รัฐบาลหนุนเศรษฐกิจลาวโต 7% ปีหน้า
รัฐบาลลาวคาดการณ์ว่าจะสามารถทำให้เศรษฐกิจของลาวเติบโตได้อย่างน้อย 7% ในปี 2561 ซึ่งเป็นตัวเลขในระดับเดียวกับที่คาดการณ์ไว้ของปีนี้ อ้างอิงจากข้อมูลของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการคลังของลาวกำลังร่างแผนงบประมาณสำหรับปี 2561 ซึ่งจะถูกยื่นเสนอต่อสมัชชาแห่งชาติในการประชุมครั้งหน้าที่มีกำหนดจะจัดขึ้นในเดือนต.ค.เพื่อให้มีการอภิปรายถึงรายละเอียดและอนุมัติแผนเพื่อให้บรรลุตามเป้าที่วางไว้ ทางกระทรวงจับตาการจัดเก็บรายได้โดยรวมจำนวน 266.18 ล้านล้านกีบ
ซึ่งคิดเป็น 18.72% ของจีดีพี เพิ่มขึ้นจากเดิม 239.41 ล้านล้านกีบที่คาดการณ์ไว้สำหรับปีนี้
โดยนายสมดี ดวงดี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของลาวได้เผยถึงคำแนะนำในการกำหนดแผนการร่างงบประมาณซึ่งจะช่วยด้านรายได้และมีเป้าหมายในการใช้จ่าย
อ้างอิงจากการรายงานของกระทรวง คาดการณ์ว่าตัวเลขจะอยู่ที่ 266.18 ล้านล้านกีบ ซึ่งเป็นไปตามเป้า รวมถึงความช่วยเหลือครั้งใหญ่
จากเป้ารายได้รวมที่ตั้งไว้ รายได้ในประเทศของลาวจะสูงไม่น้อยกว่า 230.28 ล้านล้านกีบ เพิ่มขึ้นจากเดิมคือ 214.63 ล้านล้านกีบซึ่งเป็นตัวเลขคาดการณ์สำหรับปี 2560 นี้
ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าค่าใช้จ่ายของปี 2561 จะสูงถึง 333.20 ล้านล้านกีบ หรือคิดเป็น 23.43% ของตัวเลขจีดีพี เพิ่มขึ้นจากเดิม 324.02 ล้านล้านกีบที่ตั้งเป้าไว้สำหรับปี 2560 นี้
การขาดทุนเงินงบประมาณสำหรับปี 2561 ถูกกำหนดไว้เพียง 67.02 ล้านล้านกีบ ลดลงจาก 84.61 ล้านล้านกีบในแผนงบประมาณของปี 2560 นี้
อ้างอิงจากคำแนะนำ การใช้จ่ายของปีหน้าจะผูกติดกับความสำคัญยิ่งใหญ่ที่จะบริหารการใช้จ่ายอย่างประหยัดตามคำสั่งมาตรา 9 ของนายกรัฐมนตรีในเดือนพ.ค.ปี 2561 เกี่ยวกับการใช้จ่ายอย่างประหยัดของหน่วยงานภาครัฐ
หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแล ถูกสั่งให้ใช้จ่ายงบประมาณกับเงินเดือนและเงินสนับสนุนสำหรับข้าราชการก่อน และให้แน่ใจว่าอยู่บนพื้นฐานตัวเลขจริงเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้จ่ายซ้ำซ้อนในทุกกรณี
แผนงบประมาณปี 2561 ถูกกำหนดขึ้นเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจมหภาคและงบประมาณของประเทศ โดยรัฐบาลจะหลีกเลี่ยงการสร้างภาระหนี้ใหม่ ขณะที่จะชำระเงินและลดจำนวนหนี้เดิมลง อ้างอิงจากกระทรวง ทั้งนี้ มีการตั้งเป้าไม่ให้อัตราเงินเฟ้อสูงกว่า 5% เพื่อให้แน่ใจว่าอัตราการแลกเปลี่ยนจะยังอยู่ในระดับที่จัดการได้
โดยแผนการใช้จ่ายปี 2561 อยู่บนพื้นฐานของศักยภาพในการจัดเก็บรายได้และการจัดลำดับความสำคัญของแต่ละภาคส่วนเพื่อให้มีการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ในกรอบที่เข้มงวดของนายกรัฐมนตรี.