สศช.หวั่นคนไทยมีโอกาสตกงาน
สศช. ตะลึง!! บริษัทเอกชนไทยจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นเพียง 0.9% ทำให้ตลาดแรงงานใกล้อยู่ในภาวะตรึงตัว ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ตามสงครามการค้าโลกระหว่างสหรัฐฯ – จีน จะกระทบการท่องเที่ยวมากขึ้น ขณะที่ หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นอีก 6% สู่ระดับ 78.6 ของจีดีพี จากสินเชื่อเพื่อบริโภคปรับเพิ่มขึ้นสูงสุดรอบ 5 ปี ส่งให้เอ็นพีแอล เพื่อการบริโภคสูงสุดรอบ 13 ไตรมาส แต่ยังไม่ถึง 80% ของจีดีพี
“ภาวะสังคมไทยไตรมาส 1 ปี 2562 ว่า ไตรมาสแรกของปีนี้ ไทยมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 0.9% โดยผู้มีงานทำ มีจำนวน 37.7 ล้านคน จากจำนวนแรงงานทั้งหมด 38.7 ล้านบาท” นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงข่าว เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.2560 เวลา 09.00 น. และกล่าวว่า
สถิติการจ้างงานนอกภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น 3.2% ภาคการก่อสร้างเพิ่มขึ้น 10.5% การจ้างงานในภาคอุตสาห กรรมเพิ่มขึ้น 1% ขณะที่สาขาโรงแรมและภัตตาคารลดลง 0.2% และผู้มีงานทำในภาคการเกษตรลดลง 4.2% ส่งผลให้อัตราการว่างงานเท่ากับ 0.9% หรือคิดจำนวนผู้ว่างงานประมาณ 350,000 คน ซึ่งถือว่า การว่างงานยังอยู่ในระดับที่ต่ำอย่างต่อเนื่อง แต่มีแนวโน้มว่า ตลาดแรงงานเริ่มตึงตัวมากขึ้น จากจำนวนผู้สมัครงานใกล้เคียงกับจำนวนตำแหน่งงานคิดเป็น 0.98 เท่าลดลงจากระดับ 1.35 เท่าจากปีก่อน
“สศช.ได้แนะนำให้รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์ที่จะกระทบต่อการจ้างงานในช่วงที่เหลือของปี โดยเฉพาะสถานการณ์ภัยแล้งที่จะกระทบการจ้างงานภาคเกษตร และสถานการณ์สงครามการค้าที่ยืดเยื้ออาจไม่ได้กระทบกับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมมากนัก แต่จะกระทบภาคท่องเที่ยว ซึ่งมีความชัดเจนมากขึ้น หลังจาก ไตรมาสแรกปีนี้ กิจการโรงแรมและภัตตาคารมีการจ้างแรงงานลดลง 0.2% เนื่องจากนักท่องเที่ยวจีน-สหรัฐฯ ซึ่งมีสัดส่วนท่องเที่ยวไทยรวมกันคิดเป็น 30% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด มีจำนวลดลง นอกจากนี้แรงงานในกลุ่มนี้ ยังได้รับค่าจ้างงานในลักษณะสัญญาระยะสั้น หรือรับค่าจ้างรายวัน”
สำหรับสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทย สศช.รายงานว่า ข้อมูลในไตรมาส 4/2561 หนี้ครัวเรือนของไทยเท่ากับ 12.8 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% คิดเป็น 78.6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) โดยแนวโน้มไตรมาสแรกปีนี้ ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่คาดว่า ยังไม่ถึงระดับ 80% ของจีดีพี จึงยังไม่น่าเป็นห่วงมากนัก สำหรับหนี้ครัว เรือนที่เพิ่มขึ้น มาจากยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้น10.1% สูงสุดรอบ 5 ปี นับตั้งแต่ไตรมาส 2/2557 เนื่องจากคนเร่งก่อหนี้ก่อนบังคับใช้มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ (LTV) ที่มีผลบังคับใช้เมื่อ 1 เม.ย.2562 และความต้องการรถยนต์มีมากขึ้น เนื่องจากมีรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ท้อง ตลาด และมีโปรโมชั่นจากค่ายรถยนต์ในงานมอเตอร์ โชว์ ทำให้เกิดแรงจูงใจในการก่อหนี้เพิ่มขึ้น
สำหรับคุณภาพสินเชื่อโดยรวมยังคงทรงตัว แต่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ขยายตัว 9% ใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 9.1% โดยหนี้เอ็นพีแอลอยู่ที่ประมาณ 126,356 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 2.75% ต่อสินเชื่อรวม และคิดเป็นสัดส่วน 27.8% ต่อหนี้เอ็นพีแอล ของสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภค สูงสุดรอบ 13 ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาส1 ปี 2559 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตามหนี้ผิดชำระเกิน 3 เดือนของบัตรเครดิตลดลง 3.6% เทียบกับขยายตัว 0.3% ในไตรมาสที่ผ่านมา
นอกจากนี้ สศช.ยังแสดงความกังวลด้วยว่า ระดับหนี้สินครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่กลางปี 2561 และภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากปีที่แล้ว อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยและความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน ทำให้มีประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ 1.การก่อหนี้เพื่อที่อยู่อาศัยของครัวเรือนภายหลังการบังคับใช้มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อใหม่ โดยคาดว่าจะมีแนวโน้มชะลอตัวลง และทำให้หนี้ สินครัวเรือนเพิ่มขึ้น เนื่องจากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเป็นสัดส่วน 49.9% ของสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล
และ2.การขยายตัวของสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลอื่นๆ รวมถึงบัตรเครดิตอาจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น นอกจาก นี้ ภาครัฐยังควรให้ความสำคัญกับการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อกำกับดูแลและควบคุมการปล่อยสินเชื่อให้รัด กุมและมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เช่น การออกแบบมาตรการกำกับดูแลการปล่อยสินเชื่อเพื่อลดความเสี่ยงจากการปล่อยกู้ให้กับกลุ่มที่มีภาระหนี้สูง โดยเฉพาะมาตรการเกี่ยวกับสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ (DSR) การออกมาตร การกำกับดูแลการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ เนื่องจากคุณภาพของสินเชื่อรถยนต์ที่มีแนวโน้มลดลง การติดตามมาตร การกำกับดูแลธุรกิจสินเชื่อที่มีรถยนต์เป็นหลักประกันให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเป็นธรรมและมีอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม เร่งประชาสัมพันธ์โครงการคลินิกแก้หนี้ ระยะที่ 2 และการกำกับดูแลการปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกหนี้รายเดิมและรายใหม่ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการก่อหนี้ครัวเรือนมากยิ่งขึ้นด้วย