สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 26 เม.ย. 65
ประเทศไทยตอนบนมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ภาคเหนือและภาคกลางมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ ภาคเหนือตอนล่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.ตราด (60 มม.) จ.นครศรีธรรมราช (59 มม.) และ จ.น่าน (51 มม.)
ปริมาณน้ำใช้การแหล่งน้ำทั้งประเทศทุกขนาด 23,310 ล้าน ลบ.ม. (40%) ขนาดใหญ่ 17,900 ล้าน ลบ.ม. (37%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 3 แห่ง (เขื่อนแม่งัด ภูมิพล และ สิริกิติ์)
คุณภาพน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ณ จุดเฝ้าระวัง ในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง แม่กลอง อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำ ที่ท่าจีน ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจติดตามโครงการพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 การแก้ไขอุทกภัย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยกรมชลประทาน ดำเนินการโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) ปรับปรุงคลองระบายน้ำภูมินาถดำริ (คลอง ร.1) เพิ่มการระบายน้ำจาก 465 ลบ.ม. ต่อวินาที เป็น 1,200 ลบ.ม. ต่อวินาที และเมื่อระบายน้ำร่วมกับคลองอู่ตะเภาในอัตรา 465 ลบ.ม. ต่อวินาที จะสามารถเพิ่มศักยภาพในการระบายน้ำได้สูงสุดรวมกัน 1,665 ลบ.ม. ต่อวินาที ปัจจุบันผลการดำเนินงาน 92.10%
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้กำชับให้หน่วยงาน เตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์น้ำ พร้อมกับเน้นย้ำการบริหารน้ำให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์
สทนช. ดำเนินการเตรียมความพร้อม 13 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565 ตามมาตรการที่ 10 จัดเตรียมพื้นที่อพยพและซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ร่วมกับกรมชลประทาน และกรมป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัย บูรณาการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกับแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับชาติและในระดับพื้นที่ วางแผนจัดเตรียมพื้นที่อพยพและซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ระดับต่างๆ อย่างน้อยภาคละ 1 พื้นที่ โดยที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาดังนี้
รายงานสถานการณ์ และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งน้ำท่วม ปี 2565
-แผนการบริหารจัดการน้ำฤดูฝน ปี 2565 (แผนจัดสรรน้ำ/แผนการเพาะปลูก) ในเขตชลประทาน และ นอกเขตชลประทาน
-การติดตามเฝ้าระวังค่าความเค็มในแม่น้ำสายหลัก 4 สาย
-การจัดเตรียมพื้นที่อพยพและซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ
สทนช. ร่วมกับกรมชลประทาน เสริมศักยภาพอ่างเก็บน้ำห้วยโป่ง ต.ห้วยโป่ง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน เนื่องจากประสบปัญหาท่อส่งน้ำอุดตันจากกรณีฝนชะล้างดินตะกอน โดยร่วมกำหนดแผนเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่มีน้ำใช้อย่างมั่นคงในระยะยาว ซึ่งในระยะเร่งด่วนได้ดำเนินการอัดน้ำเข้าท่อส่งน้ำ และในระยะต่อไปได้เตรียมเสนอแผนปรับปรุงระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยโป่งเพิ่มเติมจากของเดิมให้สามารถดำเนินการได้ภายในปี 2565