เปิดมุมมอง ทิศทางอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยในอาเซียน
หลังจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย
มีการเปลี่ยนแปลงไปหลายทิศทาง ทุกสูตรมุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่า โดยทำความเข้าใจลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งมีเป้าหมายเดียวกัน คือ เพื่อให้ผู้ประกอบการอยู่รอดและสามารถแข่งขันได้ ในภาวะที่ต้นทุนสูงขึ้นจากปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ต้นทุนวัตถุดิบ และการย้ายฐานการผลิต ด้วยเหตุนี้ ทางสถาบันทีดีอาร์ไอ และ ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จในการทำตลาดในอาเซียน มาร่วมถ่ายทอดความรู้
กูรู .. .ถ่ายทอดเชื่อมโยงคลัสเตอร์อุตสาหกรรมแฟชั่นไทยกับอาเซียน
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า แนวทางหลักการเชื่อมโยงคลัสเตอร์อุตสาหกรรมแฟชั่นกับอาเซียน คือ การวาง Position ในตลาดและการผลิตให้สอดคล้องกับจุดแข็งของตนเองและประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการ และสินค้าแฟชั่น นั้นมีหลายกลุ่ม จำแนกประเภทได้ดังนี้ คือ ผู้ประกอบการกลุ่ม OEM กลุ่มที่ใช้ทักษะแรงงานต่ำ OEM กลุ่มที่ใช้ทักษะแรงงานสูง และ กลุ่ม ODM/ OBM
การพัฒนาในแต่ละกลุ่มแตกต่างกันออกไป เริ่มจากผู้ประกอบการในกลุ่ม OEM ใช้แรงงานทักษะต่ำ กลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบมากจากการปรับค่าแรง ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัว โดยต้องลดจำนวนลูกค้าที่มาว่าจ้างผลิต และหันมาผลิตสินค้าคุณภาพที่เป็นแบรนด์ของตนเอง รวมถึงหันมาใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยมาทดแทนแรงงานในประเทศที่ลดน้อยลงมาก
ทั้งนี้ ทางออกของกลุ่ม OEM มีด้วยกันหลายแนวทาง โดยอาจจะไม่ต้องย้ายฐานการผลิต เช่น การพัฒนาสินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐาน และ จากการผลิต OEM เป็น ODM การผลิตที่มีดีไซน์ และ OBM การสร้างแบรนด์ที่ยั่งยื่น ส่วนกลุ่มที่ผลิตเพื่อการส่งออกไปสหรัฐอเมริกา สามารถที่จะคงการผลิตในประเทศ โดยตั้งโรงงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เพื่อให้ได้สิทธิพิเศษทางภาษี หรือ ย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนผู้ผลิตวัตถุดิบ หรือ ผู้ปั่นด้าย แนะนำย้ายฐานไปเวียดนาม เนื่องจากมีกฎ Yarn Forward ของ TPP ในอนาคต เวียดนามกลายเป็นศูนย์กลางอาเซียนในส่งออกสิ่งทอไปสหรัฐอเมริกา ส่วนค่าจ้างแรงงาน ของประเทศเพื่อนบ้าน ก็ต้องพิจารณาให้ดี เพราะหลายประเทศมีแนวโน้มการปรับค่าแรงเพิ่มขึ้นตลอด เช่น เวียดนาม
ทีดีอาร์ไอ แนะแนวทางการทำตลาด ใน 4 ประเทศ อินโดนีเซีย เวียดนาม เมียนมาร์ และสิงคโปร์
เริ่มจากสินค้าแฟชั่นแบรนด์ไทยในอินโดนีเซีย ยังไม่เป็นที่รู้จัก และการแข่งขันสูงจากแบรนด์ในประเทศตะวันตก แต่ในส่วนของสินค้าแฟชั่นจากประเทศไทย มีจำหน่ายแล้ว เพราะมีห้างสรรพสินค้าของไทย อย่าง เซ็นทรัลไปเปิดสาขา ก็นำสินค้าแฟชั่นจากไทยเข้าไปขายด้วย การลงทุนในเวียดนามยังมีปัญหา เพราะเวียดนาม มีข้อกฎหมายจำกัดการลงทุนจากต่างชาติ ไม่อนุญาตให้นักลงทุนครอบครองที่ดิน ระบบสาธาณูปโภค ก็ยังไม่พร้อมในบางเมือง ต้องเลือกลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม หรือ ลงทุนในส่วนตอนกลาง และทางตะวันออกของเกาะชวา
