บก.ชวนคุย วันที่ 4 พ.ย.2567
ล่าสุด ความเห็นไม่ตรงกันระหว่างกระทรวงการคลัง กับ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ ณ วันนี้ มีทิศทางที่ดีขึ้น หลังจากที่ “พิชัย ชุณหวชิร” รองนายกฯ และรมว.คลัง หารือกับ ผู้ว่าการ ธปท.หลายครั้ง เพื่อโน้มน้าว และชี้เห็นว่า อัตราดอกเบี้ยที่ปรับลดลง 0.25% ในการประชุม กนง.ในครั้งที่ผ่านมา ทำดีที่สุดแล้ว ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน
เรื่องที่ 4,387 แสดงให้เห็นว่า ความเห็นที่เคย แตกต่างกันนั้น เริ่มดีขึ้น ซึ่งประเด็นนี้ ต้องยอมรับว่า ขุนคลัง พิชัย มีวิธีในการเจรจาต่อรองกับผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ด้วยความละมุนละหม่อม หรือ “บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุน”
แต่จากนี้ไป ยังมีอีกหลายประเด็นที่ต้องติดตาม เพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่า กระทรวงการคลังได้ใช้นโยบายด้านการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจ คิดเป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาล ดั่งเช่น งบประมาณปี2568 ตั้งบประมาณขาดดุล 865,700 ล้านบาท หรือคิดเป็น 4.5% ของวงเงินงบประมาณ 3.7527 ล้านล้านบาท ต้องถือว่า สูงสุด ทุบสถิติสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่กันเลยทีเดียว
ขณะที่ ก่อหนี้สาธารณะ อยู่ที่ระดับ 63-64% ของจีดีพี มากกว่า 10 ล้านล้านบาท ซึ่งได้ขยายเพดานก่อหนี้ จากที่ไม่เกิน 60% มาเป็นไม่เกิน 70% มาครั้งหนึ่งแล้ว ในหนนี้ ถ้าหากปล่อยให้การก่อสร้างเพิ่มพูนขึ้น อีกไม่นาน ก็คงต้องขยายเพดานก่อหนี้ ทะลุเกินกว่า 70% อย่างแน่นอน
กระทรวงการคลังจึงเห็นว่า ในเมื่อนโยบายการคลัง ใกล้เต็มถัง การผ่อนนโยบายการเงินจึงเข้ามามีบทบาทแทน เพื่อช่วยเศรษฐกิจไทยให้มีแขน 2 ข้าง ไม่ดึงกัน เหมือนแขนซ้ายและขาว นั่นเอง
บทบาทของ ธปท. ณ วันนี้ ไม่ได้เปลี่ยนไป เพราะตัวคน แต่เปลี่ยนเพราะแรงบีบทางเศรษฐกิจที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ที่ถึงคราวต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดต้นทุน และดันเงินเฟ้อที่ขยายตัวแทบติดลบ ให้กลับมายืนเป็นบวก 1-3% ตามเป้าหมายที่วางไว้
จากนี้ ไปต้องจับตาการทำงานระหว่างกระทรวงการคลังกับ ธปท.ในฐานะผู้กุมชะตากรรมทางเศรษฐกิจ จะประสานไปในทิศทางเดียวกัน และคงไม่ใช่นโยบายที่สวนทางกันเหมือนกับอดีตที่ผ่านมา
นพวัชร์ ตันติฉันทะวงศ์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ข่าวเด่น เย็นนี้ 3 พ.ย.2567