ดูแล้ว: 290 อลิอันซ์รายงานความมั่งคั่งทั่วโลก เผยสินทรัพย์ทางการเงินทั่วโลกลดลงในปี 61 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วิกฤตทางการเงิน ระบุความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งของสินทรัพย์ ระหว่างประเทศยากจนและร่ำรวย ถ่างตัวเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่สินทรัพย์ทางการเงินของไทยขยายตัวน้อยที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตทางการเงิน ชี้ความมั่งคั่งของสิงคโปร์แซงหน้าญี่ปุ่นแล้ว กลุ่มอลิอันซ์ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต รายงานความมั่งคั่งทั่วโลก โดยเฝ้าจับตาสถานการณ์สินทรัพย์และหนี้สินภาคครัวเรือนในกว่า 50 ประเทศ/ภูมิภาคอย่างใกล้ชิด บ่งชี้ว่าสินทรัพย์ทางการเงินในปี 61 ในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมและประเทศ/ ภูมิภาคเกิดใหม่ลดลงพร้อมกันเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ นักออมเงินทั่วโลกกำลังอยู่ในภาวะลำบากเนื่องจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น รวมถึงการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (Brexit) ความตึงเครียดทางการเมือง และความเข้มงวดของเงื่อนไขทางการเงินและการปรับปรุงบรรทัดฐานนโยบายทางการเงิน (ที่ประกาศออกมา) ตลาดหุ้นตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทำให้ราคาหุ้นทั่วโลกลดลงประมาณ 12% ในปี 61 ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการเติบโตของสินทรัพย์ สินทรัพย์ทางการเงินขั้นต้นภาคครัวเรือนลดลง 0.1% และยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ระดับ 172.5 ล้านล้านยูโร (ประมาณ 5,886 ล้านล้านบาท) ด้าน ไมเคิล ไฮซ์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกลุ่มอลิอันซ์ กล่าวว่า “ความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น กำลังก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ การรื้อระบบระเบียบทางเศรษฐกิจโลกเป็นผลเสียต่อการสะสมความมั่งคั่ง ซึ่งเห็นได้ชัดจากตัวเลขการเติบโตของสินทรัพย์ สถานการณ์การค้าในปัจจุบัน ไม่ใช่ทุกคนจะเป็นฝ่ายชนะ หรือทั้งหมดจะเป็นฝ่ายแพ้เหมือนในอดีต เหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว การปกป้องทางการค้าที่รุนแรงจะไม่มีผู้ชนะ” นอกจากนี้ การเติบโตของสินทรัพย์ทางการเงินของประเทศไทยหยุดชะงัก เห็นได้จากสินทรัพย์ทางการเงินรวมของภาคครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 0.8% ในปี 61 ซึ่งเป็นการเติบโตที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตทางการเงินในปี 51 โดยเมื่อ 2 ปีก่อน อัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 9% ส่วนใหญ่เป็นผลพวงมาจากมูลค่าหลักทรัพย์ที่ลดลงอย่างฮวบฮาบถึง 6.6% ภาคการประกันภัยและเงินบำนาญก็มีอัตราการเติบโตที่น่าผิดหวังเช่นกัน โดยขยับขึ้นเพียง 3.2% ในปี 61 ซึ่งถือเป็นการเติบโตที่น้อยที่สุดในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ขณะที่เงินฝากของภาคธนาคารเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งมากถึง 4.8% เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ขณะที่การเติบโตของหนี้สินขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 6.0% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2557 ดังนั้น อัตราส่วนหนี้สินภาคครัวเรือนได้พุ่งสูงขึ้นถึง 78.4% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งภูมิภาคที่ 52.4%...
อ่านต่อ