สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 17 มิ.ย. 66
ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.นครนายก (113) จ.กาฬสินธุ์ (83) จ.ลำปาง (60) จ.สิงห์บุรี (47) จ.พัทลุง (19) และ จ.กาญจนบุรี (15)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 41,717 ล้าน ลบ.ม. (51%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 37,310 ล้าน ลบ.ม. (52%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี ยกเว้นแม่น้ำบางปะกง ค่าออกซิเจนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
กรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินงานโครงการปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำบึงระหานไกรเชื่อมต่อบึงใหญ่ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำภาคการผลิตให้กับประชาชนในพื้นที่ ต.วังไก่เถื่อน อ.หันคา จ.ชัยนาท เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ สามารถเก็บกักน้ำได้ 0.7840 ล้าน ลบ.ม. ประชาชนได้รับประโยชน์ 330 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 1,875 ไร่ พร้อมดำเนินงานโครงการก่อสร้างระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์หนองห้วยแสง ต.คูสะคาม อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ประชาชนได้รับประโยชน์ 30 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 60 ไร่
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากช่วง 1-3 วัน ดังนี้ ภาคตะวันออก จ.นครนายก และระยอง
สทนช. เร่งวางแผนบริหารจัดการน้ำ พร้อมบรรเทาปัญหาอุทกภัยภาคใต้ เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 66 โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 4 ดำเนินการเตรียมความพร้อมตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 ในพื้นที่ภาคใต้ ดังนี้ประชุมคณะทำงานการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำน้ำท่วมขัง ตำบลถ้ำสิงห์ และตำบลบ้านนา อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ครั้งที่ 3/2566 ซึ่งที่ประชุมมีมติให้คณะทำงานฯ ลงพื้นที่เพื่อหาแนวทางการวางแผนการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง และทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ โดยมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการวางแผนโครงการแก้ไขปัญหาต่อไป ทั้งนี้ ได้วางแผนการแก้ไขปัญหาระยะสั้น หากมีฝนตกหนักในพื้นที่ให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารภัยจังหวัดชุมพร เตรียมการรับมือในเบื้องต้นลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังรับมือฤดูฝน ณ ศูนย์เตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ชายแดนใต้ จ.ยะลา ซึ่งศูนย์ฯ ได้ดำเนินกิจกรรมเฝ้าระวังภัยพิบัติเพื่อป้องกันและลดความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สินอันเกิดจากเหตุอุทกภัยให้แก่ประชาชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจัดให้มีระบบเตือนภัยล่วงหน้าและการบริหารจัดการน้ำในระดับชุมชน ประกอบด้วย เครือข่ายเตือนภัยพิบัติ 1 แห่ง แม่ข่ายหลัก 10 สถานีย่อย รวมทั้งสร้างศักยภาพและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้มีองค์ความรู้ ความพร้อม ผ่านเครือข่ายมากกว่า 1000 คน ซึ่งสามารถรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติที่กำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 17 มิถุนายน 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
1.1 กองทัพบก ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และประชาชนจิตอาสาในพื้นที่ ดำเนินกิจกรรมจิตอาสาพัฒนากำจัดวัชพืชผักตบชวา ณ วัดมะกอกสีมาราม ตำบลรอบเมือง อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี1.2 กรุงเทพมหานคร จัดเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบบำรุงรักษา เครื่องสูบน้ำ เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมมีประสิทธิภาพสูงสุดและพร้อมใช้งานกับฤดูฝน บริเวณประตูระบายน้ำปากคลองเจริญสุข พื้นที่เขตทวีวัฒนา
สภาพอากาศ
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ตลอดช่วง ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566 กรมโยธาธิการและผังเมือง ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว ณ ห้องประชุมสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดอุบลราชธานี ประเด็น “การแก้ปัญหาการทรุดตัวของเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำมูล บริเวณเหล่ากาชาด และบริเวณหน้าวัดสุปัฏนารามวรวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี” โดยได้สั่งการให้ปิดกั้นพื้นที่ป้องกันแนวเขตอันตรายทันที และแจ้งเตือนประชาชนที่สัญจรในพื้นที่ พร้อมวางแผนการแก้ไขปัญหา
ที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ทันรับมือฤดูฝนนี้ อีกทั้ง ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อหาสาเหตุโดยละเอียดต่อไป ส่วนประเด็น “มาตรการรับมือน้ำท่วมในพื้นที่วารินชำราบ” ได้มีมาตรการปิดกั้นในพื้นที่จุดเสี่ยงซึ่งเป็นช่องว่างที่ยังไม่มีคันป้องกันน้ำท่วม โดยการวางถุงทราย รวมทั้งเตรียมเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ เพื่อสูบระบายน้ำบริเวณด้านในพื้นที่ลงสู่แม่น้ำมูล นอกจากนี้ ได้สั่งการให้โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดทั่วประเทศ ร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของคัน ทำนบ พนังกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำ ระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน รวมทั้งเครื่องสูบน้ำในพื้นที่ให้มีความพร้อมใช้งาน เพื่อเตรียมความพร้อมเฝ้าระวังในการรับมือฤดูฝนปีนี้
การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่มล่วงหน้า 3 วัน
สทนช. ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยล่วงหน้า 3 วัน พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่ม จำนวน 2 จังหวัด ดังนี้ จังหวัดระยอง (เขาชะเมา) และจังหวัดนครนายก (ปากพลี)