สกพอ. – สศช. ชู ผลสำเร็จ แผนบูรณาการ อีอีซี
อีอีซี ร่วมกับ สศช. ชู ผลสำเร็จ แผนบูรณาการ ต้นแบบยกระดับการทำงานร่วม ภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น ประชาชน สู่คุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยในปัจจุบันและอนาคต
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวัน (แผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือแผนบูรณาการ อีอีซี กำกับดูแลโดย สกพอ.) หรือ อีอีซี ร่วมกับ เป็นหน่วยงานเจ้าภาพหลัก และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นหน่วยงานเจ้าภาพ ร่วม จัดทำ แผนบูรณาการ อีอีซี ได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดเป็นการบูรณาการเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่อีอีซีอย่างเป็นระบบ
โดยโครงการในงานแผนบูรณาการเป็นแผนภาพรวมเพื่อพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในกรอบระยะ 5 ปี เชิงยุทธศาสตร์อย่างแท้จริง โครงการในแผนงานบูรณาการแต่ละปีจะอยู่ในกรอบของ อยู่ภายใต้ “แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” ซึ่งเป็นแผนระยะ 5 ปี ตามเป้าหมายแผนแม่บทภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ และ แผนปฏิรูปประเทศ ที่เป็นต้นแบบการสร้างการมีส่วนร่วม รัฐเอกชน ท้องถิ่น ประชาชน อย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้แนวคิด “ร่วมคิด ร่วมลงทุน ร่วมพัฒนา”
โดยที่ได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบาย อีอีซี จึงเป็นการระดมสรรพกำลังของทุกหน่วยงานตามแผนภาพรวมให้ก้าวไปข้างหน้าร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิรูปประเทศ
แผนงานบูรณาการ อีอีซี ถือเป็นต้นแบบสร้างการมีส่วนร่วม รัฐ เอกชน ท้องถิ่น ประชาชน ตั้งแต่จัดทำแผนบริหารทรัพยากรร่วมกัน สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ผ่านการลงทุนในพื้นที่อีอีซี ด้วยแนวคิด “ร่วมคิด ร่วมลงทุน ร่วมพัฒนา” มุ่งเน้นใช้งบประมาณแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยสร้างการมีส่วนร่วมให้ทุกคนเป็นเจ้าของและรับผิดชอบงบประมาณเพื่อดำเนินงานโครงการผ่านการบูรณาการร่วมกัน มีสำนักงาน อีอีซี เป็นเจ้าภาพหลักและเป็นแกนนำในการร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่แต่ละด้าน และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เป็นเจ้าภาพร่วม
โดยสำนักงาน อีอีซี ทำหน้าที่ประสานงาน กลั่นกรองโครงการและติดตามการใช้จ่ายงบประมาณให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน และจะดำเนินการต่อเนื่องไปในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่กำลังจะมาถึง การดำเนินงานตลอดระยะเวลาที่ที่ผ่านมา ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ตั้งแต่ ปี 2561-2565 ได้มีการขับเคลื่อนงานร่วมกันกว่า มีหน่วยงานร่วมขับเคลื่อนกว่า 14 กระทรวง 43 หน่วยงาน ได้รับอนุมัติงบประมาณไปจนถึ ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แล้ว 82,000 ล้านบาทหรือร้อยละ 5 คิดเป็นเพียงร้อยละ 5 ของงบลงทุนที่ได้อนุมัติไปแล้ว ซึ่งปัจจุบันได้รับจัดสรรไปไปแล้วกว่า 70,000 ล้านบาท สามารถดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และโดยเกิดมูลค่าการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย จำนวน 924,734 ล้านบาท เกิดมูลค่าลงทุนจริงในพื้นที่อุตสาหกรรม รวมทั้งสิ้น 728,838 ล้านบาท
นอกจากนี้ ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม คมนาคม ขนส่ง และการท่องเที่ยว นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนคนในพื้นที่อีอีซี อาทิ โครงการโครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงทางหลวงและทางหลวงชนบท 40 เส้นทาง การก่อสร้างสะพาะชลมารควิถี 84 พรรษา การพัฒนาท่าเรือจุดเสม็ด ต้นแบบ 5G ในพื้นที่บ้านฉาง การพัฒนาทักษะบุคคลากร“อีอีซีโมเดล”สร้างคนตรงความต้องการ การเตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ซึ่งคาดว่าจะสามารถดึงดูดนักลงทุนเข้าสู่พื้นที่อีอีซีกว่า 12,000 ล้านบาท ก่อให้เกิดได้รายได้ทางเศรษฐกิจและสังคมกว่า 37,000 ล้านบาท
