กฟน.เยี่ยมชมหม้อแปลงอัจฉริยะซัปเมอร์ส
“เจริญชัย” ตอนรับ “กฟน.” เยี่ยมชมหม้อแปลงอัจฉริยะ ชับเมอร์สตอบโจทก์นำสายไฟลงดินทั้งระบบปรับทัศนีย์ภาพกรุงเทพสู่มหานครแห่งอาเซียน
แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียนนั้นการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของไทย เป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินการ ซึ่งที่ผ่านมา กฟน.มีหน้าที่จัดจำหน่ายพลังไฟฟ้าในบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ รวมพื้นที่ประมาณ 3,191.6 ตารางกิโลเมตร ให้บริการผู้ใช้ไฟฟ้าประมาณ 3.4 ล้านราย มีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด 8,668.98 เมกะวัตต์
กฟน. ได้เร่งดำเนินการปรับเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่จำหน่ายของ กฟน.แม้ว่าการจ่ายไฟฟ้าด้วยระบบสายไฟฟ้าใต้ดินจะมีต้นทุนสูงกว่าระบบสายไฟฟ้าอากาศ และใช้เวลานานในการก่อสร้าง
การเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ถือว่าเป็นโครงการตอบแทนคืนสู่สังคม ของกฟน.ที่พยายามดำเนินการตามความสามารถทั้งทางด้านการเงิน และกำลังคนโดยได้เร่งดำเนินการระบบสายไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นในที่เป็นแหล่งธุรกิจ แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และได้ทำการประสานงานกับ จ.นนทบุรี และ จ.สมุทรปราการ เพื่อร่วมกันพิจารณาคัดเลือกพื้นที่ดำเนินการเพิ่มเติม พร้อมทั้งได้ประสานงานกับหน่วยงานอื่น ดำเนินการไปพร้อมกัน ลดปัญหาซ้ำซ้อนในการดำเนินการและปัญหาการจราจร เพื่อให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ของ กฟน. ที่จะยกระดับคุณภาพไฟฟ้าให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง พัฒนาคุณภาพระบบจำหน่ายไฟฟ้าเพื่อการเป็นมหานครแห่งอาเซียน ซึ่งเป็นการตอบรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน (AEC) ของประเทศไทยในการนำสายไฟฟ้าอากาศ เป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน จำนวน 39 เส้นทางระยะทาง 127.3 กิโลเมตร กรอบวงเงินลงทุน 48,717.2ล้านบาท ดำเนินการในปี 2559-2568 (10 ปี)
นายประจักษ์ กิติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ (ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์กับนวัตกรรม) บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ให้การต้อนรับ เจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวงจาก 6 หน่วยงาน จำนวน 45 คน ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวงนนทบุรี การไฟฟ้านคราหลวงเขตบางเขน, ฝ่ายอุปกรณ์งานจำหน่าย, ฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า, ฝ่ายวิจัยและพัฒนา, ฝ่ายธุรกิจบริการและคุณภาพไฟฟ้า เยี่ยมชมหม้อแปลงไฟฟ้าอัฉริยะ ชับเมอร์ส (Submersiberransformer) ชนิดจมน้ำ ที่ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย โดยบริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ที่เป็นผู้คิดค้นและผลิต นวัตกรรมไทยที่ได้รับ รหัสที่ 07020011 ขึ้นทะเบียน ระหว่างปี 2562-2570 ระยะเวลา 8 ปี มีชื่อทางการค้าของผลงานนวัตกรรมไทย : ว่า หม้อแปลงฟ้าระบบจำหน่ายชนิดจมน้ำ (Submersible Type Distribution Transformer) รองรับมิติใหม่ของการนำสายไฟลงดินทั้งระบบ
“ปัจจุบันการนำระบบสายไฟฟ้าลงดิน มีการพัฒนาไปมาก ที่ผ่านมามีการนำระบบไฟฟ้าลงดินนั้นยังคงหลงเหลือหม้อแปลงไฟฟ้าอยู่บนดินบดบังทัศนีย์ภาพบางช่วง บางตอนของถนนสายสำคัญๆที่ต้องการทัศนีย์ภาพอันสมบูรณ์ 100%ของเมือง และแหล่งท่องเที่ยวซึ่งหม้อแปลงไฟฟ้าอัฉริยะ ซับเมอร์ส ชนิดจมน้ำ (Submersible Type Distribution Transformer)จึงเป็นนวัตกรรมที่มาตอบโจทย์ การน้ำสายไฟลงดินทั้งระบบ ที่สามารถจำหน่ายไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าใต้ดิน ที่สร้างทัศนีย์ภาพสมบูรณ์ให้แก่เมืองและท่องเที่ยว”
สำหรับเรื่องของไฟฟ้าแล้ว แน่นอนว่าสิ่งที่หลายคนกังวลก็คือการถูกไฟดูด หรือไฟฟ้าช็อต โดยเฉพาะเมื่ออยู่ร่วมกับน้ำจะยิ่งทำให้กระแสไฟถูกนำมาพามาหาได้ไวมากขึ้น ขณะที่หม้อแปลงชับเมอร์สซึ่งการติดตั้งจะถูกฝังลงไปใต้ดิน เมื่อเกิดน้ำท่วมจะมีปัญหาหรือไม่ ข้อนี้นายประจักษ์ อธิบายว่า ไทยใช้ไฟขนาด 33,000 โวลต์ โดยที่ไฟฟ้า 10,000 โวลต์ จะรั่วไหลออกมาได้เพียง 1 เซนติเมตร เพราะฉะนั้นหากคิดตามกระแสไฟฟ้าของไทย รัศมีที่เป็นอันตรายเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจะมีเพียงแค่ 33 เชนติเมตรเท่านั้น
“ยิ่งอยู่ห่างก็ยิ่งถูกดูดน้อยลง ที่สำคัญน้ำมีความต้านทานมากกว่าอากาศ โดยที่อากาศจะเร็วกว่าเพราะอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ ซึ่งผู้ที่ถูกไฟดูดส่วนใหญ่จะเป็นโวลต์ต่ำ และเป็นการเอามือเข้าไปสัมผัส ขณะที่หม้อแปลงไฟฟ้าชับเมอร์สจะอยู่ต่ำลงไปใต้ดิน โอกาสที่จะถูกดูดจึงน้อยมาก”
ส่วนระบบสายไฟฟ้ใต้ดินเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบสายส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าไว้ใต้พื้นดิน ซึ่งได้เดินร้อยท่อฝังดินในโครงสร้างที่ออกแบบมาเพื่อรองรับสายเคเบิล และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการนำส่งไฟฟ้าโดยเฉพาะ จึงมีความปลอดภัยต่อการใช้งานสูง