ดูแล้ว: 113 ธนาคารไทยพาณิชย์ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นในการจัดแข่งขันแฮคกาธอนครั้งแรก The First Open Banking Hackathon เพื่อเสนอไอเดียสร้างนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ... อ่านต่อ
MONEY MOVEMENT
ดูแล้ว: 24 บลจ.ธนชาต เล็งเพิ่มทุนกองทุน T-MultiIncome อีก 5,000 ล้าน หลังเปิดขายรอบ... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 20 กรุงศรีคาดเงินบาทซื้อขายในกรอบ 30.30-30.65 มองกระแสเงินทุนผันผวนตามเศรษฐกิจโลก กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่ามีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 30.30-30.65 ต่อดอลลาร์เทียบกับระดับปิดแข็งค่าที่ 30.44 ต่อดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทย 6.6 พันล้านบาท และ 2.3 พันล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่เงินดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลักๆ หลังข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ สะท้อนภาวะชะลอตัวอย่างชัดเจนมากขึ้น กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ กรุงศรี มองว่า นักลงทุนจะจับตารายงานการประชุมนโยบายเดือนก.ย.ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ตัวเลขเงินเฟ้อและการเจรจาการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในวันที่ 10-11 ต.ค. รวมถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับทิศทาง Brexit โดยคาดว่ากระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายยังคงผันผวนท่ามกลางความไม่แน่นอนของแนวโน้มเศรษฐกิจการเงินโลก ล่าสุด ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ สดใสกว่าคาด แต่ตลาดมุ่งความสนใจไปที่ค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมงซึ่งเติบโตน้อยกว่าที่ประเมินไว้ โดยสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยบ่งชี้ว่านักลงทุนมองว่ามีโอกาสราว 80% ที่เฟดจะลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25% ในการประชุมนโยบายครั้งถัดไปในวันที่ 29-30 ต.ค. โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังดัชนีกิจกรรมภาคการผลิตและบริการสะท้อนแนวโน้มชะลอตัว ขณะที่ประธานเฟดกล่าวว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯอยู่ในเกณฑ์ดีแม้เผชิญความเสี่ยงบ้างและเฟดจะพยายามทำให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไปให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนสิงหาคม สูงถึง 3.99 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากการนำเข้า หดตัวลงอย่างมาก โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยแตะระดับต่ำสุดในไตรมาส 2 ไปแล้ว อย่างไรก็ดี ภาพรวมในเดือนสิงหาคมชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ายกเว้นด้านการท่องเที่ยวทางผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ธปท.เตรียมประกาศผ่อนคลายเกณฑ์เงินทุนไหลออกเพิ่มเติมภายในสิ้นปีนี้เพื่อสนับสนุนให้นักลงทุนไทยไปลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้นและให้ผู้ส่งออกมีความคล่องตัวในการเก็บเงินตราต่างประเทศไว้ ส่วนคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) พร้อมปรับดอกเบี้ยหากสถานการณ์ผิดไปจากที่ประเมินไว้ โดยประเด็นเศรษฐกิจโลกเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการพิจารณาปรับดอกเบี้ยนโยบาย อนึ่ง เราคาดว่า กนง.มีแนวโน้มจะลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25% ในปีนี้ ก่อนที่จะคงไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.25% ตลอดปี... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 19 ซิตี้ ขึ้นแท่นเบอร์หนึ่ง ‘ผู้นำดิจิทัลแบงก์กิ้ง’ เพื่อธุรกิจใน 17 ประเทศทั่วเอเชียแปซิฟิก พร้อมประกาศเดินหน้ากลยุทธ์ดิจิทัลโซลูชั่นครบวงจร ซิตี้ คว้าตำแหน่ง “ดิจิทัลแบงก์กิ้งสำหรับลูกค้าองค์กรและสถาบันยอดเยี่ยม” ประจำปี 2562 รวม17 ประเทศ รวมประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิก และรางวัล บริการระบบความปลอดภัยและบริหารความเสี่ยงยอดเยี่ยม โอเพ่นแบงก์กิ้งเอพีไอ และแพลตฟอร์มโมบายล์แบงก์กิ้งยอดเยี่ยม จากโกลบอลไฟแนนซ์ สื่อชั้นนำด้านการเงินและธนาคารของภูมิภาค พร้อมรุกกลยุทธ์ขยายดิจิทัลโซลูชั่น พัฒนาเครือข่ายด้านฟินเทค และพาร์ทเนอร์ชั้นนำ สร้างวงจรด้านการเงินดิจิทัลสำหรับลูกค้าอย่างสมบูรณ์แบบ อาทิ การพัฒนาบัตรเครดิตเฉพาะสำหรับใช้งานกับพาร์ทเนอร์เพย์ทีเอ็ม (Paytm) แพลตฟอร์มธุรกรรมออนไลน์ชื่อดังของประเทศอินเดีย รวมถึงการปล่อยบัตรเครดิตร่วมกับแกร๊บ (Grab) ในประเทศฟิลิปปินส์ พร้อมเตรียมต่อยอดสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค มร. ราเจส เมทา หัวหน้าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสายงานบริหารจัดการทางการเงินเพื่อธุรกิจ ธนาคารซิตี้แบงก์ กล่าวว่า ซิตี้ ได้รับการประกาศให้เป็น ธนาคารที่มีดิจิทัลแบงก์กิ้งสำหรับลูกค้าองค์กรและสถาบันยอดเยี่ยม ประจำปี 2562 จากโกลบอลไฟแนนซ์ สื่อชั้นนำด้านการเงินและธนาคารของภูมิภาค รวม 17 ประเทศ ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ ออสเตรเลีย บังกลาเทศ จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ศรีลังกา ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม มร.ราเจส กล่าวเพิ่มว่า ธนาคารฯ ยังได้รับรางวัลจาก 6 สาขาย่อย ได้แก่ สาขาบริหารเงินสดออนไลน์ยอดเยี่ยม สาขาบริการธุรกรรมต่างประเทศยอดเยี่ยม สาขาบริหารการเงินออนไลน์ยอดเยี่ยม สาขาโมบายล์แบงก์กิ้งยอดเยี่ยม สาขาแอปพลิเคชันโมบายล์แบงก์กิ้งยอดเยี่ยม และสาขาเอพีไอสำหรับโอเพ่นแบงก์กิ้งยอดเยี่ยม “ซิตี้ รู้สึกยินดีที่ได้รับรางวัลดังกล่าว จากการพัฒนาบริการดิจิทัล และนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์อย่างไม่หยุดยั้ง โดยทางธนาคารฯ เองวางแผนกลยุทธ์ในการขยายดิจิทัลโซลูชั่น พร้อมพัฒนาเครือข่ายด้านเทคโนโลยีการเงิน หรือฟินเทค เพื่อให้ซิตี้ เป็นทางเลือกหนึ่งในวงจรด้านการเงินดิจิทัลสำหรับลูกค้าอย่างสมบูรณ์แบบ” ในปีที่ผ่านมา สายงานบริหารจัดการทางการเงินเพื่อธุรกิจของซิตี้ ได้เริ่มใช้งาน CitiDirect BE(R) แพลตฟอร์มออนไลน์แบงก์กิ้ง ในกลุ่มลูกค้ากลุ่มสถาบันทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยแพลตฟอร์มดังกล่าว นำเอาระบบการพิสูจน์ตัวตนทางชีวภาพ หรือ Biometric... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 21 KTBST ชูกลยุทธ์กระจายรายได้บริหารความเสี่ยง ก้าวสู่ผู้นำให้บริการผลิตภัณฑ์ตลาดทุนและการเงินครบวงจร รับมือธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์แข่งขันรุนแรง มั่นใจผลงานไตรมาส 2/62 เติบโตต่อเนื่อง... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 23 วีซ่า ประกาศความร่วมมือกับเรเซอร์ เปลี่ยนโฉม วงการการชำระเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บูรณาการบริการแบบเติมเงินของวีซ่า เข้ากับ เรเซอร์... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 19 บลจ.ธนชาตชี้ กองทุนอสังหาฯ ยังน่าสนใจ โชว์จ่ายปันผล 3 กองอสังหาฯ ไทยเทศ... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 48 เมืองไทย Smile Club ย้ำจุดยืน “Happiness Means Everything”... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 14 วิจัยกรุงศรีปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2562 โต 3.2% จากผลกระทบสงครามการค้า วิจัยกรุงศรี ปรับลดคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 63 กสิกรไทยหนุนสรรพากร เปิดบริการออกใบกำกับภาษีและใบรับอิเล็กทรอนิกส์เป็นแบงก์แรก กสิกรไทยเตรียมเปิดบริการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt)... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 23 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย เตรียมเงินกว่า 80 ล้านบาท จ่ายปันผลกองทุน ABFTH ดีเดย์ 25 มิ.ย.นี้ นายชัชชัย สฤษดิ์อภิรักษ์ Chief Investment Officer (รองกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุน) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) เปิดเผยว่า บลจ.กสิกรไทยเตรียมจ่ายเงินปันผลกองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ (ABFTH) สำหรับผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2561 – 31 พฤษภาคม 2562 ในอัตรา 11.00 บาทต่อหน่วย ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีรายชื่อในสมุดทะเบียน ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2562 โดยมีกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 25 มิถุนายน 2562 รวมมูลค่าทั้งสิ้น 87.73 ล้านบาท... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 28 กรุงไทยออกตราสารเงินกองทุน ดอกเบี้ย 3.70% ต่อปี เพิ่มทางเลือกผู้ลงทุนสถาบันและรายใหญ่ ธนาคารกรุงไทยเตรียมขายตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุนประเภทที่ 2... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 18 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ เสิร์ฟทิสโก้ ไชน่า A-Shares อิควิตี้ รับอานิสงส์... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 68 กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ร่วมมือกับ SIX Network ออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ สำหรับนักสร้างสรรค์ดิจิทัล... อ่านต่อ
