แผน PDP ฉบับใหม่ เสร็จเดือน ก.พ.นี้
ปลัดพลังงาน เผย ร่างแผน PDP ฉบับใหม่ เสร็จเดือน ก.พ. นี้ โดยจะรับซื้อพลังงานทดแทนเข้าระบบได้ในปี 2570 ส่วนโครงการโซลาร์ภาคประชาชน 10,000 เมกะวัตต์ อยู่ระหว่างร่างหลักเกณฑ์รับซื้อไฟฟ้า
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวภายหลังเป็นประธานงานสัมมนา “การสื่อสารนโยบายสู่ภาคปฏิบัติของกระทรวงพลังงาน ปี 2562” ว่า ทิศทางการดำเนินงานในปี 2562 หลังจากจัดทำร่างแผน PDP ฉบับใหม่ที่จะเสร็จสิ้นในเดือน ก.พ. นี้ ในด้านไฟฟ้า จะมีโครงการศึกษาการปรับโครงสร้างเพื่อรองรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าใช้เอง และส่งขายให้การไฟฟ้า (Prosumer) โครงการศึกษา SPP Power Pool การสร้างโรงไฟฟ้าพระนครใต้ทดแทนเครื่องที่ 1-5 การศึกษาความเหมาะสมของโซลาร์ลอยน้ำ การจัดตั้ง One Stop Service การจัดตั้งโรงไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ
ส่วนด้านน้ำมัน เห็นชอบและประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ…. การศึกษาการสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์ ปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงให้สะท้อนและเกิดการแข่งขันเพิ่มขึ้น โครงการระบบขนส่งน้ำมันทางท่อไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และศึกษาแนวทางการส่งเสริมการใช้ B10
ด้านก๊าซธรรมชาติ หลังจากเปิดประมูลแหล่งปิโตรเลียมเอราวัณ-บงกชสำเร็จในปีที่ผ่านมา ปีนี้ก็มีภารกิจต่อเนื่องในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเรื่องการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) โดยปี 2562 จะดูเรื่องการนำเข้า LNG ในปริมาณ 1.5 ล้านตัน เพื่อทดสอบระบบเชื่อมต่อระบบส่งก๊าซธรรมชาติและสถานี LNG แก่บุคคลที่สาม (Third Party Access -TPA)
ด้านพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน มีแผนขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System-ESS) รวมถึงมีการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานอาคารด้านพลังงานสำหรับอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยขนาด 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป นอกจากนี้ ด้านองค์กร จะจัดทำแนวทางปฏิบัติที่ดี (Code of Conduct) การพัฒนาศูนย์สารสนเทศแห่งชาติ เป็นต้น
นอกจากนั้น ยังได้ปรับแผนการส่งเสริมพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 30 พร้อมกับส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าชีวมวลชีวภาพ เช่น การนำผักตบชวามาเป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น โดยจะสามารถรับซื้อพลังงานเข้าระบบได้ในปี 2570-2580 ส่วนโครงการโซลาร์ภาคประชาชน 10,000 เมกะวัตต์ ทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำลังอยู่ระหว่างการร่างกฎเกณฑ์การจำหน่ายไฟฟ้าที่เหลือให้กับ 3 การไฟฟ้า และขยายกำลังผลิตโรงไฟฟ้าน้ำพอง และโรงไฟฟ้าแม่เมาะอีก โดยในส่วนโรงไฟฟ้าน้ำพอง อยู่ระหว่างพิจารณานำก๊าซธรรมชาติจากส่วนใดมาใช้ผลิตไฟฟ้า เช่น แหล่งภูฮ่อม, การต่อท่อก๊าซจากนครราชสีมา หรือการขนส่งในรูปแบบ LNG ของ