สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 28 ก.ย. 65
ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.ปราจีนบุรี (128 มม.) จ.ตาก (113 มม.) และ กรุงเทพมหานคร (77 มม.)
ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 42/2565 เรื่อง เฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขง ดังนี้
สถานีนครพนม จังหวัดนครพนม ปัจจุบันระดับน้ำ +137.85 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ต่ำกว่าตลิ่ง 5.11 เมตร คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นในช่วงวันที่ 28 กันยายน – 1 ตุลาคม 2565 ประมาณ 1.50 -2.00 เมตร แต่ยังคงต่ำกว่าระดับตลิ่ง
สถานีมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ปัจจุบันระดับน้ำ +130.76 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ต่ำกว่าตลิ่ง 5.96 เมตร คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นในช่วงวันที่ 28 กันยายน – 1 ตุลาคม 2565 ประมาณ 1.50 -2.00 เมตร แต่ยังคงต่ำกว่าระดับตลิ่ง
สถานีโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันระดับน้ำ +98.78 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ต่ำกว่าตลิ่ง 4.75 เมตร คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นในช่วงวันที่ 29 กันยายน – 2 ตุลาคม + แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 58,908 ลบ.ม. (72%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 51,391 ล้าน ลบ.ม. (72%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 2 แห่ง บริเวณภาคเหนือ และภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 16 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วคอหมา แม่มอก ทับเสลา กระเสียว จุฬาภรณ อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ขุนด่าน คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล นฤบดินทร และบึงบระเพ็ด
วานนี้ (27 ก.ย. 65) นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานการประชุมคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับหน่วยงานปฏิบัติในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามสถานการณ์เตรียมการรับมือและพร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เสี่ยงที่อาจได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนตัวของพายุ “โนรู” (NORU) โดยที่ประชุมได้มีการติดตามแนวทางการบริหารจัดการอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำชี-มูล รวมถึงติดตามผลการดำเนินการการตรวจสอบความมั่งคงแข็งแรงของเขื่อนเพื่อป้องกันเกิดเหตุพนังกั้นลำน้ำแตก การเตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือช่วยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัย รวมถึงกลไกการเจ้งเตือนระดับน้ำที่คาดว่าจะสูงขึ้นในพื้นที่เสี่ยงให้ประชาชนเตรียมอพยพเคลื่อนย้ายสิ่งของและสัตว์เลี้ยงล่วงหน้าได้ทันสถานการณ์
ทั้งนี้ พายุ “โนรู” (NORU) มีแนวโน้มเคลื่อนข้ามายังประเทศไทยบริเวณตอนเหนือของ จ.อุบลราชรานี ในช่วงวันที่ 29 ก.ย. 65 ซึ่งจะได้รับอิทธิพลจากแนวฝนด้านหน้า และด้านล่าง รวมถึงแนวด้านบนของพายุจะมีลมกระโชกแรง ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ในช่วงวันที่ 28 ก.ย.-1 ต.ค. 65 ในขณะที่ศูนย์ส่วนหน้าฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ติดตามแนวทางการเคลื่อนตัวของพายุอย่างใกล้ชิด รวมถึงคาดการณ์ปริมาณฝนร่วมกับสถานการณ์น้ำในลำน้ำปัจจุบัน และพิจารณาลดการระบายน้ำจากเขื่อนเพื่อหน่วงน้ำ การปรับแผนการบริหารจัดการน้ำรองรับในการเร่งป้องกันแก้ไขพื้นที่ประสบอุทกภัย
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 28 ก.ย. 2565 ดังนี้
1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
1.1 ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 41/2565 ลงวันที่ 24 ก.ย. 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ แจ้งเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ได้ติดตามประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุดีเปรสชันบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกได้ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “โนรู (NORU)” คาดว่าพายุนี้จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ในช่วงวันที่ 27 – 28 ก.ย. 2565 ส่งผลทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรงในช่วงวันที่ 27 – 29 ก.ย. 2565 และ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ในช่วงวันที่ 27 ก.ย. – 2 ต.ค. 2565 จำนวน 43 จังหวัด 148 อำเภอ
1.2 ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 42/2565 ลงวันที่ 26 ก.ย. 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ แจ้งเฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขง พบว่าพายุดีเปรสชันบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกได้ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “โนรู (NORU)” บริเวณทะเลจีนใต้ตนกลาง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ในวันที่ 28 ก.ย. 2565 และจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางของประเทศไทย ในวันที่ 29 ก.ย. 2565 ทำให้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและลุ่มน้ำโขง ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงวันที่ 28 ก.ย. – 2 ต.ค. 2565
2. ผลการดำเนินงาน
วานนี้ (27 ก.ย. 65) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จัดประชุมคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อติดตามสถานการณ์เตรียมการรับมือและพร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เสี่ยงที่อาจได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนตัวของพายุ “โนรู” (NORU) มีการติดตามแนวทางการบริหารจัดการอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำชี-มูล การติดตามผลการดำเนินการการตรวจสอบความมั่งคงแข็งแรงของเขื่อนเพื่อป้องกันเกิดเหตุพนังกั้นลำน้ำแตก และการเตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือช่วยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัย รวมถึงกลไกการเจ้งเตือนระดับน้ำที่คาดว่าจะสูงขึ้นในพื้นที่เสี่ยงให้ประชาชนเตรียมอพยพเคลื่อนย้ายสิ่งของและทรัพย์สินที่สำคัญล่วงหน้าได้ทันสถานการณ์
3. สถานการณ์น้ำท่วม
ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลางตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกําลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง น้ำล้นตลิ่ง ในระหว่าง วันที่ 4 – 27 ก.ย. 65 ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ชุมชนเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม รวม 26 จังหวัด ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ตาก พิษณุโลก ลำพูน สุโขทัย และเพชรบูรณ์ ภาคกลาง จังหวัด ลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี และนครปฐม ภาคตะวันออก จังหวัดปราจีนบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย ชัยภูมิ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร อุบลราชธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ และสุรินทร์