ธนาคารในสิงคโปร์ทยอยปลดพนักงานออก
นายตัน (นามสมมติ) พนักงานธนาคารชาวสิงคโปร์ฉลองตรุษจีนอย่างวุ่นวายใจ เนื่องจากธนาคารบาร์คลีย์ส์ สิงคโปร์เริ่มทยอยปลดพนักงานออก
โดย นายตัน ให้ข้อมูลว่า มีเพื่อนร่วมงานประมาณ 70 คนที่ถูกปลดออกจากงานในเดือนที่แล้ว เนื่องจากธนาคารบาร์คลีย์ส์ ซึ่งเป็นธนาคารสัญชาติอังกฤษมีนโยบายเลิกจ้างพนักงานทั่วโลก 1,000 ตำแหน่ง ตัวเขาเองยังคงกังวลอยู่ว่าอาจจะมีการปลดเพิ่มขึ้นอีก
โดย นายตัน สะท้อนให้เห็นถึงความไม่แน่นอนที่ปกคลุมภาคธนาคารในสิงคโปร์อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีชาวสิงคโปร์ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมการเงินการธนาคารนี้มากถึง 200,000 คน แต่ละคนต่างกังวลถึงอนาคตของตัวเอง ท่ามกลางข่าวการโละพนักงานและการปรับขนาดองค์กรให้เล็กลง
ก่อนหน้านี้ ช่วงปลายปี 2558 ธนาคารแสตนดาร์ดชาร์เตอร์ได้เลิกจ้างพนักงานจำนวนหนึ่งในสิงคโปร์ เนื่องจากธนาคารมีนโยบายปลดพนักงานทั่วโลก 15,000 ตำแหน่ง ในเดือนก.ค. ปีที่แล้ว ธนาคารรอยัลแบงค์ออฟสก็อตแลนด์ ลดขนาดธุรกิจลงด้วยการโละพนักงานออกหลายร้อยคน
นอกจากนี้ บริษัทเครดิตสวิส ได้ประกาศว่า จะเลิกจ้างพนักงาน 4,000 ตำแหน่งทั่วโลก คาดการณ์ว่าจะยังไม่มีการปลดพนักงานในภูมิภาคเอเชีย- แปซิฟิก แต่ดูเหมือนจะแน่นอนแล้วว่า ภาคธนาคารในสิงคโปร์จะต้องถูกเลิกจ้างในปีนี้
เหตุผลที่ว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในสิงคโปร์สูงจึงยากที่จะตัดสินว่า ข้อกำหนดในการลงทุนที่เข้มงวดและลมปะทะในตลาดส่งผลทำให้รายได้ลดลงพนักงานธนาคารที่ปฏิเสธจะให้ชื่อจริงกล่าวว่า “นี่เป็นช่วงเวลาท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมธนาคารทั่วโลก โดยเฉพาะธนาคารยุโรป เนื่องจากหลักเกณ์การกำกับดูแลสถาบันการเงิน Basel III ที่เข้มงวด ต้นทุนในการระดมทุนเพิ่มขึ้นจาก 6-8% เป็น 22-25% ที่สำคัญธนาคารทำธุรกิจได้แค่ 1 ใน 3 จากที่เคยทำได้เดิม” นี่เป็นสัญญาณที่ไม่ดีนักสำหรับสิงคโปร์ ที่อัตราค่าแรงเฉลี่ยต่อคนต่อปีในอุตสาหกรรมธนาคารปรับเพิ่มจาก 63,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 2,205,000 บาทในปี 2556 มาเป็น 124,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 4,340,000 บาทในปี 2558
พนักงานธนาคารให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “ที่ผ่านมา คนสิงคโปร์มักจะได้รับตำแหน่งบริหารและตำแหน่งรองลงมาค่อนข้างมาก แต่ปัจจุบัน ตำแหน่งงานพวกนี้ย้ายไปที่ฟิลิปปินส์และอินเดีย ซึ่งค่าจ้างรองประธานที่ประเทศเหล่านั้น 4 คน เท่ากับค่าจ้างคนเดียวที่สิงคโปร์”
ศาสตราจารย์แอนนี่ โคห์ อาจารย์ประจำภาควิชาธนาคาร มหาวิทยาลัยบริหารแห่งสิงคโปร์ ให้ความเห็นว่า ถ้าตลาดการลงทุนยังคงผันผวน ตำแหน่งงานในธนาคารระดับกลางในสิงคโปร์ก็จะค่อยๆหายไป“ส่วนมากพนักงานชาวสิงคโปร์ในธนาคารระดับกลางมักจะทำงานเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ที่เฉพาะเจาะจง เช่น กองทุนจีนและตราสารทุนในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ดังนั้น ในตำแหน่งต่ำกว่านั้น ธนาคารยังคงต้องการพนักงานประจำเคาน์เตอร์อยู่”