ยอด Bond Switchin พุ่ง2.4 เท่า
สบน.เผยผลการดำเนินธุรกรรมBond Switchingในปีงบฯ62 ครั้งที่2 มีวงเงินเสนอแลกรวมสูงถึง217,473 ล้านบาทเกิน2.42 เท่าของวงเงินที่ประกาศ
นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) แถลงถึงการดำเนินธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching) ในปีงบประมาณ2562 ครั้งที่2 ผ่านผู้จัดจำหน่ายและจัดการการแลกเปลี่ยนพันธบัตรว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มสภาพคล่องของพันธบัตรและส่งเสริมการบริหารจัดการหนี้และความเสี่ยงของพอร์ตหนี้รัฐบาลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นซึ่งมีนักลงทุนสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมากอาทิกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการสำนักงานประกันสังคมธนาคารพาณิชย์กองทุนรวมและบริษัทประกันรวมถึงนักลงทุนสถาบันจากต่างประเทศ
โดยมีวงเงินเสนอแลกรวมสูงถึง217,473 ล้านบาทหรือคิดเป็น2.42 เท่าของวงเงินที่ประกาศ(90,000 ล้านบาท) ทำให้สบน. สามารถดำเนินการแลกเปลี่ยนพันธบัตรที่ใกล้ครบกำหนด(Source Bond) กับพันธบัตรเพื่อทดแทนรุ่นเดิม(Destination Bond)ในรุ่นอายุที่ยาวขึ้นและสอดคล้องกับความต้องการลงทุนทั้งกลุ่มนักลงทุนระยะสั้นและระยะยาวโดยมีรายละเอียดดังนี้
1) พันธบัตรที่ใกล้ครบกำหนดรุ่น LB196A อายุคงเหลือ2 เดือน
วงเงินการทำธุรกรรม9,537ล้านบาทรุ่นLB206A อายุคงเหลือ 1 ปี2 เดือนวงเงินการทำธุรกรรม27,753 ล้านบาทรุ่นLB21DA อายุคงเหลือ2 ปี8 เดือนวงเงินการทำธุรกรรม26,687ล้านบาท
และรุ่นLB226A อายุคงเหลือ3 ปี2 เดือน วงเงินการทำธุรกรรม26,023ล้านบาทรวมทั้งสิ้น 90,000 ล้านบาท
2)พันธบัตรเพื่อทดแทนรุ่นเดิมคือรุ่นพันธบัตร LB23DA อายุคงเหลือ4 ปี8 เดือนวงเงินการทำธุรกรรม5,000ล้านบาทรุ่นLB28DA อายุคงเหลือ9 ปี8 เดือนวงเงินการทำธุรกรรม10,000ล้านบาทรุ่นLB326A อายุคงเหลือ13 ปี2 เดือน วงเงินการทำธุรกรรม15,000ล้านบาทรุ่นLB386A อายุคงเหลือ19 ปี2 เดือน วงเงินการทำธุรกรรม30,000ล้านบาทรุ่นLB466A อายุคงเหลือ27 ปี2 เดือนวงเงินการทำธุรกรรม10,000 ล้านบาทและLB676A อายุคงเหลือ48 ปี2 เดือน วงเงินการทำธุรกรรม20,000ล้านบาทรวมทั้งสิ้น90,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ผลการทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตรในครั้งนี้สามารถจำแนกเป็น4 มิติดังนี้
1) ด้านการบริหารความสมดุลของพอร์ตหนี้: ลดการกระจุกตัวของหนี้พันธบัตรที่จะครบกำหนดภายในปี2565 โดยสามารถกระจายเป็นพันธบัตรรุ่นระยะกลางจนถึงระยะยาวให้กับนักลงทุนทุกกลุ่มได้อย่างทั่วถึง
2) ด้านการบริหารความเสี่ยง: สามารถบริหารหนี้และความเสี่ยงของหนี้รัฐบาลและยืดอายุคงเหลือเฉลี่ยของSource Bond จาก2 ปี1 เดือนเป็นอายุเฉลี่ย23 ปี8 เดือน
3) ด้านการขยายฐานนักลงทุน: การทำธุรกรรมBond Switching ในครั้งนี้มีจำนวนนักลงทุนเข้าร่วมทำธุรกรรมเพิ่มขึ้นทั้งจากกลุ่มธนาคารพาณิชย์กองทุนต่างๆทั้งกองทุนภาครัฐและภาคเอกชนบริษัทประกันชีวิตและนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ
4) ด้านการเพิ่มสภาพคล่อง: การทำธุรกรรมBond Switching ได้สร้างสภาพคล่องของพันธบัตรที่ใช้ในการสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงทั้งรุ่นที่มีการประมูล(On-the-run Benchmark Bond)จำนวน6 รุ่นได้แก่รุ่นอายุ5 10 15 20 30และ50 ปีซึ่งเป็นการเพิ่มวงเงินในการซื้อขายในตลาดรอง
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะกระทรวงการคลังผู้จัดจำหน่ายและจัดการการแลกเปลี่ยนพันธบัตร ธนาคารกรุงเทพจำกัด(มหาชน) ธนาคารกรุงไทยจำกัด(มหาชน) และธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด(ไทย) จำกัด(มหาชน) ขอขอบคุณนักลงทุนทุกท่านเป็นอย่างยิ่งที่มีส่วนช่วยสนับสนุนให้ธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตรในครั้งนี้ประสบความสำเร็จด้วยดีและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการตอบรับและความร่วมมือจากท่านในการดำเนินธุรกรรมBond Switching ต่อไปในอนาคต.