สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 6 สค. 66
ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักมากบริเวณ จ.ตาก (107) จ.นราธิวาส (84) จ.สกลนคร (66) จ.กาญจนบุรี (44) จ.พระนครศรีอยุธยา (27) จ.สระแก้ว (17)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 42,116 ล้าน ลบ.ม. (51%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 37,414 ล้าน ลบ.ม. (52%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลงพื้นที่ซ่อมระบบประปาบาดาล ในพื้นที่ บ้านกระบี่ หมู่ที่ 8 ต.หนองหญ้าลาด อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ และดำเนินการเป่าล้างบ่อน้ำบาดาลพร้อมซ่อมบำรุง ในพื้นที่ บ้านยางครึ่งเส้น หมู่ที่ 7 ต.หนองฉาง อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี เพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วง 1 – 3 วัน บริเวณ ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ น่าน แม่ฮ่องสอน และตาก ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ภาคตะวันออก จ.จันทบุรี และตราด
กอนช. ติดตามการดำเนินการตามมาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566
เมื่อวันที่ 3 – 4 ส.ค. 66 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้จัดโครงการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุตั้งศูนย์ส่วนหน้า และสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชน ตามมาตรการที่ 8 และ 10 ในมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 โดย นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการ สทนช. ในฐานะเลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฯ ณ โรงแรม โอทู อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม อาทิ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมประชาสัมพันธ์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การประปาส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยทหาร เครือข่ายภาคประชาชน และองค์กรผู้ใช้น้ำ เข้าร่วมการฝึกในครั้งนี้ โดยรูปแบบการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุรับมือสถานการณ์อุทกภัยเป็นการฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะ (Table Top Exercise : TTX) และจำลองสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ จ.เพชรบุรี โดยมีขั้นตอนการฝึก ประกอบด้วยการจำลองการจัดตั้งศูนย์ส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย และใช้กลไกการปฏิบัติตาม โครงสร้างของศูนย์ส่วนหน้า รวมทั้งการเตรียมความพร้อมทั้งเครื่องจักรเครื่องมือแผนเผชิญเหตุการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องข้อมูลสถานการณ์น้ำ ช่องทางและการเชื่อมโยงการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างภาคประชาชนและภาครัฐ รวมถึงการแนะนำการใช้งานแอปพลิเคชันติดตามและแจ้งข้อมูลสถานการณ์น้ำ ผ่าน National ThaiWater (NTW) และช่องทางการติดต่ออื่นๆ เพื่อบูรณาการร่วมกันในการเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือฤดูฝน ปี 2566 โดยได้ดำเนินการมาแล้วใน 4 พื้นที่ ได้แก่ จ.เชียงราย ขอนแก่น เพชรบุรี และยะลา และจะดำเนินการครั้งต่อไปในพื้นที่ จ.ปราจีนบุรี ช่วงวันที่ 16 – 17 ส.ค. 66
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 6 สิงหาคม 2566 ดังนี้
- ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
1.1 กองทัพบก ดำเนินการเจาะบ่อน้ำตื้นให้กับ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคให้กับประชาชนเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์เอลนีโญ่ ณ บ.ปรักมะหว้า ม.8 (บ่อ 2) ต.พรานกระต่าย อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร
1.2 กรุงเทพมหานคร ดำเนินการลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพในคลองผดุงกรุงเกษม คลองมหานาค คองบางลำพูคลองโอ่งอ่าง สำหรับแนวทางการบริหารจัดการน้ำในคลองผดุงกรุงเกษมนั้น จะทำการเปิดประตูน้ำที่สถานีสูบน้ำเทเวศร์ เพื่อรับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาให้มีการไหลเวียนถ่ายเท (flushing) โดยไประบายออกบริเวณสถานีสูบน้ำกรุงเกษม ซึ่งอยู่ปลายอีกด้านหนึ่งของคลองผดุงกรุงเกษม รวมถึงยังสามารถบริหารน้ำให้ไหลเวียนผ่านคลองมหานาคเข้าสู่คลองแสนแสบ โดยใช้อาคารรับน้ำแสนเลิศของอุโมงค์ระบายน้ำใต้บึงมักกะสันเพื่อช่วยในการบังคับทิศทางน้ำเป็นการปรับปรุงคุณภาพน้ำในคลองแสนแสบอีกด้วย - สภาพอากาศและการคาดการณ์
ในช่วงวันที่ 4 – 6 สิงหาคม 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร รวมทั้ง พายุโซนร้อนกำลังแรง “ขนุน” (KHANUN) บริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของไต้หวัน มีแนวโน้มจะเคลื่อนขึ้นฝั่งทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 8-9 ส.ค. 66 - การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2566 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้จัดการประชุมคณะอนุกรรมการจัดทำแนวททางการแบ่งปันน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งปี 66/67 ณ จังหวัดจันทบุรี พร้อมร่วมกันพิจารณา วิเคราะห์แนวทางและหลักเกณฑ์การแบ่งปันจากแม่น้ำวังโตนด จ.จันทบุรี ไปยังอ่างเก็บน้ำประแสร์ จ.ระยอง (โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน) เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 (มาตรการที่ 7) และแผนปฏิบัติการรองรับสถานการณ์ภัยแล้งปี 66/67 ของลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งมุ่งเน้นการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพในภาพรวมของลุ่มน้ำ และให้มีแนวทางการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในพื้นที่ หน่วยงานราชการ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องบนฐานข้อมูลที่ถูกต้อง