ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ชี้ดัชนีค่าสร้างบ้านทรงตัว
ดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน ไตรมาส 2 ปี 2566 ชะลอตัวเล็กน้อย
ขณะที่เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กปรับลดลงสูงสุด -17.8% สวนทางวัสดุประเภทกระเบื้อง และ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ปรับเพิ่มขึ้นถึง 12.5% และ 4.6% ตามลำดับศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รายงานดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน ไตรมาส 2 ปี 2566 โดยมีค่าดัชนีเท่ากับ 134.0 พบการเปลี่ยนแปลงที่ปรับตัวขึ้นจากปีก่อน (YoY) 2.1% แต่เป็นไปในทิศทางที่ชะลอตัวลงที่ (QoQ) ลดลง -0.3% จากก่อนหน้า
ทั้งนี้ ในหมวดงานออกแบบและระบบพบการปรับเพิ่มขึ้นเฉพาะในงานสถาปัตยกรรม 5.4% แต่งานอื่นมีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน สำหรับวัสดุก่อสร้างพบว่า วัสดุประเภทกระเบื้อง และ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถึง 12.5% และ 4.6% ตามลำดับ ส่วนวัสดุอื่นไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือมีการปรับตัวลดลงบ้างเมื่อเทียบกับปีก่อน
นอกจากนี้ ยังพบว่าค่าวัสดุก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่มีการทรงตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า แต่วัสดุประเภทเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็กมีการลดลงอย่างมาก ส่วนค่าจ้างแรงงานที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 5.8% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหากมีการเพิ่มขึ้นกว่าปัจจุบันมาก ก็จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกระทบค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างบ้านของประชาชน และการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยต่าง ๆ
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่าดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน ไตรมาส 2 ปี 2566 มีค่าดัชนีเท่ากับ 134.0 จุด ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 2.1% แต่เป็นการเพิ่มที่มีทิศทางการชะลอตัวลง ดังจะเห็นได้จากอัตราการเปลี่ยนแปลงลดลงจากไตรมาสก่อน -0.3%
ดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐานในไตรมาส 2 ปี 2566 แสดงให้เห็นว่าในหมวดงานออกแบบและงานระบบ มีค่าดำเนินการในงานสถาปัตยกรรมมีการเพิ่มขึ้นสูงที่สุด 5.4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) แต่เป็นการเพิ่มแบบชะลอตัวลงเนื่องจากการมีการลดลง -0.1% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) ซึ่งงานสถาปัตยกรรมมีสัดส่วน 65.8% ของหมวดงานออกแบบและงานระบบ สำหรับงานอื่นๆ มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
งานวิศวกรรมโครงสร้าง มีอัตราค่าตอบแทนลดลง -4.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และลดลง -0.8% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 27.9% ของหมวดงานออกแบบและงานระบบงานระบบไฟฟ้าและระบบสื่อสาร อัตราค่าตอบแทนลดลง -0.01% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และลดลง -0.2% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 3.6% ของหมวดงานออกแบบและงานระบบงานระบบสุขาภิบาล มีอัตราค่าตอบแทนลดลง -3.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และลดลง -0.8% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 2.7% ของหมวดงานออกแบบและงานระบบ
สำหรับหมวดราคาวัสดุก่อสร้าง พบว่า วัสดุก่อสร้างที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนใน 2 ประเภท ได้แก่ วัสดุประเภทกระเบื้อง และ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 12.5% และ 4.6% แต่วัสดุประเภทเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ผลิตภัณฑ์คอนกรีต และวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ มีการปรับตัวลง โดยเฉพาะ
สำหรับราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงมากที่สุดถึงประมาณ -17.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี (YoY) โดยเป็นผลมาจากปริมาณอุปทานเหล็กในตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับราคาวัตถุดิบมีการปรับลดตามราคาพลังงาน รวมถึงอาจชะลอเกิดจากการซื้อและความต้องการลงทุนของเอกชนในภาคอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้ดัชนีราคาลดลง แต่หมวดแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 5.8% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นไปตามสภาวะตลาดที่มีการเพิ่มของค่าแรงขั้นต่ำ และการขาดแคลนช่างฝีมือแรงงานคุณภาพ
ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงราคาหมวดวัสดุก่อสร้าง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 60.4% ของค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ราคาเพิ่มขึ้น 4.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และราคาไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 27.5% ของหมวดวัสดุก่อสร้างเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ราคาลดลง -17.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และลดลง -2.9% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 9.3% ของหมวดวัสดุก่อสร้างผลิตภัณฑ์คอนกรีต ราคาลดลง -0.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และราคาไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 7.1% ของหมวดวัสดุก่อสร้างอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ราคาลดลง -1.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และลดลง -0.6% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 6.1% ของหมวดวัสดุก่อสร้างกระเบื้อง ราคาเพิ่มขึ้น 12.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) แต่ลดลง -1.4% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 5.6% ของหมวดวัสดุก่อสร้างสุขภัณฑ์ ราคาไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และ เทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 3.3% ของหมวดวัสดุก่อสร้างวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ราคาลดลง -0.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) แต่เพิ่มขึ้น 2.6% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2566 (QoQ) โดยมีสัดส่วน 41.2% ของหมวดวัสดุก่อสร้าง
“ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงตามดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐานในไตรมาส 2 ปี 2566 ที่ ได้สะท้อนต้นทุนการสร้างที่อยู่อาศัย เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปีก่อนเล็กน้อยและแนวโน้มการทรงตัวในทิศทางที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่ยังมีตัวแปรสำคัญที่ต้องคำนึงถึงทั้งในปัจจุบันและอนาคต คือ ค่าจ้างแรงงาน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 39.6% ของค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน โดยในไตรมาส 2 ปี 2566 ค่าแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 5.8% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหากมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้สูงกว่าปัจจุบันมาก ก็จะกระทบค่าก่อสร้างบ้านของประชาชน และยังอาจส่งผลไปถึงต้นทุนการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยต่าง ๆ ด้วย”