สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 28 เม.ย. 66
ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.ลพบุรี (80 มม.) จ.นครราชสีมา (74 มม.) และ จ.สระบุรี (64 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 18,399 ล้าน ลบ.ม. (38%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 22,606 ล้าน ลบ.ม. (39%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา นำกำลังพล พร้อมรถยนต์บรรทุกน้ำ ขนาด 9,000 ลิตร จำนวน 1 คัน แจกจ่ายน้ำอุปโภค ให้กับประชาชน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ในช่วงฤดูแล้ง ประชาชนได้รับผลประโยชน์ จำนวน 3 ครัวเรือน พื้นที่บ้านทุ่งผีปั้นรูป ม.8 ต.ป่าบอน อ.ป่าบอน จ.พัทลุง
กอนช. ติดตาม 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566 และแผนการบริหารจัดการในช่วงฤดูแล้ง พื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช นาย สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) มอบหมายให้ สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 4 ลงพื้นที่ติดตาม 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566 และแผนการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้ง พื้นที่ ต.ท่าซัก อ.เมืองนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช โดยมีเจ้าหน้าที่จากโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครศรีธรรมราช และ อบต.ท่าซัก รายงานภาพรวมของการให้ความช่วยเหลือสถานการณ์ภัยแล้งแนวทางการแก้ไขปัญหาระยะสั้น ด้านน้ำอุปโภค-บริโภค อบต.ท่าชัก ได้ดำเนินการจัดรถบรรทุกน้ำ จำนวน 2 คัน ให้ความช่วยเหลือหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหมู่บ้านนอกเขตประปาท้องถิ่นส่วนด้านการเกษตร โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครศรีธรรมราช ได้ทำการติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 2 เครื่อง สำหรับสูบน้ำจากคลองท่าซักเข้าช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่ทำการเกษตรแนวทางการแก้ไขปัญหาระยะยาว ด้านน้ำอุปโภค-บริโภค อบต.ท่าซัก ได้เตรียมการขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อใช้ผลิตน้ำประปาท้องถิ่นเพิ่มเติม ในหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำประปาเพื่อการอุปโภค-บริโภค ส่วนปัญหาด้านการเกษตร อบต.ท่าซัก จะดำเนินการยื่นความประสงค์ขอสนับสนุนโครงการอาคารบังคับน้ำขนาดเล็ก ต่อโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครศรีธรรมราช เพื่อดำเนินการออกแบบและก่อสร้างต่อไป
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 28 เมษายน 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลงพื้นที่สำรวจความเหมาะสมในการจัดหาแหล่งน้ำสะอาดเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ณ โรงเรียนบ้านม่วงพิทยาคม ตำบลม่วง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนครทั้งนี้หากพบว่ามีความเหมาะสมด้านศักยภาพน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจะเร่งดำเนินการจัดสร้างบ่อน้ำบาดาลและระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำต่อไป
สภาพอากาศ
บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน แต่ยังคงทำให้บริเวณภาคเหนือมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง ขอให้ประชาชนในภาคเหนือระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงไว้ สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 22,606 ล้าน ลบ.ม. (39%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 18,366 ล้าน ลบ.ม. (38%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,492 ล้าน ลบ.ม. (49%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,747 ล้าน ลบ.ม. (34%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 6,774 ล้าน ลบ.ม. (37%)
ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 18,292 ล้าน ลบ.ม. (39%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 19,863 ล้าน ลบ.ม. (91%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 8,131 ล้าน ลบ.ม. (95%)
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์กรมทรัพยากรน้ำ ร่วมกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรภาครัฐ “โครงการเสริมสร้างความสามารถของเมืองและธรรมชาติในการตั้งรับปรับตัวต่อผลกระทบจากวิกฤติสภาพภูมิอากาศ” มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยอาศัยธรรมชาติ (Nature-based Solution หรือ NbS) วาระการพัฒนาเมือง บทบาทของโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว รวมทั้ง การบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำกับการสร้างขีดความสามารถของเมืองที่มีความพร้อมรับปรับตัว