สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 8 เม.ย. 65
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนภาคเหนือและส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักบริเวณ จ.เชียงใหม่ (62 มม.) จ.แม่ฮ่องสอน (48มม.) และ จ.พังงา (46 มม.)
ปริมาณน้ำใช้การแหล่งน้ำทั้งประเทศทุกขนาด 25,970 ล้าน ลบ.ม. (45%) ขนาดใหญ่ 20,190 ล้าน ลบ.ม. (42%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 3 แห่ง (เขื่อนแม่งัด ภูมิพล และ สิริกิติ์)
คุณภาพน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ณ จุดเฝ้าระวัง ในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง แม่กลอง อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำ ที่ท่าจีน ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
กอนช. ติดตามสถานการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ในช่วงวันที่ 8 –14 เม.ย. 65 เนื่องจากการเพิ่มการระบายน้ำของเขื่อนจิ่งหง (สาธารณรัฐประชาชนจีน) พบว่าวานนี้ (7 เม.ย. 65) ระดับน้ำที่สถานีจิ่งหง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพิ่มขึ้น 0.19 เมตร โดยมีอัตราการระบายน้ำจากเดิม 2,030 ลบ.ม./วินาที เป็น 2,192 ลบ.ม./วินาที เพิ่มขึ้น 162 ลบ.ม./วินาที ซึ่งอาจส่งผลกระทบในพื้นที่ ดังนี้
ช่วงเหนือเขื่อนไซยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บริเวณสถานีเชียงแสน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย คาดการณ์ในช่วงวันที่ 8–10 เม.ย. 65 ระดับน้ำแม่น้ำโขงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประมาณ 0.6–0.7 เมตร
ช่วงท้ายเขื่อนไซยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บริเวณ อ.เชียงคาน จ.เลย อ.เมือง จ.หนองคาย อ.เมือง จ.นครพนม อ.เมือง จ.มุกดาหาร และ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี คาดการณ์ในช่วงวันที่ 11 –14 เม.ย. 65 ระดับน้ำแม่น้ำโขงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประมาณ 0.5–0.6 เมตร โดยขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนไซยะบุรี
ทั้งนี้ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติขอให้จังหวัดบริเวณริมแม่น้ำโขง โปรดประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงและแจ้งเตือนให้ประชาชนที่สัญจรและประกอบกิจกรรมในบริเวณแม่น้ำโขง รวมทั้งผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณ 8 จังหวัด ริมแม่น้ำโขง ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และเตรียมการเฝ้าระวังผลกระทบที่ีอาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำในแม่น้ำโขงอย่างฉับพลัน