การปรับแผนลงทุนอีอีซีในระยะ 5 ปีข้างหน้า (ปี 2565-2569) มีเป้าหมายส่งเสริมการลงทุนให้ได้มากกว่าเป้าหมายเดิม จากแผนฉบับแรกของอีอีซี (2561-2565) ที่กำหนดเงินลงทุนไว้ 1.7 ล้านล้านบาท ปัจจุบัน เกิดการลงทุนแล้ว รวม 1,605,241 ล้านบาท หรือคิดเป็น 94% คาดว่าสิ้นปี 2564 จะมีการลงทุนตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยแผนลงทุนอีอีซีระยะ 2 จะเน้นขับเคลื่อนต่อยอดและเร่งรัดการลงทุนด้วยการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และวิจัยพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ มีวงเงินลงทุนรวมประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่
1) ต่อยอดโครงสร้างพื้นฐานจากเมืองการบินภาคตะวันออก การพัฒนาพื้นที่ 30 กม. รอบสนามบิน และพัฒนาพื้นที่รอบสถานีหลักรถไฟความเร็วสูงฯ (TOD)
2) ดึงดูดอุตสาหกรรมเป้าหมาย แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ (1) การลงทุนในระดับฐานปกติ และ (2) การลงทุนส่วนเพิ่มที่เน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (EV) ดิจิทัล การแพทย์สมัยใหม่ การขนส่งโลจิสติกส์ เกษตรสมัยใหม่และอาหาร ภายใต้บริบทเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (BCG)
3) ยกระดับชุมชนและประชาชน เร่งพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนระดับหมู่บ้าน พัฒนาตลาดสด/ e-commerce สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ยกเครื่องการศึกษา สาธารณสุขพื้นฐาน สิ่งแวดล้อมและสาธารณูปโภคที่สะดวกสบายให้ชุมชน
แผนอีอีซีใน 5 ปีข้างหน้า จะทำให้มูลค่าการลงทุนในอีอีซี เพิ่มขึ้นกว่า 500,000 ล้านบาท/ปี (จากเดิม 300,000 ล้านบาท/ปี) ถือเป็นกลไกหลักช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโตเต็มศักยภาพ 4.5 – 5% ต่อปี และยังช่วยบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 พร้อมส่งผลให้ไทยพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ก้าวสู่ประเทศพัฒนาได้ในปี 2572 การพัฒนาเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน กับพื้นที่เศรษฐกิจอย่างไร้รอยต่อ ควบคู่การวางโครงข่ายดิจิทัลเพื่อดึงทุนเอกชน รองรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ที่จะมีการลงทุนในพื้นที่ปีละ 100,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ แผนงานบูรณาการในปี 2566 ตัวอย่างความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมของแผนงานบูรณาการ อีอีซี ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีการก่อสร้างและปรับปรุงทางหลวงและทางหลวงชนบท จำนวน 40 เส้นทาง ระยะทางรวม 554 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ การก่อสร้างสะพานชลมารควิถี 84 พรรษา เป็นแนวถนนโครงข่ายคมนาคมเลี่ยงเมืองเลียบ ชายฝั่งทะเลที่มีแนวขนานกับถนนสุขุมวิท จากตำบลบางทรายลงมาถึงตำบลเสม็ด และเป็นแลนด์มาร์กการท่องเที่ยว แห่งใหม่ ในเขตอำเภอเมืองชลบุรี สำหรับโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการคมนาคมทางน้ำ มีการพัฒนาท่าเรือจุกเสม็ด ด้วยการพัฒนาพื้นที่ธุรกิจและบริการ (Business Area) เชื่อมต่อพื้นที่ท่าเทียบเรือเฟอร์รี่ และท่าเทียบเรืออเนกประสงค์
นอกจากนี้ ยังมีการเตรียมพร้อมโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เพื่อดึงดูดและรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง และสร้างโอกาสการลงทุนธุรกิจเชิงพาณิชย์ มีการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมต้นแบบสู่การขยายผลเชิงพาณิชย์
คาดว่าจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชนประมาณ 12,000 ล้านบาท และก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมประมาณ 37,000 ล้านบาท เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ชุมชนในพื้นที่
