สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 14 มิ.ย. 66

ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักบริเวณ จ.ปัตตานี (80) จ.นครนายก (53) จ.อุบลราชธานี (39) จ.กาญจนบุรี (38) จ.แม่ฮ่องสอน (30) จ.นนทบุรี (25)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 41,950 ล้าน ลบ.ม. (51%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 37,533 ล้าน ลบ.ม. (53%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี ยกเว้นแม่น้ำแม่บางปะกงค่าออกซิเจนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินการซ่อมบำรุงรักษาระบบประปาบาดาลของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากประราชดำริ ประจำปีงบประมาณ 2556 โครงการสายใยรัก บ้านลำพันบอง ต.หนองโพธิ์ อ.หนองหญ้าไทร จ.สุพรรณบุรี และโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2564 ณ บ้านทุ่ง หมู่ที่ 4 ต.ห้วยขมิ้น อ.ด่านช้างจ.สุพรรณบุรี เพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากช่วง 1-3 วัน ดังนี้ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และตาก ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคตะวันตกจ.กาญจนบุรีกอนช. ติดตามสถานการณ์น้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ พร้อมเน้นย้ำทุกภาคส่วนร่วมกันประหยัดน้ำกรมชลประทาน ยืนยันว่าปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ปัจจุบัน อยู่ในเกณฑ์เพียงพอสำหรับอุปโภค-บริโภคตลอดฤดูฝนนี้ ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนร่วมใจกันประหยัดน้ำ โดยเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย ให้ติดตามสถานการณ์เอลนีโญอย่างใกล้ชิด ยึดหลัก 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566สถานการณ์น้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ณ วันที่13 มิ.ย. 66 มีปริมาณน้ำใช้การได้ประมาณ 138 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 14%ของความจุอ่างฯ มีการระบายน้ำ (Outflow) เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำอุปโภค-บริโภคในพื้นที่ด้านท้ายประมาณวันละ 1 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักชลสิทธิ์ ได้มีการติดตามปรากฎการณ์เอลนีโญอย่างใกล้ชิด มีการวางแผนบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนปี 2566 และปฏิบัติตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 ตามมติ ครม. อย่างเคร่งครัด พร้อมกันนี้ ยังได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรใช้น้ำฝนเป็นหลักในการทำนาปี ส่วนน้ำที่ระบายจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จะใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ และเสริมน้ำฝนเพื่อการเกษตรเท่านั้น จากการคาดการณ์ของกรมชลประทานโดยใช้ข้อมูลฝนจากกรมอุตุนิยมวิทยา กรณีใช้ค่าปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เฉลี่ย คาดว่าปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ณ วันที่ 1 พ.ย. 66 จะมีปริมาณน้ำเต็มเขื่อน 100 % หรือเต็มความจุอ่างฯที่ 960 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งเพียงพอ ต่อความต้องการใช้น้ำในฤดูแล้งปีหน้า

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 14 มิถุนายน 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมชลประทาน ดำเนินการกำจัดวัชพืชผักตบชวา และสิ่งปฏิกูลที่กีดขวางทางน้ำ ในคลองส่งน้ำในเขตพื้นที่ ตำบลหลักแก้ว อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ และลดการแพร่ขยายพันธุ์ของวัชพืช และดำเนินการเดินเครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ณ สถานีสูบน้ำคลองโรง ตำบลโรง อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรในพื้นที่
สภาพอากาศ
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
กรมอุตุนิยมวิทยา ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศด้านอุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยา ณ ห้องประชุมคณะกรรมการ กฝผ. ชั้น 19 อาคาร 50 ปี กฟผ. สำนักงานใหญ่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้งานตามภารกิจของทั้งสองหน่วยงานได้มีส่วนสนับสนุนและขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยกรมอุตุนิยมวิทยาและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จะประสานความร่วมมือกันในการดำเนินงาน ทั้งในด้านการแลกเปลี่ยนแบ่งปันข้อมูลองค์ความรู้ เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า การพยากรณ์พลังงานไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน การคาดการณ์งานบำรุงรักษาระบบโครงข่ายไฟฟ้าและโรงไฟฟ้า การคาดการณ์ภัยพิบัติที่มีผลต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า การวางแผนเส้นทางการขนส่งเชื้อเพลิง การบริหารจัดการน้ำ และงานด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของ กฟผ. และเพื่อประโยชน์ในการสนับสนุนงานด้านอุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยา งานวิจัย และงานด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของ อต. เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และเกิดการพัฒนาประเทศในภาพรวมอย่างยั่งยืนต่อไป
การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่มล่วงหน้า 3 วัน
สทนช. ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยล่วงหน้า 3 วัน พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่ม ดังนี้ จังหวัดตาก (อำเภอท่าสองยาง แม่ระมาด และอุ้มผาง) จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภออมก๋อย) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอขลุง เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ เมืองจันทบุรี มะขาม แก่งหางแมว และโป่งน้ำร้อน) ปราจีนบุรี (อำเภอประจันตคาม นาดี และกบินทร์บุรี) จังหวัดตราด (อำเภอบ่อไร่ เกาะช้าง และเขาสมิง) จังหวัดระยอง (อำเภอเขาชะเมา และแกลง) จังหวัดนครนายก (อำเภอปากพลี) จังหวัดชลบุรี(อำเภอศรีราชา) จังหวัดกาญจนบุรี(อำเภอทองผาภูมิ)