ลุ้น! ส่งออกอาหาร ฝ่าปัจจัยเสี่ยงสู่เป้า 1.05 ล้านล้านบาท
สถาบันอาหาร เผย พิษโควิด-19 ฉุดส่งออกอาหารไทยปี 63 หดตัว 4.1% คาดปี 64 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 หรือมีมูลค่าส่งออกประมาณ 1.05 ล้านล้านบาท
นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า ปี 2563 ภาคการผลิตอุตสาหกรรมอาหารของไทยหดตัวลงร้อยละ 6.5 เป็นผลมาจากการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกที่ลดลง เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเฉพาะในกลุ่มมันสำปะหลัง อ้อย(น้ำตาล) และสับปะรด
ส่วนภาคการส่งออกสินค้าอาหารไทยในปี 2563 มีมูลค่า 980,703 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.1 ขณะที่ส่วนแบ่ง ตลาดโลกของไทยลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.32 จากร้อยละ 2.49 ในปี 2562 และอันดับประเทศผู้ส่งออกอาหารของไทยตกลงมาอยู่ ในอันดับที่ 13 ของโลก จากอันดับที่ 11 ในปีก่อน
ปัจจุบันจีนเป็นตลาด ส่งออกอาหารอันดับที่ 1 ของไทย มีสัดส่วนส่งออกร้อยละ18.3 รองลงมา ได้แก่ CLMV ร้อยละ 13.9 และญี่ปุ่น ร้อยละ 12.7 ตามลำดับ พบว่าสินค้าอาหารไทยพึ่งพิงตลาด ส่งออกในกลุ่ม ประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคอย่างจีนและ CLMV มากขึ้น โดยมีสัดส่วนส่งออกรวมกันสูงถึงร้อยละ 32.2 เพิ่มขึ้นจากสัดส่วน ร้อยละ 12.1 ในช่วง 10 ปีก่อน โดยไทยส่งออกสินค้าไปยังจีนและ CLMV เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 19.6 และ 8.9 ต่อปี ตามลำดับ
นอกจากอุตสาหกรรมอาหารของไทยจะได้ รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19แล้ว ยังมีแรงกดดันจาก การแข็งค่าของเงินบาท ภาวะขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และต้นทุน ขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้น
สำหรับ แนวโน้มการส่งออกสินค้าอาหารไทยปี 2564 คาดว่าจะมีมูลค่า 1,050,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 โดยมีปัจจัย สนับสนุนหลักมาจาก 1) ความต้องการสินค้าในตลาดโลก มีแนวโน้ม เพิ่มสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจหลังจากที่หลายประเทศเริ่มมีการให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 แก่ประชาชน 2) ราคาสินค้าเกษตรและอาหาร ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าไก่ น้ำตาล ผลิตภัณฑ์มันสำปะ หลัง และสับปะรด 3) การกำหนดมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อ โควิด-19 ในกระบวนการผลิตอาหารส่งออก เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ให้กับประเทศคู่ค้าที่นำเข้าสินค้าอาหารจากไทย
ส่วนปัจจัยที่จะทำให้การส่งออกไม่ เป็นไปตามเป้า ได้แก่ 1) การขาดแคลนวัตถุดิบของโรงงานแปรรูป อาหาร โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลที่เน้นผลิตเพื่อ การส่งออก เช่น กุ้ง ปลาทะเล ปลาหมึก 2) ค่าเงินบาทมีแนวโน้ม แข็งค่าสวนทางดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง ซึ่งจะกระทบกับกลุ่มอาหารส่งออกที่มีการใช้ปัจจัยการผลิตภายในประเทศในสัดส่วนที่สูง เช่น กุ้งแช่แข็ง สับปะรดกระป๋อง ไก่ น้ำตาลทราย ข้าว และผักผลไม้สด เป็นต้น 3) ต้นทุนค่าขนส่งทางเรือเพิ่มสูงขึ้น จากปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และค่าระวางเรือที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งต้นทุนการผลิตและค่าขนส่งภายในประเทศที่มาจาก การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก
สำหรับกลุ่มสินค้าที่คาดว่าการส่งออกจะปรับตัวสูงขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า ได้แก่ ไก่ ปลาทูน่ากระป๋อง แป้งมัน สำปะหลังเครื่องปรุงรส มะพร้าว อาหารพร้อมรับประทาน และสับปะรด ส่วนสินค้าที่คาด ว่าการส่งออกจะใกล้เคียงกับปีก่อน คือ ข้าว ส่วนน้ำตาล ทรายจะมีปริมาณส่งออกทรงตัว แต่มูลค่าส่งออกจะเพิ่ม ขึ้นตามราคาน้ำตาลในตลาดโลก ขณะที่กุ้ง เป็นสินค้าหลักที่ คาดว่าการส่งออกจะลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า