สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 17 เม.ย. 65
ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 7 เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย ในช่วงวันที่ 17-18 เมษายน 2565โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง โดยฝนตกหนักรวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ เร่มได้รับผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคเหนือภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน จะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนัก บริเวณ จ.อุบลราชธานี (82 มม.) จ.สกลนคร (76 มม.) และ จ.นราธิวาส (70 มม.)
ปริมาณน้ำใช้การแหล่งน้ำทั้งประเทศทุกขนาด 24,601 ล้าน ลบ.ม. (42%) ขนาดใหญ่ 18,973 ล้าน ลบ.ม. (40%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 3 แห่ง (เขื่อนแม่งัด ภูมิพล และ สิริกิติ์)
คุณภาพน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ณ จุดเฝ้าระวัง ในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง แม่กลอง อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำ ที่ท่าจีน ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
กอนช. ติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่างๆ ดังนี้กรมเจ้าท่า
ขุดลอกร่องน้ำคลองน้ำใส อ.เมือง จ.จันทบุรี เพื่อให้ได้ความลึก ความกว้างตามเกณฑ์ แก้ไขการตื้นเขินของร่องน้ำจากตะกอนทราย เศษวัสดุที่สะสมกีดขวางแนวร่องน้ำ เพื่อความสะดวกและปลอดภัย
ในการ ช่วยในการระบายน้ำ ป้องกันน้ำท่วมในเขตเมืองจันทบุรี ผลการปฏิบัติงาน- ระยะทางสะสม 1,075 เมตร แล้วเสร็จตามแผนงาน
ขุดลอกลำน้ำคาว ต.แม่อ้อ อ.พาน จ.เชียงราย การปฏิบัติงาน ระยะทางแล้วเสร็จสะสม 1,500 เมตร ผลที่คาดว่าจะได้รับหลังการ
ขุดลอก เพิ่มพื้นที่หน้าตัดของร่องน้ำ รองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก การอุปโภค บริโภค และการเกษตร ลดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตร การกัดเซาะตลิ่ง โดยมีประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการขุดลอก ประมาณ 456 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ 2,530 ไร่
ขุดลอกแม่น้ำปัว ต.แงง ต.เจดีย์ชัย อ.ปัว จ.น่าน การปฏิบัติงานระยะทางแล้วเสร็จสะสม 500 เมตร ผลที่คาดว่าจะได้รับหลังการ
ขุดลอก เพิ่มพื้นที่หน้าตัดของร่องน้ำ รองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก การอุปโภค บริโภค และการเกษตร ลดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตร การกัดเซาะตลิ่ง โดยมีประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์ประมาณ 550 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตรประมาณ 1,300 ไร่