สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 9 ส.ค. 65
ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้
ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.ตราด (204) จ.อุบลราชธานี (119) และ จ.เชียงใหม่ (92)
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 46,768 ล้าน ลบ.ม. (57%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 40,689 ล้าน ลบ.ม. (57%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 3 แห่ง บริเวณภาคเหนือ (3 แห่ง) เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วคอหมา กิ่วลม อุบลรัตน์ น้ำพุง หนองปลาไหล และบึงบระเพ็ด
พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก- ดินถล่ม ในช่วง 1-2 วันนี้ บริเวณ จ.เชียงใหม่ เชียงราย น่าน แม่ฮ่องสอน ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองคาย กาญจนบุรี จันทบุรี และตราด
วานนี้ (8 ส.ค. 65) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่ตรวจราชการในพื้นที่ภาคใต้ ณ จังหวัดตรังและพัทลุง เพื่อติดตามการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝนและรับทราบผลการดำเนินงานตามแผนงานและผลการดำเนินโครงการบรรเทาอุทกภัยและแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้กับประชาชน โดยมีข้อสั่งการให้หน่วยงาน ดำเนินการ ดังนี้
กรมชลประทาน เร่งรัดการก่อสร้างโครงการระบบระบายน้ำแม่น้ำตรังให้แล้วเสร็จภายในเดือน ก.ย. 65 และเร่งรัดให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการประตูระบายน้ำแม่น้ำตรัง รวมถึงช่องลัดและคันกั้นน้ำในปี 2567
สทนช. พิจารณายกระดับโครงการระบบระบายน้ำแม่น้ำตรังและโครงการประตูระบายน้ำแม่น้ำตรังเป็นโครงการสำคัญ พร้อมทั้งเร่งรัดการศึกษาผังน้ำให้แล้วเสร็จ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม น้ำแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำ เพื่อให้มีแผนในการบริหารจัดการน้ำร่วมกันทั้งในภาวะปกติ และภาวะวิกฤติ
จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำรวจพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม พร้อมรายงานผลต่อคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด และคณะกรรมการลุ่มน้ำ
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เร่งรัดการพัฒนาน้ำบาดาลที่ได้งบประมาณไปแล้วให้เสร็จโดยเร็ว
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 9 ส.ค. 2565 ดังนี้
1.ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 24/2565 ลงวันที่ 1 ส.ค. 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติแจ้งเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ในช่วงวันที่ 2 – 10 ส.ค. 2565 เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง น้ำหลาก น้ำท่วมขัง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขา ของแม่น้ำกก วัง ยม น่าน แควน้อย ป่าสัก เจ้าพระยา เลย ชี มูล บางปะกง และตราด และเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด (Upper Rule Curve) 6 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วลม กิ่วคอหมา น้ำพุง อุบลรัตน์ และป่าสักชลสิทธิ์ รวมทั้งอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาตรน้ำมากกว่า 80% และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้าย อ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ
2. ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับ ฤดูฝน ปี 2565
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ จัดประชุมคณะทำงานด้านประเมินสถานการณ์ ครั้งที่ 2/2565 ณ ห้องประชุมเจ้าพระยา ชั้น 2 อาคารจุฑามาศ และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประเมินสภาพอากาศ สถานการณ์น้ำและพื้นที่เสี่ยงภัยในช่วงเดือนส.ค. – ต.ค. 2565 รวมทั้งกำหนดกลไกการประเมินสถานการณ์น้ำระดับเจ้าหน้าที่ และกำหนด แนวทางการจัดทำประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติต่อไป
3. สภาพอากาศ
การคาดการณ์สภาพอากาศในช่วงวันที่ 9 – 10 ส.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกระจายเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้
4. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผู้อำนายการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจราชการในพื้นที่ภาคใต้ ณ จังหวัดตรังและพัทลุง เพื่อติดตามการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝนและรับทราบผลการดำเนินงานตามแผนงานและผลการดำเนินโครงการบรรเทาอุทกภัยและแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้กับประชาชน ประกอบกับในช่วงนี้ ภาคใต้กำลังจะเข้าสู่ช่วงฤดูฝน อาจมีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมได้จำเป็นต้องเตรียมการรับมือล่วงหน้าอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะจังหวัดตรังที่อยู่ปลายน้ำ ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการตามนโยบายในการมุ่งเน้นป้องกันปัญหาเชิงรุก ลดการเกิดภัย หรือบรรเทาเหตุการณ์ ทั้งน้ำท่วมและภัยแล้ง ให้ส่งผลกระทบน้อยที่สุด