ประเทศที่ 2 เวียดนาม เป็นประเทศที่มีแรงงานจำนวนมาก และราคาค่าแรงไม่สูง เวียดนามมีข้อได้เปรียบเพราะเขาได้เข้าร่วม TPP ทำให้ผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มอาจจะต้องย้ายฐานการผลิตเพื่อให้ได้ใช้สิทธิ์ดังกล่าว เวียดนามยังมีการขยายตัวของชนชั้นกลางอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ความต้องการบริโภคสินค้าคุณภาพมีมากขึ้น กฎหมายของเวียดนามกำหนดให้นักลงทุนต่างชาติขยายสาขาได้เพียงแห่งเดียว ดังนั้น ถ้าจะลงทุนในเวียดนาม แนะนำให้เป็นลักษณะของแฟรนไชส์
ประเทศที่ 3 สิงคโปร์ ไม่เหมาะสมกับการเป็นฐานการผลิต เพราะค่าแรงสูง ไม่มีวัตถุดิบ กำลังซื้อสูง แต่การแข่งขันสูง ทำตลาดสิงคโปร์ ควรใช้ช่องทาง E-commerce ส่วนการขายสินค้าสิงคโปร์ ต้องสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งก่อน เนื่องจากการแข่งขันสูง สินค้าควรจะเป็นNiche ไม่เป็น Mass และสุดท้าย ประเทศเมียนมาร์ เป็นประเทศ ค่าแรงต่ำ มีแรงงาน และวัตถุดิบ จำนวนมาก และยังประเทศที่ได้รับการยกเว้นภาษี เหมาะสำหรับนักลงทุนที่จะย้ายฐานการผลิต ตลาดเมียนมาร์ เป็นตลาดที่เริ่มมีชนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้น และเป็นประเทศที่มีการปรับตัว และความเจริญเข้ามาอย่างรวดเร็วในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา
สำหรับเป้าหมายของอุตสาหกรรมแฟชั่นสิ่งทอไทยในอาเซียน คือ ไทยต้องการจะเป็นศูนย์กลางแฟชั่นอันดับหนึ่งในอาเซียนในปี 2560 เพิ่มมูลค่าส่งออกของอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย เป็น 1 ล้านล้านบาท ในปี 2560 จาก 6.2 แสนล้านบาท ในปี 2558
ผู้เชี่ยวชาญ… แนะโอกาสทางธุรกิจแฟชั่นไทยในอาเซียน
นายถาวร กนกวลีวงศ์ นายกสมาคมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวว่า ปัจจุบัน ตนเองทำธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก นำเข้า และผลิต เสื้อผ้าในย่านเยาวราชมานานกว่า 30 ปี เมื่อในอดีตประมาณ 20 ปี การทำตลาดไม่ยากแค่มีแบรนด์ก็ขายได้สบายๆ พอมา วันนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะการสร้างแบรนด์ OBM ต้องเรียนรู้ เพื่อทำให้สินค้าเป็นยอมรับ ทุกอย่างต้องเดินไปพร้อมๆ กัน ทั้งการผลิต การดีไซน์ การวางตำแหน่งสินค้า และการเซ็ทโมเดล โดยรัฐบาลต้องมาช่วยเหลืออย่างจริงจังในการทำกิจกรรม เพื่อผลักดันการสร้างแบรนด์ไทยอย่างต่อเนื่อง เพราะการสร้างแบรนด์ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เงินจำนวนมาก เอสเอ็มอี รายเล็กมีเงินทุนไม่เพียงพอในการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศ
นายบีไยกุมาร ปานเดย์ Internation Brand Manager บริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตชุดชั้นใน ซาบีน่า กล่าวว่า ทำโรงงานผลิตชุดชั้นใน ประมาณ 30 ปี ในแบบ OEM หรือรับจ้างผลิตมาตลอด แต่ปัญหาของการรับจ้างผลิต คือ ในขณะที่พัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพในระดับไฮเอ็นเพิ่มขึ้น ตามความต้องการของลูกค้า แต่ราคากลับลดลงตลอด ซึ่งไม่ตอบโจทย์สิ่งที่เราลงทุนไป และคู่แข่งขันซึ่งเป็นผู้ผลิตในประเทศเพื่อนบ้านที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่า เริ่มมีมากขึ้น สุดท้ายขอหยุดทำ OEM หันมาผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ของตนเอง เมื่อ 10 ปีที่ผ่าน ภายใต้แบรนด์ ซาบีน่า
