SCB ปรับวิธีคิดสู้โควิด-19
พูดคุยกับผู้บริหารมืออาชีพผ่าน Facebook live SCB FX ครั้งแรก ในหัวข้อ คาถาปรับวิธีคิดสู้โควิด-19 โดยคุณธนา เธียรอัจฉริยะ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานการตลาด
คุณธนา เธียรอัจฉริยะ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานการตลาด
มองวิกฤตต้มยำกุ้งที่ผ่านมามีความคล้ายคลึงกับวิกฤตเศรษฐกิจหรือวิกฤตโควิด-19 ในครั้งนี้
บริษัทใหญ่ๆในวิกฤตต้มยำกุ้งนำเงินไปฝากเป็นเงินดอลล่าร์เพราะไม่คิดว่าบาทพอบาทอ่อนทำให้บริษัทล้มละลายนะวันนั้นปัญหาคือปัญหาของคนรวย ครั้งนั้นมีคนโดนเลย์ออฟบ้างแต่ก็ยังสามารถกลับไปทำภาคการเกษตร
คนชั้นกลางและคนจนไม่ได้เดือดร้อนมากปัจจุบันไม่ใช่ปัญหาของโควิด-19อย่างเดียว ภายหลังจากเหตุการณ์โควิด-19 คนจะตกงานเยอะมากย้อนกลับไปปี40ในวิกฤตต้มยำกุ้งประเทศไทยมีเพื่อนบ้านเข้ามาพยุงแต่ในวิกฤตครั้งนี้โดนกันทั้งโลกจึงทำให้ไม่สามารถพยุงประเทศไทยได้หลักๆการเดือดร้อนในวิกฤตครั้งนี้ผมมองว่าเป็นคนละกลุ่มกัน
ในมุมของผู้ประกอบการจะเตรียมตัวหลังโควิด-19อย่างไร แบ่งเป็น2ช่วง
1)กระแสเงินสดสำคัญที่สุด ต้องลดค่าใช้จ่ายต้องยอมขาดทุนในบางส่วนขอลดค่าเช่าให้ได้ไม่ต้องอายเพราะทุกคนทักคุณว่ายังไงก็ต้องสาสมที่สุด
2)กำลังซื้อจะลดลง ต้องเป็นตัวจริงในสิ่งที่เราทำต้องเริ่มสร้างอัตลักษณ์
กลยุทธ์ทางการตลาดเราจะปรับตัวยังไงเพื่อจะให้ธุรกิจเราคงอยู่ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์หรืออัตลักษณ์ นักการตลาดต้องรีเซ็ทใหม่หมดเพราะสิ่งที่เรารู้มาอาจจะใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันไม่ได้
ในช่วงโควิด-19 จำเป็นต้องมีการตลาดแต่การตลาดต้องเหมาะกับช่วงโควอด-19ผมมองว่าในวิกฤตครั้งนี้ไม่ใช่จะหากำไรอย่างเดียวต้องมองถึงหัวใจของประชาชนด้วย
ช่วงหลังโควิด-19 ต่องเข้าใจว่าคนคิดอะไร ผมมองว่า การพูดคุยสำคัญที่สุดและฟังให้มากที่สุด
และหาไอเดียใหม่ๆในการประกอบธุรกิจหรือการตลาดของตัวเอง หลังโควิด-19 ทำเลที่ดีที่สุดของการเปิดร้านอาหารผมมอง มี deliveryมากขึ้นเพราะฉะนั้นการตั้งทำเลจึงไม่จำเป็นต้องอยู่ในที่ที่แพงแตกทำเลยอาจจะอยู่ในที่ที่ราคาไม่แพงแต่เราขาย delivery ให้ได้มากขึ้น เจ้าของธุรกิจไม่จำเป็นต้องเช่าร้านแพงเพราะโลเคชั่นไม่จำเป็นต้องอยู่หัวมุมถนนไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้างโลเคชั่นที่สำคัญที่สุดคือโลเคชั่นในแอพพลิเคชั่น
Applicationคือ new location ของร้านอาหารในปัจจุบัน
ณ วันนี้ถ้ามีการเปิดห้างสรรพสินค้าผมมองว่าร้านอาหารไม่ได้อยากเปิดร้านอาหารในห้างเพราะวันนี้คนซื้อจะไม่ได้ซื้อเยอะเหมือนเมื่อก่อน ยกตัวอย่างถ้าต้องเข้าไปร้านอาหารแล้วนั่งห่างกันเจ้าของร้านใช้เวลาเท่าเดิมแต่ขายของได้น้อยลงซึ่งนั่นแปลว่ากำไรจะลดลง เพราะฉะนั้นยอดขายออนไลน์น่าจะเพิ่มสูงขึ้นการปรับตัวก็จะมากตามขึ้นไปเรื่อยๆหลังจากนี้ถ้าSME หาอัตลักษณ์ของตัวเองไม่ได้จะอยู่ในวิกฤตในครั้งนี้ได้ลำบากSMEต้องปรับตัวกลับมาที่ต้องมองที่กระแสเงินสดของSMEแต่ต้องมองแบบสตาร์ทอัพ และการเก็บข้อมูล เพื่อพัฒนาธุรกิจ
New normal ผมมองว่าหลายอย่างก็ยังคงอยู่ผมมองว่าเราจะกังวลว่าจะเกิดครูอีกซ้ำสองคู่อีกไม่ใช่ลิงตัวเริ่มต้นหรือจุดจบแต่โควิด-19 คือตัวเร่งที่ทำให้เปลี่ยนพฤติกรรม ขนาดมหาวิทยาลัยพูดกันเรื่องการสอนออนไลน์มาตลอด 10 ปีแต่ต้องทำให้ได้ภายในสองอาทิตย์หลังจากเกิดโควิด-19 หลายอย่างผมมองว่าจะไม่กลับไปเป็นเหมือนเดิมแน่นอน เราต้องใช้เวลาช่วงโควิชวางแผนและเตรียมตัวจะรับมือและปรับตัวยังไงเพราะพฤติกรรมแบบเดิมๆคงเปลี่ยนไป
ในส่วนของธนาคารผูกขาดกับเศรษฐกิจไทยรายได้เรามาจากลูกค้าดังนั้นธนาคารทำยังไงก็ได้ให้ลูกค้าเราอยู่ได้ถ้าลูกค้าพังเราก็พังนี่เรามองระยะสั้นๆ ช่วยลูกหนี้ประคองให้ได้ เราออกมาตรการหลายอย่างเพื่อช่วยลูกค้าในวิกฤตมีข้อดีเสมอปี40วิกฤตต้มยำกุ้งทำให้ประเทศไทยค่อนข้างแข็งแรงเรื่องสถานะการเงิน ณ วันนี้ภาครัฐและธนาคารแข็งแรงมากแต่เราเองก็ต้องเข้มแข็งและพร้อมสู้ไปด้วย
ธนาคารมีภาระหน้าที่ต้องเป็นเสาหลักให้กับพี่น้องประชาชนภาคการเงินเป็นเหมือนไฟฟ้าต้องไม่ดับ ถ้าลูกค้ารอดเศรษฐกิจและธุรกิจก็จะกลับสู่ภาวะปกติเอง