WEF ชี้ความสามารถไทยดีขึ้น อยู่ที่อันดับ40
![](https://aec10news.com/wp-content/uploads/2019/10/08a05d0091e8158b24b1d318cc6e9d0d_XL.jpg)
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศดัชนีขีดความสามารถทางการแข่งขัน ระดับโลกของ World Economic Forum (WEF) ชี้ระดับความสามารถไทยดีขึ้นแม้อันดับจะลดลง ทำให้ต้อง เร่งพัฒนาหลายด้านเพื่อให้ทันกับประเทศอื่นๆ
การวัดความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก (Global Competitiveness) ได้จัดเผยแพร่รายงานดัชนี ความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก (Global Competitiveness Index: GCI) และการเปรียบเทียบ ความสามารถทางการแข่งขันของประเทศต่างๆ ทั่วโลกประจำปีล่าสุด 2019 นี้ประเทศไทยมีค่าดัชนีความสามารถทางการแข่งขันที่ดีขึ้นจากปี 2018 เดิม 67.5 คะแนนเป็น 68.1 คะแนนและอยู่ในอันดับที่ 40 ของโลกจากทั้งหมด 141 ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับ สำหรับอันดับหนึ่งปีนี้มีการล้มแชมป์เกิดขึ้น ประเทศสิงคโปร์ได้ขึ้นเป็นอันดับหนึ่งโดยล้มแชมป์เก่า คือ สหรัฐอเมริกา ที่ตกลงไป
เป็นอันดับสอง โดยอันดับสามถึงสิบมีดังนี้ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น เยอรมนี สวีเดน สหราช อาณาจักร และเดนมาร์ก ตามลำดับ
ผศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า ทาง คณะฯ ได้เป็นสถาบันที่เป็นพันธมิตรหนึ่งเดียวอย่างเป็นทางการของ WEF ในประเทศไทยมาหลายปี โดยรับสิทธิ์จัด เผยแพร่รายงานดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก (Global Competitiveness Index) มีส่วนร่วมและ บทบาทในการทำวิจัยระดับความสามารถของประเทศร่วมกับ WEF ซึ่งสุดท้ายก็จะนำไปคำนวณเป็นดัชนี ความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก โดยมีดัชนีชี้วัดทั้งสิ้น 4 มิติใหญ่และแบ่งย่อยออกมาเป็น 12 เสาหลัก ได้แก่
1. สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย (Enabling Environment)
2. ทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital)
3. ตลาด (Markets)
4. ระบบนิเวศของนวัตกรรม (Innovation Ecosystem)
ในปีนี้ คือ ประเทศเวียดนามเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดสูงที่สุด ในโลก โดยมีค่าดัชนีเพิ่มขึ้นถึง 3.5 คะแนนทำให้อันดับขยับเพิ่มขึ้นได้ถึง 10 อันดับ จากอันดับที่ 77 เมื่อปีที่ผ่านมา ขึ้นเป็นอันดับที่ 67 ของโลกในปีนี้ เมื่อเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศ ASEAN+3 พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับ ที่ 6 จ า ก 12 ป ร ะ เ ท ศ โดยเป็นรองประเทศสิงคโปร์ (อันดับ 1) ญี่ปุ่น (อันดับ 6) เกาหลีใต้ (อันดับ 13) มาเลเซีย (อันดับ 27) และจีน (อันดับ 28) แ ล ะ มีอันดับสูงกว่าประเทศอื่นๆ เช่น อินโดนีเซีย (อันดับ 50) บรูไน (อันดับ 56) ฟิลิปปินส์ (อันดับ 64) เวียดนาม (อันดับ 67) กัมพูชา (อันดับ 106) ลาว (อันดับ 113) โดยที่ประเทศพม่าไม่ได้รับการจัดอันดับ
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการวิเคราะห์ตัวชี้วัดทั้งหมดจากผล ข้อมูลจากองค์กร WEF พบว่าหากมีการเร่งพัฒนาในเรื่องของการลดการทุจริต ปรับปรุงคุณภาพของโครงสร้าง พื้นฐาน พัฒนาทักษะของคนในประเทศ และมีนโยบายที่ช่วยลดช่องว่างในการแข่งขันของตลาดภายในประเทศ ซึ่ง เป็นดัชนีที่มีค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักมาก แต่ประเทศไทยเรายังทำได้ไม่ดีนัก ก็จะสามารถทำให้ประเทศไทยมีอันดับการ แข่งขันที่ดีขึ้นมากได้ ในขณะที่การพัฒนาในเรื่องของการควบคุมอัตราเงินเฟ้อ การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมใน ประเทศ และการมีสุขภาพดีอายุที่ยืนยาวของคนในประเทศ ซึ่งเป็นดัชนีที่มีค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักมาก และประเทศ ไทยทำได้ดีอยู่แล้ว รวมทั้งสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไปได้ง่าย ก็จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับ ประเทศไทยได้อย่างก้าวกระโดด และส่งผลต่อการพัฒนาประเทศให้อยู่ในอันดับที่สูงขึ้นต่อไปได้.