สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 15 ธ.ค. 65
ประเทศไทยตอนบนมีอุณภูมิลดลง กับมีลมแรง ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางบริเวณ จ.พัทลุง (56 มม.) จ.สุราษฎร์ธานี (48 มม.) และจ.สงขลา (34 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 44,683 ล้าน ลบ.ม. (74%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 35,066 ล้าน ลบ.ม. (73%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กอนช.ประกาศฉบับที่ 57/2565 พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวัง ดังนี้
1. เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง บริเวณ จ.สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
2. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งบริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขา ของ แม่น้ำตาปี แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำปากพนัง แม่น้ำตรัง คลองชะอวด แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำบางนรา และแม่น้ำโก-ลก
3. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีแนวโน้มปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการเก็บกักน้ำสูงสุด รวมทั้งอ่างฯ ขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีปริมาตรน้ำมากกว่า 80% และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ติดตามความก้าวหน้าการบริหารจัดการน้ำของจังหวัดกาฬสินธุ์และร้อยเอ็ด
วานนี้ (14 ธ.ค. 65) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่จ.กาฬสินธุ์และร้อยเอ็ด เพื่อติดตามความก้าวหน้าการบริหารจัดการน้ำของจังหวัด และมาตรการรองรับฤดูแล้งปี 2565/2566 โดยมอบนโยบายขับเคลื่อนการพัฒนาแหล่งน้ำและการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน วางแผนการบริหารจัดการน้ำอย่างรอบคอบ และเตรียมการรองรับสถานการณ์หากเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ดังนี้
สทนช. บูรณาการร่วมกับทุกหน่วยงานดำเนินการตาม 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง 2565/2566 ให้เป็นไปตามแผน และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2566
จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดดำเนินการเตรียมการป้องกันและบรรเทาปัญหาพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ หรือเป็นพื้นที่เสี่ยงไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบ
เน้นย้ำทุกหน่วยงานประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนทราบถึงการดำเนินงานของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนมั่นใจ พร้อมสนับสนุนและร่วมมือกับภาคราชการในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำและมิติอื่น ๆ ควบคู่กัน
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 15 ธ.ค. 2565 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จัดกำลังพล ชุดเจาะบ่อน้ำบาดาลปฏิบัติงานขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ณ บ.โคกก่อง ม.1 ต.โคกก่อง อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ ให้สามารถใช้น้ำเพื่ออุปโภค – บริโภค บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ โดยมีผู้รับประโยชน์จำนวน 162 ครัวเรือน ประชากร 533 คน
2. สภาพอากาศ
ในช่วงวันที่ 15 – 16 ธ.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงยังคงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาว สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 17 – 20 ธ.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลงกับมีลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
3. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 42,999 ล้าน ลบ.ม. (74%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 35,066 ล้าน ลบ.ม. (73%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 4,779 ล้าน ลบ.ม. (94%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,155 ล้าน ลบ.ม. (62%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 13,934 ล้าน ลบ.ม. (77%)
4. ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 34,727 ล้าน ลบ.ม. (73%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 2,734 ล้าน ลบ.ม. (12%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 834ล้าน ลบ.ม. (10%)
5. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
วานนี้ (14 ธ.ค. 65) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์และร้อยเอ็ด เพื่อติดตามความก้าวหน้าการบริหารจัดการน้ำของจังหวัด และมาตรการรองรับฤดูแล้งปี 2565/2566 โดยได้มอบนโยบายขับเคลื่อนการพัฒนาแหล่งน้ำและการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดผลกระทบให้กับประชาชนโดยเฉพาะน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค วางแผนการบริหารจัดการน้ำอย่างรอบคอบ และเตรียมการรองรับสถานการณ์หากเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง
โดยมอบหมายให้ สทนช. บูรณาการร่วมกับทุกหน่วยงานดำเนินการตาม 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง 2565/2566 และให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดดำเนินการเตรียมการป้องกันและบรรเทาปัญหาพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ หรือเป็นพื้นที่เสี่ยงไม่ให้พี่น้องประชาชนได้รับผลกระทบ