คลังตุน20มาตรการเสนอรมว.คลังคนใหม่
กระทรวงการคลังเตรียม 20 มาตรการเพื่อเสนอต่อ รมว.คลัง คนใหม่
กระทรวงการคลังเตรียม 20 มาตรการเพื่อเสนอต่อ รมว.คลัง คนใหม่ และในช่วงที่สุญญากาศ หากการเมืองยืดเยื้อ ก็มีมาตราการฉุกเฉินเตรียมพร้อมรับมือ ซึ่งกรณีนี้ ได้ร่างมาตราการร่วมกับ ธปท.ด้วย
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง เผยว่าระบบราชการไว้วางกำลังคน เอาไหวพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่ไม่แน่นอน กรณีการเมืองเกิดปัญหาและยืดเยื้อ เช่น พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี2567 ที่จะเริ่มวันที่ 1 ต.ค.นี้ หากใช้ไม่ทัน พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ ไฟเขียวให้งบประมาณเก่า (2566) ไปพลางก่อนได้ ดังนั้น งบประมาณในหมวดเงินเดือนค่าจ้าง งบลงทุนที่ผูกพันไว้แล้ว สามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่องไม่ติดขัดแต่อย่างใด
“ระบบราชการของไทย รองรับปัญหาและกรณีเกิดสุญญากาศได้ แม้จะไม่มี รมว.คลังในช่วงนั้น ก็ตาม” ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าว
ส่วนมาตราการที่คลัง เตรียมเสนอ รมว.คลังคนใหม่ มีจำนวน 20 มาตรการด้วยกัน ซึ่งในจำนวนนี้ มีทั้งเพิ่มรายได้ และลดรายได้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น การลดหย่อนภาษีจากการลงทุน เช่น กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) หรือ กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว SSF การจัดเก็บภาษีจากการขายหุ้น และการลดเงินชราภาพประชาชนที่มีอายุเกิน 60 ปี
“ปัจจุบันฐานข้อมูลของคลังมีจำนวนมากแล้ว และเราทราบว่า ใครคือคนรวย และใครคือคนจน” ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวและกล่าวว่า
ล่าสุด กระทรวงการคลังได้เปิดลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจน รอบที่ 2 เมื่อต้นปีที่แล้ว เราทราบคนว่า คนจนที่รายได้ต่ำกว่า 100,000 บาทต่อปี มีอยู่ประมาณ 14 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้ หากถ้าจะให้กระทรวงการคลังจ่ายเงินเพิ่มให้แก่คนชราที่เป็นคนจน รัฐบาลใหม่จะเอาหรือไม่ ถ้ารัฐบาลใหม่บอกว่า “ตกลง” ก็ต้องลดเงินชราภาพกับคนที่ไม่ได้ถือบัตรคนจน หรือคนรวย เพื่อไม่ให้รัฐบาลมีรายจ่ายมากเกินไป
“เช่นเดียวกับมาตราการเก็บภาษีหุ้น ล่าสุด กระทรวงการคลังชะลอออกไป ก็พร้อมจะเสนอกลับไปให้ รมว.คลัง คนพิจารณาใหม่ ซึ่งเราคาดว่า จะเก็บภาษีจากการขายหุ้นได้หลายหมื่นล้านบาทต่อปี”
สำหรับผลการจัดเก็บรายได้ ในช่วง 8 เดือน (ต.ค.65-พ.ค.66) จัดเก็บรายได้ 1.98 ล้านล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 92,013 ล้านบาท สูงกว่าเอกสารงบประมาณ 151,953 ล้านบาท และคาดว่า ณ สิ้นปีงบประมาณ2566 จะเก็บรายได้สูงกว่าประมาณเล็กน้อย