สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 19 มิ.ย. 66
ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักมากบริเวณ จ.จันทบุรี (151) จ.สกลนคร (134) จ.กำแพงเพชร (83) จ.พระนครศรีอยุธยา (61) จ.พังงา (61) จ.กาญจนบุรี (27)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 37,185 ล้าน ลบ.ม. (52%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 37,185 ล้าน ลบ.ม. (50%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี ยกเว้นแม่น้ำแม่บางปะกงค่าออกซิเจนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินการซ่อมบำรุงรักษาระบบประปาบาดาลของโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน ในพื้นที่บ้านช่องด่าน หมู่ที่ 2 ต.ช่องด่าน อ.บ่อพลอยจ.กาญจนบุรี และบ้านหนองหมู หมู่ที่ 6 ต.หลุมรัง อ.บ่อพลอยจ.กาญจนบุรี เพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากช่วง 1-3 วัน ดังนี้ ภาคตะวันออก บริเวณ จ.นครนายก จันทบุรี ตราด และระยอง ภาคใต้ บริเวณ จ.สงขลา และยะลากอนช. ติดตามการใช้เรดาห์ บริหารจัดการน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์กรมชลประทาน ดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ด้วยระบบเรดาร์ Solid – State Polarimetric X-band เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำในการป้องกันภัยพิบัติ ตามมติที่ประชุมระหว่างสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และกระทรวกิจการภายในและการสื่อสาร แห่งประเทศญี่ปุ่น (MIC) สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย บริษัท Japan Radio Co.,Ltd (JRC) และบริษัท Nippon KoeiCo.,Ltd.ระบบเรดาร์ Solid – State Polarimetric X-band เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำ โดยติดตั้งเป็นแห่งแรกในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก บริเวณสถานีสำรวจทางอุทกวิทยา S.42 อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ เนื่องจากลุ่มน้ำป่าสักประสบปัญหาอุทกภัยเป็นประจำ จากสภาพทางภูมิประเทศที่ลาดชัน ซึ่งสถานีเรดาร์จะทำหน้าที่ตรวจวัดปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ได้แบบ near real time สามารถคาดการณ์ปริมาณฝนล่วงหน้า ครอบคลุมตั้งแต่พื้นที่ตอนกลางของลุ่มน้ำป่าสักไปจนถึงท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โดยระบบเรดาร์ จะวัดข้อมูลฝนเชิงพื้นที่ ที่มีความละเอียดสูงพร้อมระบบการจัดเก็บข้อมูลประมวลผลเรดาร์ผ่าน J-BIRDS Software ที่จะแสดงข้อมูลปริมาณฝนสะสม ความเข้มของฝน รวมทั้งการเคลื่อนที่ของลมหรือพายุ นำไปประมวลผลด้วยแบบจำลองอุทกพลศาสตร์ ที่ติดตั้งอยู่ที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักชลสิทธิ์ ร่วมกับข้อมูลอ่างเก็บน้ำ ข้อมูลตรวจวัดระดับน้ำ และปริมาณน้ำท่าจากระบบโทรมาตรที่มีอยู่เดิม นำไปสู่การคาดการณ์ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ และระบบสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำ ส่งผลให้การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนสอดคล้องกับสถานการณ์ สามารถแจ้งเตือนพื้นที่ที่อาจจะได้รับผลกระทบให้ทราบล่วงหน้าได้อย่างทันท่วงที ช่วยบรรเทาและลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก รวมทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำให้กับพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ป้องกันปัญหาอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้อีกทางหนึ่ง