หยวนอ่อนค่าช่วยจีนสู้สงครามการค้า
เงินหยวนที่อ่อนค่าลงในช่วงนี้เป็นประโยชน์กับผู้ส่งออกชาวจีนที่กำลังเผชิญสงครามการค้ากับสหรัฐฯ แต่ความเสี่ยงทางการเงินอาจกระตุ้นจีนให้พร้อมช่วยค้ำจุนสนับสนุนค่าเงิน
ขณะที่ตลาดตื่นตระหนกกับความขัดแย้งระหว่างสองประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ค่าเงินหยวนที่อ่อนค่าลงทำให้สินค้าของผู้ส่งออกจีนมีราคาถูกลง บรรเทาผลกระทบจากมาตรการภาษีจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐฯ ที่จัดเก็บกับสินค้านำเข้าของจีนมูลค่า 34,000 ล้านดิลลาร์สหรัฐฯ
โดยในช่วงปลายเดือนส.ค.นี้ ทางการสหรัฐฯ จะเริ่มมีการจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมกับสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 16,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
บริษัทที่มีหนี้ส่วนใหญ่เป็นดอลลาร์สหรัฐฯต้องจ่ายเพิ่มขึ้น และการนำเข้าในส่วนของอเมริกันจะมีราคาแพงขึ้น
สกุลเงินของจีนหรือที่รู้จักกันในชื่อ เหรินหมินปี้ อ่อนค่าลง 7% ตั้งแต่เดือนมิ.ย. โดยค่าเงินอยู่ 6.85 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐฯเมื่อวันที่ 6 ส.ค.จัดว่าเป็นระดับที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เดือนพ.ค. ปี 2560 เป็นต้นมา ค่าเงินที่อ่อนลงทำให้วอชิงตันกล่าวหาจีนว่าควบคุมค่าเงิน
“ ค่าเงินหยวนที่อ่อนค่าลงทำให้การส่งออกโดยรวมของจีนมีราคาถูกลงโดยเฉลี่ย เมื่อเทียบกับดอลลาร์ของสหรัฐฯที่กำลังให้ความสำคัญกับการยกระดับการค้าเพิ่มขึ้น” Julian Evans- Pritchard นักวิเคราะห์ชาวจีนที่ Capital Economics
ขณะที่ 70% ของยอดส่งออกจีนเก็บเงินเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ผู้ส่งออกปรับเปลี่ยนการตั้งราคาอย่างเร็ว Evans- Pritchard กล่าว
Olivier Blanchard อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF โพสต์บนทวิตเตอร์ว่า ค่าเงินหยวนที่ลดลงเพียงพอที่จะชดเชยแผนเก็บภาษีของสหรัฐฯ มูลค่า 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ขณะที่ปล่อยให้กลไกตลาดมีบทบาทในการทำหน้าที่ไป ธนาคารกลางจีนคงค่าเงินหยวนอยู่ในแนวซื้อขายแคบๆ ที่ปรับเปลี่ยนรายวัน แต่รัฐบาลปฏิเสธอย่างแข็งขันว่าไม่ได้ควบคุมสกุลเงิน
ทั้งนี้ ค่าเงินหยวนอ่อนช่วยหนุนผู้ส่งออก แต่ผู้นำเข้าของจีนต้องซื้อสินค้าด้วยเงินดอลลาร์ในราคาแพงขึ้น โดยส่วนใหญ่คือโภคภัณฑ์ นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มภาระกับบริษัทจีนที่ต้องจ่ายคืนหนี้เป็นเงินดอลลาร์
ธนาคารกลางอาจเริ่มกดปุ่มเตือนหากค่าเงินหยวนลดลงมากกว่า 7 หยวนต่อดอลลาร์
“ การขับเคลื่อนของจีนให้สถานะเศรษฐกิจก้าวหน้า การปฏิรูปภาคการเงิน และการทำให้เงินหยวนเป็นสกุลเงินที่มีการยอมรับทั่วโลกอาจหยุดชะงัก ไม่เป็นไปตามแผนหากค่าเงินหยวนยังคงอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง” Christy Tan หัวหน้าฝ่ายกลุยุทธ์ตลาดที่ธนาคารกลางออสเตรเลียให้ความเห็นกับสื่อบลูมเบิร์ก
จีนเคยผ่านประสบการณ์ที่เงินหยวนอ่อนค่าลงครั้งใหญ่ในเดือนส.ค.ปี 2558 และทำให้เงินทุนไหลออกจากประเทศจำนวนมาก เป็นสถานการณ์ที่รัฐบาลจีนคงไม่อยากให้เกิดขึ้นอีกครั้ง
“ หากความเชื่อมั่นสั่นคลอน ผู้คนจะเทขายเงินหยวน ซึ่งมีทั้งทรัพย์สินที่ขายได้ หุ้น และอสังหาริมทรัพย์ ภาคการเงินจะได้รับผลกระทบ” Ye tan นักเศรษฐศาสตร์อิสระในเซี่ยงไฮ้กล่าวกับสื่อ AFP
แต่จีนจะทำอย่างเต็มที่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสถานการณ์เลวร้ายด้วยการปิดประตูไมให้เงินทุนไหลออกหากจำเป็น Ye กล่าว โดยย้ำว่า ตอนนี้สถานการณ์ยังไม่น่าตกใจถึงขนาดนั้น.