่วม ให้ประสบความสำเร็จภายในปี 2030 และพร้อมรับข้อเสนอแนะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานและองค์กรด้านน้ำของประเทศสมาชิก เพื่อเพิ่มอัตราเร่งของพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นการจัดกิจกรรมในวันนี้เป็นการแสดงผลการดำเนินงานของหน่วยงานและองค์กรภาคีเครือข่ายด้านน้ำ ที่สำเร็จได้ด้วยความร่วมมือของภาครัฐและการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การแลกเปลี่ยนแนวคิดและการขับเคลื่อนความร่วมมือการใช้น้ำอย่างประหยัดของภาครัฐ ภาคการศึกษาวิจัย ภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม และการแสดงพลังเยาวชนในการขับเคลื่อนการพัฒนาน้ำดื่มน้ำใช้ที่ได้มาตรฐาน และการใช้น้ำอย่างประหยัด ร่วมกับสถานศึกษาและชุมชน และด้วยความร่วมมือของหน่วยงานและองค์กรภาคี ผนวกกับการมีส่วนร่วมของเครือข่ายบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ จะส่งผลให้เกิดการขยายแนวร่วมลงมือปฏิบัติที่มีความเข้มแข็ง เร่งการเปลี่ยนแปลงการจัดการน้ำและสุขาภิบาลของประเทศตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การแสดงนิทรรศการของหน่วยงานและองค์กรด้านน้ำ การเสวนาแลกเปลี่ยนแนวคิดการบริหารจัดการน้ำของภาครัฐและภาคประชาสังคม และการนำเสนอการร่วมบริหารจัดการน้ำของเยาวชน 4 ภูมิภาคของประเทศ เป็นต้น
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 2 กันยายน 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 16/2566 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2566 แจ้งเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ด้วย กอนช. ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 29 สิงหาคม – 3 กันยายน 2566 มีพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ดังนี้ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอกัลยาณิวัฒนา จอมทอง และอมก๋อย) จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ขุนยวม และสบเมย) จังหวัดกำแพงเพชร (อำเภอเมืองกำแพงเพชร โกสัมพีนคร ขาณุวรลักษบุรี คลองลาน ไทรงามพรานกระต่าย และลานกระบือ) จังหวัดตาก (อำเภอเมืองตาก ท่าสองยาง พบพระ แม่ระมาด แม่สอด วังเจ้า และอุ้มผาง) จังหวัดพิษณุโลก (อำเภอชาติตระการ นครไทย เนินมะปราง และบางระกำ) จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอน้ำปาด)ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย (อำเภอนาแห้ว ผาขาว ภูเรือ และวังสะพุง) จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอคอนสารและบ้านแท่น) จังหวัดขอนแก่น (อำเภอชุมแพ ภูเวียง เวียงเก่า สีชมพู หนองนาคำ และหนองเรือ) จังหวัดสกลนคร(อำเภอบ้านม่วง วานรนิวาส และอากาศอำนวย) จังหวัดมหาสารคาม (อำเภอกันทรวิชัย) จังหวัดหนองบัวลำภู(อำเภอเมืองหนองบัวลำภู นากลาง นาวัง และศรีบุญเรือง) จังหวัดกาฬสินธุ์ (อำเภอยางตลาด) ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง (อำเภอแกลง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ นายายอาม มะขาม และแหลมสิงห์)จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด เกาะกูด เกาะช้าง เขาสมิง คลองใหญ่ บ่อไร่ และแหลมงอบ) ภาคใต้ จังหวัดชุมพร(อำเภอท่าแซะ และพะโต๊ะ) จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง และกระบุรี) จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมทรัพยากรน้ำ กำจัดวัชพืชเเละสิ่งกีดขวางทางน้ำ บริเวณฝายน้ำล้นโนนกระโดน บ้านโนนกระโดน หมู่ที่ 4 ตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเร่งเปิดทางน้ำ ทำให้ทางเดินของน้ำระบายได้สะดวก
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
วันที่ 1 ก.ย. 66 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการจัดกิจกรรม “ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ” เนื่องในวันน้ำโลกประจำปี 2566 ณ ห้องแคทลียา โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ จัดโดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารกับทุกภาคส่วนให้ร่วมกัน
เร่งการเปลี่ยนแปลงผ่านสารของนายกรัฐมนตรี ในวันน้ำโลก 22 มีนาคม 2566 และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ด้วยการสร้างความตระหนักและความร่วมมือ เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และยกระดับการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนกับทุกภาคส่วน รวมถึงเยาวชน โดยมุ่งพัฒนาน้ำดื่มน้ำใช้ที่ได้มาตรฐาน และขับเคลื่อนความร่วมมือใช้น้ำอย่างประหยัด เป็นลำดับแรก