สรุปมาตรการแบงก์รัฐช่วยลูกค้าสู้โควิดฯ
มาดูกันว่า แบงก์ในการกำกับดูแลของรัฐ และรัฐถือหุ้นเกินร้อยละ 50 จะมีมาตรการอะไรออกมาช่วยลูกค้าสู้โควิด-19 ในช่วงที่ลูกค้าประชาชน ทั้งภาคธุรกิจและบุคคลธรรมดา ต่างประสบปัญหาไวรัสโควิด-19 นี้ รวมมาตรการล่าสุด ที่เพิ่งประกาศออกมาเมื่อช่วงสายวันที่ 1 เม.ย.2563
สรุปมาตรการที่ธนาคารเฉพาะกิจในกำกับดูแลของรัฐ และธนาคารพาณิชย์ที่รัฐถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 มีดังนี้…
ออมสิน (16 มี.ค. – 30 มิ.ย.63)
1. พักหนี้เงิน 2 ปี
2. จ่ายดอกเบี้ยรายเดือน 50-100%
3. คืน Cash Back 20% ของดอกเบี้ย
4. ขยายเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 4 ปี
5. พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยอัตโนมัติ 3 เดือน
6. ลดผ่อนชำระขั้นต่ำให้ลูกค้าบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด เหลือ 5% ของยอดเงินที่เรียกเก็บ (ปี 63 – 64)
ธนาคารกรุงไทย
1. พักชำระหนี้เงินต้นตามผลกระทบไม่เกิน 12 เดือน
2. ขยายเวลาชำระหนี้ให้สอดคล้องกับธุรกิจ
3.ลูกค้าที่ใช้ บสย. ค้ำประกันสินเชื่อ, ขยายเวลาค้ำประกันได้อีก 5 ปี โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
1. เปิดให้ชำระเฉพาะดอกเบี้ย
2. ลดอัตราดอกเบี้ย
3. ปลอดชำระเงินต้น 3 ปีแรก
4. เติมสินเชื่อใหม่
(ช่วง 27 มี.ค. – 31 ธ.ค.64)
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
1. พักชำระเงินต้น 3 เดือน
2. พักชำระเงินต้น 1 ปี
3. พักชำระเงินต้น 6 เดือน, ลดดอกเบี้ยเหลือ 3.9%
4. กลุ่มผิดนัดชำระ, ลดดอกเบี้ยเหลือ 3.9%
5.ขยายเวลาชำระเงินกู้งวดเดือน มี.ค. ต่อไปอีก 5 วัน (1-5 เม.ย.) / ไม่นับเป็นการชำระล่าช้า
(อนึ่ง 3. + 4. = กรอบวงเงินสินเชื่อ 50,000 ล้านบาท / ช่วง 1-30 เม.ย.63)
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank)
1. พักชำระหนี้เงินต้น 12 เดือน
2. ลูกค้าที่ใช้ บสย. ค้ำประกันสินเชื่อ, ขยายเวลาค้ำประกันได้อีก 5 ปี โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม
3. เติมทุนสินเชื่อใหม่เพื่อเสริมสภาพคล่อง, ดอกเบี้ยเริ่มต้น 3%
ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออก (EXIM BANK)
1. ให้สินเชื่อ 7 ปี, วงเงิน 20 ล้านบาท, ดอกเบี้ย 2%, ระยะเวลา 1-2 ปี
2. ขยายเวลาการชำระเงินให้ความคุ้มครอง ภายใต้ประกันการส่งออก 270 วัน
3. พักชำระหนี้เงินต้น พร้อมดอกเบี้ย 6 เดือน.