อีกทั้ง การติดตั้งท่อ-เสา-สาย ด้านสัญญาณเต็มทั้งพื้นที่ อีอีซี รวมทั้งติดตั้ง 5G Smart Pole เพื่อเชื่อมต่อสัญญาณและรับส่งข้อมูลบริการต่าง ๆ นำร่องในพื้นที่บ้านฉาง ด้วยความร่วมมือระหว่าง รัฐ – ท้องถิ่น – เอกชน สัดส่วน 40-30-30 เพื่อไปสู่ “ต้นแบบบ้านฉาง Smart City” เป็นการสร้างเมืองน่าอยู่อัจฉริยะที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม
สำหรับการอยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตที่ดีในพื้นที่ อีอีซี ควบคู่ไปกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ด้านสาธารณสุข มีการยกระดับบริการให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล พัฒนาระบบการแพทย์ครบวงจร โดยไม่ต้องส่งต่อผู้ป่วยเข้ากรุงเทพ รวมทั้ง การพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมด้านสาธารณสุข โดยมุ่งเน้นความร่วมมือในการลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เป็นการพัฒนาพื้นที่ที่มุ่งเน้นความสมดุลและยั่งยืนอย่างแท้จริง
สำหรับการขับเคลื่อนแผนงานบูรณาการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มุ่งเน้น “การต่อยอดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างบูรณาการและยั่งยืน”สกพอ. ได้ โดยกำหนดกำหนดเป้าหมายการลงทุน 500,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นไปตามแผนการลงทุนอีอีซีในระยะ 5 ปีข้างหน้า (ปี 2565-2569) ของ สกพอ. ที่ปรับเป้าหมายการลงทุนเป็น 2.2 ล้านล้านบาทต่อปี โดยในปี 2566 ได้กำหนดแนวทางสำคัญภายใต้แผนงานบูรณาการ 4 แนวทาง 4 แนวทางตามภารกิจที่สำคัญ ที่เชื่อมโยงส่งต่อการดำเนินงานร่วมกันในลักษณะ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ได้แก่
1)ต่อยอดโครงสร้างพื้นฐานระบบสาธารณูปโภค และระบบดิจิทัล เชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานกับพื้นที่เศรษฐกิจอย่างไร้รอยต่อ ควบคู่การวางโครงข่ายดิจิทัลเพื่อดึงทุนเอกชน รองรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
2)พัฒนาและยกระดับบุคลากร การศึกษา วิจัย และนวัตกรรม หลอมรวมการศึกษา พัฒนาทักษะบุคลากร สู่การปฏิบัติงานจริงในภาคอุตสาหกรรม และพัฒนาพื้นที่นวัตกรรม รองรับการวิจัยชั้นนำ พร้อมขยายผลเชิงพาณิชย์พัฒนานาเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน พลิกฟื้นเศรษฐกิจ สร้างระบบนิเวศเมืองด้วยการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน เกษตรอัจฉริยะ สาธารณสุข เมืองน่าอยู่ และสิ่งแวดล้อม
3)ดึงดูดการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ผลักดันการลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนการลงทุนเศรษฐกิจหมุนเวียน เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้เศรษฐกิจเติบโตได้ในระยะยาว
4)จากการขับเคลื่อนแผนงานบูรณาการ อีอีซี อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 แผนงานบูรณาการฯ ถือเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาพื้นที่อีอีซี ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานต่าง ๆ ให้เป็ให้เป็นไปในทิศทาง และเป้าหมายเดียวกัน เพื่อให้เกิดการลงทุนจากภาครัฐและภาคเอกชน ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง) และพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการขยายตัวของ GDP ทั้งในระดับพื้นที่และในภาพรวมของประเทศ
เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนทุกกลุ่ม เกิดการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน ทั้งด้านอุตสาหกรรมเป้าหมาย 12 อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ตามแนวคิด “การตลาดนำการผลิต” การท่องเที่ยวคุณภาพสูงที่มีการกระจายรายได้ไปยังชุมชนต่าง ๆ ทั่วถึง การพัฒนาการศึกษาด้วยแนวคิด Demand Driven ที่มุ่งตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมทั้งการพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดีและระบบสาธารณสุขที่พร้อมให้บริการอย่างเต็มศักยภาพ ช่วยให้ประเทศไทยสามารถหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง กลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างแท้จริง