ดูแล้ว: 17 อีไอซีปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยของทั้งปี 2562 และ 2563 อยู่ที่ 2.8% จากสงครามการค้าที่ยืดเยื้อซึ่งส่งผลกระทบกระจายตัวจากภาคส่งออกและการท่องเที่ยวไปยังกำลังซื้อในประเทศชัดเจนมากขึ้น ในส่วนของที่อยู่อาศัย หดตัวและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดน้อยลง แนวโน้มการใช้จ่ายลดลง อย่างไรก็ดียังมีปัจจัยเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐมีการลงทุนในโครงการใหญ่ๆ ปีหน้ามีเม็ดเงินเข้ามา การขยายตัวในปีหน้า8% ส่วนปีนี้อยู่ที่4% สาวนนโยบายการคลัง มีนโยบายเติบโตมากขึ้น ด้าน ดร.ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด EIC ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2562 สาเหตุหลักจากสงครามการค้าที่ยังคงยืดเยื้อ รวมถึงผลกระทบสะสมของการตั้งกำแพงภาษีระหว่างจีนและสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมา เริ่มส่งผลเป็นวงกว้างมากขึ้นในหลายประเทศ โดยผลกระทบในระยะหลังไม่ได้กระจุกตัวเพียงแค่การผลิตภาคอุตสาหกรรม การค้าระหว่างประเทศ และการลงทุน แต่เริ่มกระจายตัวทำให้ภาคบริการชะลอลงอีกด้วย นอกจากนั้น ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (technical recession) ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยเฉพาะประเทศที่เศรษฐกิจพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศค่อนข้างมาก เช่น เยอรมนี ฮ่องกง และ สิงคโปร์ ซึ่งจากการที่เศรษฐกิจชะลอตัวและความเสี่ยงด้านต่ำสูงขึ้น ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกเริ่มกลับมาใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อประคับประคองการชะลอตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงหลายประเทศที่มีความสามารถในการทำนโยบายการคลัง (fiscal policy space) ก็เริ่มมีการออกมาตรการการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเช่นกัน ซึ่งจากปัจจัยข้างต้น อีไอซีประเมินว่า เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง และเมื่อรวมกับการแข็งค่าของค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศคู่ค้าและคู่แข่ง ก็จะทำให้ภาคการส่งออกและการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวในรูปของเงินบาทได้รับผลกระทบ ดังนั้น อีไอซีจึงมีการปรับลดประมาณการอัตราขยายตัวของมูลค่าส่งออกเป็นหดตัวที่ -2.5% ขณะที่ภาคท่องเที่ยว แม้จะคงคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวที่ 40.1 ล้านคน แต่มีการปรับลดประมาณการค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวของนักท่องเที่ยวตามการแข็งค่าของเงินบาท ด้านอุปสงค์ในประเทศ สัญญาณการชะลอตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะยอดขายที่อยู่อาศัยในภาคอสังหาริมทรัพย์และยอดขายรถยนต์ที่หดตัว ตามภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนตัวลงสะท้อนจากการจ้างงานที่หดตัวโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม รายได้ภาคการท่องเที่ยวและภาคเกษตรที่ซบเซา และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดต่ำลง รวมทั้งความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินจากสัญญาณคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงและมาตรการกำกับดูแลการให้สินเชื่อที่เข้มงวดขึ้น สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ประกาศในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา อีไอซีประเมินว่าจะมีผลช่วยพยุงการใช้จ่ายสินค้าไม่คงทนในช่วงที่เหลือของปี 2562 เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี ความล่าช้าของการผ่าน พรบ. งบประมาณปี 2563 จะกระทบต่อเม็ดเงินลงทุนภาครัฐในส่วนของโครงการใหม่ ... อ่านต่อ