FWDทุ่มงบอัพเกรดองค์กร-บริการสกัดแฮ็กเกอร์
1 min read
ดูแล้ว: 40 เอฟดับบลิวดีทุ่มเงินกว่า 500 ล้าน ยกระดับดิจิทัลเทคโนโลยี หวังขึ้นแท่นเบอร์ 1 ธุรกิจประกันชีวิต เชื่อจากนี้ประสิทธิภาพขององค์กรและงานบริการสูงขึ้น ตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่ม ชี้ภัยแฮกเกอร์รุกข้อมูลรักษาอาการป่วยและการชำระเงินน่ากลัวสุด เผยดึงเทคโนโลยีป้องกันและมืออาชีพจากต่างประเทศมาช่วยสกัดภัยไซเบอร์แล้ว นายอภิรักษ์ จิตรานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานเทคโนโลยีและปฏิบัติการ บมจ.เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต เปิดเผยว่า บริษัทแม่ได้ลงทุนด้านดิจิทัลเทคโนโลยีกว่า 500 บาท ในช่วง3 ปีนี้ (2561-2563) ให้กับบริษัทฯ โดยเน้นลงทุนในปีนี้หน้ากว่า 50% ของงบลงทุนทั้งหมด ทั้งนี้ บริษัทฯมุ่งหวังจะก้าวสู่ความเป็นผู้นำในด้านนี้ ซึ่งงบดังกล่าวรวมถึงการยกระดับการป้องกัยจากแฮกเกอร์ที่อาจเข้ามาเจาะข้อมูลด้านการประกันภัยทั้งของบริษัทฯและลูกค้า เนื่องจากที่ผ่านมา บริษัทประกันภัยทุกแห่งซึ่งเป็นอีกสายงานหนึ่งของสถาบันการเงิน ต่างถูกเจาะข้อมูลทั้งของบริษัทและของลูกค้า เพียงแต่แฮกเกอร์ทำอะไรได้ไม่มากนัก โดยบริษัทฯได้ลงทุนด้านนี้เยอะมาก รวมถึงทำการดึงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจากต่างประเทศมาช่วยในการดำเนินงานอีกด้วย “เรื่องข้อมูลประกันภัยของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญมาก ส่วนหนึ่งเพราะเราเน้นลูกค้าส่วนบุคคล แต่สำคัญกว่านั้นคือ หากข้อมูลหรือประวัติการรักษาพยาบาล อาการเจ็บป่วย การชำระเงิน ฯลฯ รวมถึงข้อมูลบัตรเครดิตที่ลูกค้าใช้ชำระเงิน หลุดไปถึงมือกลุ่มมิจฉาชีพ เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าความเสียหายที่อาจจะมีตามมาคืออะไร และจะมากมายสักแค่ไหน ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือป้องกันไว้ก่อน” นายอภิรักษ์ และว่า จากนี้เชื่อว่าบริษัทประกันชีวิตคงแข่งขันด้านการลงทุนเกี่ยวกับดิจิทัลเทคโนโลยีกันอย่างรุนแรง แต่ภาพรวมจะเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าและธุรกิจประกันภัย นอกจากนี้ บริษัทฯยังหวังจะยกระดับการให้บริการที่ดีแก่ลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กร รวมถึงการทำงานของพนักงานทุกระดับ ตลอดจนสร้าง “ห่วงโซ่แห่งคุณค่า” (Value Chain)ตั้งแต่การนำเสนอผลิตภัณฑ์ การพิจารณารับเบี้ยประกันภัยการชำระเบี้ย และการบริหารหลังการขาย โดยมุ่งสู่ความสำเร็จ 5 ด้าน คือ 1.ให้ลูกค้าเข้าถึงข้อมูลความคุ้มครอง หรือมูลค่ากรมธรรม์ได้โดยเร็ว ลูกค้าสามารถเพิ่มเติมความคุ้มครอง หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรมธรรม์ได้ดวยตัวเอง 2.มุ่งเปลี่ยนประสบการณ์สร้างความประทับใจและเข้าใจในตัวสินค้ามากขึ้น ใกล้ตัวลูกค้ามากขึ้น 3.สนับสนุนฝ่ายขายและการตลาดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รองรับความต้องการลูกค้าทุกกลุ่มและลูกค้ามุ่งหวัง โดยใช้เทคโนโลยีมาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเข้าใจแนวโน้มและทิศทางของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม 4.นำเทคโนโลยีการวิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูลที่ทันสมัยมาใช้ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจในคุณภาพการให้บริการและลดความผิดพลาดจากกระบวนการทำงาน และ 5.เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ด้วยการนำระบบอัจฉริยะเช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเครื่องมืออื่นๆ มาใช้ในการดำเนินงานและให้บริการครบวงจรในช่วงเวลาสั้นๆ ข้ามกรือตัดทิ้งขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออกไป... อ่านต่อ