จุฬาฯ เยี่ยมชมหม้อแปลงซับเมอร์ส Low Carbon “เจริญชัย” ก่อนดัน “สยามสแควร์”
“สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เยี่ยมชม การทดสอบ “หม้อแปลงซับเมอร์ส” Low Carbon เจริญชัยฯ” ที่แรงต้านน้ำ 3 เมตร ตามมาตรฐาน IEEE Std.C57.12.24 ที่จะทำการติดตั้ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาพื้นที่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) เพิ่มจุด Check in แห่งแรกของประเทศไทย ให้นักท่องเที่ยว เที่ยวชม และเป็นแหล่งให้ความรู้ด้านไฟฟ้า ความมั่นคง ปลอดภัยและประหยัดพลังงาน (IoT) อันทันสมัยในการนำสายไฟฟ้าลงดินทั้งระบบ เพื่อการสร้างทัศนีย์ภาพใหม่ในพื้นที่”
นายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทเจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด เปิดเผยว่า ตามที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัทเจริญชัยหม้อแปลง ไฟฟ้า จำกัด ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ และมีพิธีรับมอบหม้อแปลงซับเมอร์ส Low Carbon เจริญชัย “Sustainable Energy Management with IoT based Submersible Transformer” ให้กับจุฬาฯ เพื่อสร้างทัศนียภาพอันสวยงาม รวมถึงการการจัดการความมั่นคงด้านพลังงาน ตามนโยบายการเพิ่มศักย์ภาพ เมือง SMART CITY ของกรุงเทพมหานคร เพื่อยกระดับเป็นมหานครแห่งอาเซียน เป็นเมืองท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เกิดความสวยงาม เพื่อการนำระบบไฟฟ้าลงดินทั้งระบบ รวมทั้งหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อการสร้างทัศนีย์ภาพอันสมบูรณ์ เพื่อสร้างแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ สร้างระบบไฟฟ้าที่มีความมั่นคง สร้างความปลอดภัยอัคคีภัย ประชาชน ในเขตพื้นที่ สยามสแควร์ ไปแล้วนั้น
บริษัท เจริญชัยฯ ได้ให้การต้อนรับ นายสมบัติ วนิชประภา ที่ปรึกษาโครงการ Smart city สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะกรรมการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการเยี่ยมชมการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้าซับเมอร์ส Low Carbon และระบบบริหารจัดการพลังงาน (Real time) ที่มีความทันสมัย ก่อนการติดตั้งในพื้นที่จริง ซึ่งการทดสอบหม้อแปลง ในแรงต้านน้ำ 3 เมตร ตามมาตรฐาน IEEE Std.C57.12.24 ของหม้อแปลงซับเมอร์ส Low Carbon ที่จะทำการติดตั้ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาพื้นที่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ที่จะเพิ่มจุด Check in และ ให้ความรู้ด้านไฟฟ้า ความมั่นคง ปลอดภัยและประหยัดพลังงาน (IoT) ทันสมัย พร้อมทั้งเป็นจุด Check in แห่งแรกในประเทศไทย
“วัตถุประสงค์ในการทดสอบ และการส่งมอบหม้อแปลงซับเมอร์ส Low Carbon ครั้งนี้ ทางบริษัทฯ จะเข้าไปเสริมสร้างระบบสายไฟฟ้าใต้ดินให้แบบสมบูรณ์ที่สุด หลังจากดำเนินการแล้วเสร็จจะไม่เห็นสายไฟฟ้า สายสื่อสารบนดิน ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงความปลอดภัย ทัศนียภาพ เท่านั้นยังจะเป็นการช่วยเพิ่มความทันสมัยให้กับสยามสแควร์ โดยนำเทคโนโลยี IoT ในการควบคุมแรงดันให้เกิดเสถียรภาพ ทำให้การปล่อยกระแสไฟฟ้าเกิดความมั่นคง เมื่อไฟฟ้ามั่นคงการผลักดันให้เกิดเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ที่ทันสมัยยั่งยืนต่อไปด้วย อนาคตสยามสแควร์จะเป็นแลนด์มาร์ค กลายเป็นจุดเช็คอินนำร่องที่จะดึงดูดประชาชนหรือนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวแห่งนี้ว่าเมื่อมาแล้วระบบไฟฟ้าบ้านเรามีความปลอดภัยสูงมากและมีความทันสมัย ตลอดทั้งมีความมั่นคงของระบบไฟฟ้า จากนั้นจะนำระบบคิวอาร์โค้ดในการสื่อสารความปลอดภัยพื้นฐานของระบบสายใต้ดินและองค์ความรู้ของระบบสายใต้ดินเผยแพร่ให้ประชาชนรับทราบ”