สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 23 เม.ย. 66
ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง
ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.พัทลุง (90 มม.) จ.ตรัง (75 มม.) และ จ.กระบี่ (65 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 23,324 ล้าน ลบ.ม. (40%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 19,060 ล้าน ลบ.ม. (40%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา นำกำลังพลพร้อมรถบรรทุกน้ำ ขนาด 9,000 ลิตร จำนวน 1 คัน แจกจ่ายน้ำให้พระสงฆ์และประชาชนที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค จำนวน 2 เที่ยว ปริมาตรน้ำ 18,000 ลิตร ทั้งนี้เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ ต.บ้านกาศ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
กอนช. ติดตามการบริหารจัดการน้ำ ระโนด-กระแสสินธุ์กรมชลประทาน ลงพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาระโนด-กระแสสินธุ์ อ.ระโนด จ.สงขลา เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการบริหารจัดการน้ำคาบสมุทรสทิงพระ จ.สงขลา โดยมีแผนกิจกรรมการระบายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาด้านอุทกภัย เช่น 1) ก่อสร้างประตูระบายน้ำบ้านท่าเข็น 2) ขุดขยายคลองศาลาหลวง ระยะทาง 2.44 กม. 3) ขุดขยายคลองโคกทอง -หัวคลอง ความยาว 4.663 กม. 4) ก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองระโนด 5) ขุดขยายคลองโรง ความยาว 4.00 กม. 6) ขุดขยายคลองพังยาง ความยาว 4.50 กม. 7) ขุดขยายคลองหนังความยาว 2.524 กม. 8) ก่อสร้างสถานีสูบน้ำสนามชัย รวมถึงแผนการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และเพิ่มศักยภาพคลองพลเอกอาทิตย์ฯ พร้อมอาคารประกอบ โดยขุดขยายคลอง ความยาว 37.40 กม.หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะสามารถชะลอน้ำหลากในช่วงฤดูฝนได้ 32,000 ไร่ ส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรมทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง 23,447 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 1,485 ครัวเรือน สามารถเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนสำหรับการเพาะปลูกในฤดูแล้งเพิ่มขึ้นอีก 12,000 ไร่ทั้งนี้ ได้ขุดลอกคลอง กำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อให้การระบายน้ำ-ส่งน้ำ เป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ เฝ้าระวังค่าความเค็ม และเร่งขุดบ่อยืมดินเพื่อสำรองน้ำไว้เป็นน้ำต้นทุนเพื่อการอุปโภค-บริโภค ตาม 10 มาตรการ รองรับฤดูแล้งปี 2565/66 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่โดยรอบ
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 23 เมษายน 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
1.1 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา นำรถบรรทุกน้ำ ขนาด 9,000 ลิตร จำนวน 1 คัน แจกจ่ายน้ำให้พระสงฆ์และประชาชนที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภค จำนวน 2 เที่ยว ปริมาตรน้ำ 18,000 ลิตร ทั้งนี้เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ ณ วัดถ้ำพระโบราณ ต.บ้านกาศ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
1.2 การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ร่วมกับจังหวัดเพชรบูรณ์ เร่งวางแผนแก้ไขปัญหาน้ำประปาอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ ต.สะเดียง ต.ชอนไพร และในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ เบื้องต้น กปภ.เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการน้ำประปา ด้วยการติดตั้งบูสเตอร์ปั๊ม เสริมแรงดันน้ำให้เพียงพอเพื่อลดผลกระทบในช่วงที่มีความต้องการใช้
น้ำประปาสูง
สภาพอากาศ
มวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดประกอบกับมีลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและด้านตะวันออกของภาคตะวันออก
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 23,324 ล้าน ลบ.ม. (40%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 19,022 ล้าน ลบ.ม. (40%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,555 ล้าน ลบ.ม. (50%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,748 ล้าน ลบ.ม. (34%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 7,051 ล้าน ลบ.ม. (39%)
ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 18,945 ล้าน ลบ.ม. (40%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 19,224 ล้าน ลบ.ม. (88%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 7,874 ล้าน ลบ.ม. (92%)