MAP FOOD ผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งโดนใจผู้บริโภค
การต่อยอด ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อการทำธุรกิจ เพื่อวางรากฐานไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคมีการปรับเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลาตามยุคสมัย ดังนั้น ผู้ประกอบการเองก็ต้องก้าวตามให้ทันความต้องการของผู้บริโภคด้วย
“บริษัท เอ็มเอพี ฟู้ดส์ จำกัด” ถือว่าเป็นบริษัทหนึ่งที่ “Startup” ธุรกิจขึ้นมาจากการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบในการทำธุรกิจ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค และเพื่อการขยายตลาดที่มีประสิทธิภาพ โดยการประยุกตืเทคโนโฃยีเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพ
-จุดกำเนิดธุรกิจ
“มนัสสิทธิ์ ตรีสุขเกษม” ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็ม เอ พี ฟู้ดส์ จำกัด (MAP FOOD) บอกถึงทีมาที่ไปของไอเดียในการทำธุรกิจนี้ ว่า ก่อนจะมาเป็นบริษัท เอ็ม เอ พี ฟู้ดส์ จำกัดอย่างปัจจุบัน ต้องย้อนเวลากลับไปนานพอควรตั้งแต่สมัยรุ่นของคุณแม่ ซึ่งเคยทำงานให้กับบริษัทเครือญาติเกี่ยวกับการอาหารแช่แข็ง หรือรูปแบบของการโฟรเซ่น (Frozen) ทำให้มีประสบการณ์ในการทำงาน และการบริหารจัดการเรื่องของอาหาร
อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาหนึ่งบริษัทของเครือญาติดังกล่าวได้ขายกิจการให้กับบริษัทอื่นไป คุณแม่เลยเกิดแนวคิด พร้อมกับมองเห็นโอกาสในการสร้างธุรกิจ ดังนั้น บริษัท เอ็ม เอ พี ฟูดส์ จำกัดจึงถือกำเนิดขึ้นมาประมาณปี 2547 โดยเลือกที่จะทำแผ่นแป้งปอเปี๊ยะสด ส่งให้โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปแช่แข็ง เพื่อการส่งออก และสะสมประสบการณ์เรื่อยมาจนมาถึงการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง
ทั้งนี้ ในปี 60 ตนได้เริ่มสร้างโรงงานเพื่อผลิตอาหารแช่แข็ง จนมาแล้วเสร็จในปี 61 ขณะที่แผ่นแป้งแผ่นแป้งปอเปี๊ยะสด โดยเพิ่มเติมผลิตภัณฑ์ในส่วนของติ่มซำแช่แข็ง ขนมจีบ ซาลาเปา ฮะเก๋า ขึ้นรูปด้วยเครื่องมือ เครื่องจักร นอกจากนี้ ยังมีอาหารแช่แข็ง อาหารพร้อมรับประทาน (ready to eat) มีข้าวไรซ์เบอรี่กะเพราหมูสับ ข้าวไรซ์เบอรี่กะเพราไก่ ข้าวเหนียวไก่ย่าง สปาเก็ตตี้คาโบนารา ข้าวเหนียวมะม่วง ฯลฯ โดยที่ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาหารแช่แข็งกว่า 200-300 ชนิด (SKU)
“แบรนด์ที่บริษัทสร้างขึ้นมาเองจะประกอบด้วย อาหลง ซึ่งจะเป็นอาหารในรูปแบบของกวางตุ้งดั้งเดิม และแบรนด์ ห่าวยิ่วโตว ซึ่งจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสมัยใหม่ พวกซาลาเปา ติ่มซำ เป็นต้น”
-รับทำ OEM
มนัสสิทธิ์ บอกต่อไปอีกว่า นอกจากจะมีแบรนด์เป็นของตนเองแล้ว บริษัทยังมีรูปแบบการทำธุรกิจแบบรับจ้างผลิต (OEM) เพื่อให้ผู้ประกอบการรายอื่นได้นำไปสร้างแบรนด์เพื่อจำหน่ายด้วย โดยมีสัดส่วนประมาณ 25% ของยอดการผลิตทั้งหมด ซึ่งมีทั้งอาหารคาวและหวาน
สำหรับจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ภายใต้การผลิตของบริษัทฯนั้น จะอยู่ที่มาตรฐานในการผลิตเทียบเท่าระดับสากล ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร คือ GMP และ HACCP โดยปฏิบัติตามมาตรฐานอาหาร Codex Alimentarlus นอกจากนี้ ยังขึ้นชื่อเรื่องของคุณภาพ สะอาด และปลอดภัยด้วย
“ลูกค้าของบริษัทในปัจจุบันมีทั้งโรมแรม โรงเรียน ร้านอาหารทั่วไป ภัตตาคาร และจุดจำหน่ายอีกกว่า 600 จุดที่บริษัทดำเนินการเอง และเป็นของตัวแทนจำหน่ายในแต่ละภาค โดยปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจ OEM ประสบความสำเร็จ คือ จะต้องไม่รับจ้างผลิตเพียงอย่างเดียว แต่ต้องทำแบรนด์ของตัวเองควบคู่ไปด้วย เพราะแบรนด์เป็นเรื่องสำคัญ ลูกค้าจะรู้จักเราก็จากแบรนด์ เราจึงต้องสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง”
-ขยายตลาดต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ในการทำตลาดของบริษัทในระยะต่อไปนั้น การทำธุรกิจในรูปแบบ OEM บริษัทจะดำเนินการขยายลุกค้าในต่างประเทศให้เพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่มีทำตลาดอยู่แล้วที่ประเทศญี่ปุ่น ,เกาหลี ,ฮ่องกง ,จีนแผ่นดินใหญ่ และออสเตรเลีย
“ลูกค้าต่างประเทศให้การยอมรับผลิตภัณฑ์จากไทย เพราะอร่อย สะอาด ถ้าเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่ต้นทุนในการผลิตของเรายังถูกกว่า ซึ่งประเทศจีนเองก็มีการส่งออก แต่คุณภาพจะไม่เท่าของไทย และคอนเซ็ปต์อาหารไทยสู่ครัวโลกของเรายังไปได้อยู่”
ส่วนแบรนด์ของบริษัทเองนั้น ขณะนี้ยังไม่พร้อมที่จะส่งออก ยังคงมุ่งเน้นการทำตลาดในประเทศเป็นหลัก เพื่อวางรากฐานธุรกิจในประเทศให้แข็งแกร่ง โดยอาจะมีการขยายแฟรนไชน์เพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ตลาดต่างประเทศบริษัทก็ยังมองหาโอกาสควบคู่กันไปด้วย ซึ่งเท่าที่คิดไว้อาจจะเป็นการสร้างแบรนด์ใหม่ขึ้นมาอีกหนึ่งแบรนด์เพื่อทำตลาดส่งออกโดยเฉพาะ โดยคาดว่าในปี 64 น่าจะเห็นความชัดเจนมากขึ้นในเรื่องการส่งออกด้วยแบรนด์ของบริษัทเอง
ด้านหลักคิดในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้น อยู่ที่ความซื่อสัตย์ และเรื่องคุณภาพที่บริษัทยึดถือมาโดยตลอด ซึ่งบริษัทจะมีการตัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพมาผลิตเป็นอาหารเพื่อจำหน่าย โดยให้ความสำคัญกับทุกขั้นตอนของการผลิตตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสิ่งที่ดีที่สุดในการรับประทาน ด้วยรสชาติที่อร่อย ซึ่งมาพร้อมกับความปลอดภัยที่บริษัทใส่ใจในทุกรายละเอียดของผลิตภัณฑ์