ทั้งนี้ การทำแบรนด์ให้แข็งแกร่ง ก็จะต้องเริ่มจากทำตลาดในประเทศไทยให้แข็งแรงก่อน ตอนนั้นมองเห็นช่องว่างในตลาด ยังไม่มีใครทำชุดชั้นในแบบดันทรงในแบบที่วัยรุ่นต้องการ ก็เริ่มมาโฟกัสที่ลูกค้ากลุ่มนี้ ซึ่งก็ไม่ผิดหวัง ก่อนที่จะขยายตลาดไปยังกลุ่มเด็ก ซึ่งก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีหลังจากนั้น เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา รู้ว่าเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC ในอีก 5 ปีข้างหน้า เริ่มโฟกัสไปที่ประเทศอาเซียน โดยตั้งเป้าว่าจะต้องเติบโตในตลาดอาเซียนให้ได้ก่อนเปิด AEC เริ่มที่ ประเทศเมียนมาร์ และเวียดนาม ก่อนที่จะขยายไปยังประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศในอาเซียน เอเชีย และยุโรป
สำหรับ การทำตลาดในอาเซียนและไทย ไม่ได้ต่างกันมากนัก เพราะไลฟ์สไตล์คล้ายกัน กำลังซื้อแต่ละประเทศแตกต่างกันไปบ้าง ดังนั้น ก็ต้องมีการวางแผนที่ดี คือ ต้องเข้าไปในทุกช่องทางที่จะเข้าถึงลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการขายผ่านตัวแทน การขายในห้างสรรพสินค้า และอีคอมเมิร์ซ ออนไลน์ ซึ่งการทำตลาดในอาเซียน มีเรื่องที่โชคดีของผู้ประกอบการไทยอยู่หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้สื่อมีเดีย เพราะประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ลาว กัมพูชา ดูสื่อ ดูละครจากประเทศไทย ซึ่งการใช้แบรนด์แอมบาสเดอร์ ดาราดัง ช่วยได้ เช่นเดียวกับในประเทศไทย
ทั้งนี้ ในส่วนการใช้สื่อออนไลน์เป็นช่องทางหนึ่ง ที่มองข้ามไม่ได้ เพราะผู้บริโภคมีใช้กันมากขึ้น สังเกตได้จากยอดขายในห้างฯเริ่มลดลง เพราะมีลูกค้าหลายคน ที่เห็นสินค้าของเราในห้างฯแต่พอซื้อจริงๆ กลับมาซื้อผ่านออนไลน์ เพราะอาจจะได้สินค้าที่ราคาถูกกว่า และมีเวลาเลือกสินค้าได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องโดนกดดันจากผู้ขาย ส่วนประเทศที่มีการใช้สื่อออนไลน์มากที่สุด ต้องยกให้กับ เวียดนามมีคนที่ใช้สื่อออนไลน์มากกว่า 120 ยูสเซอร์ ส่วน เลาว กัมพูชา ยังน้อยอยู่ ในขณะที่ตลาดเมียนมาร์ เป็นตลาดที่น่าสนใจ มีการใช้สื่อออนไลน์เพิ่มขึ้น และรายได้เริ่มมีกำลังซื้อมากขึ้น ทำให้มีคนชนชั้นกลางมากขึ้น เช่นเดียวกับเวียดนาม ที่มีกำลังซื้อมากขึ้น และที่สำคัญ ประเทศเหล่านี้ เชื่อมั่นในคุณภาพสินค้าที่มาจากประเทศไทย ทำให้ที่ผ่านมา เราจะติดตรา โปรดักส์ออฟไทยแลนด์ เพื่อเป็นตัวช่วยอีกด้วย แต่ก็จะเจอปัญหาการลอกเลียนแบบก็ต้องมีตราประเทศไทย ที่รัฐบาลออกให้ด้วย
ด้าน นายปรีดา เตียสุวรรณ์ ประธานกรรมการ บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แพรนด้าเปิดมา 43 ปี เดิมรับจ้างผลิต OEM แค่ 5 ปี ก่อนที่จะหันมาสร้างแบรนด์ของตนเอง เริ่มทำแบรนด์ของตนเอง โดยการไปซื้อแบรนด์ที่ฝรั่งเศส เมื่อ 20 ปีก่อน การวางตำแหน่งสินค้าเป็นสิ่งสำคัญ ต้องมีความชัดเจนในตัวสินค้า เช่น พรีม่าโกล์ด เป็นผู้ผลิตทองคำที่สวยที่สุดในโลก เมื่อมีสินค้าที่มีคุณภาพ และหาดีเอ็นเอให้เจอ โอกาสการทำแบรนด์ หรือ ขั้นตอนการทำตลาด โปรโมชั่น ง่าย
ส่วนการทำตลาดในอาเซียน มีการทำตลาดในหลายประเทศ อย่างประเทศเมียนมาร์ ก็จะเห็นว่า ยังมีบางกลุ่มที่มีกำลังซื้อ ประสบความสำเร็จในการสร้างแบรนด์อาเซียน แม้ว่ายอดขายไม่มาก แต่สิ่งที่ได้ คือ แบรนด์ค่อนข้างชัดเจน ลูกค้าจำแบรนด์ของเราได้ สร้างความมั่นคงและยั่งยื่น