สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 29 ส.ค. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.เลย (145 มม.) ภาคใต้ : จ.พังงา (133 มม.) ภาคเหนือ :จ.ลำพูน (130 มม.) ภาคตะวันออก : จ.จันทบุรี (130 มม.) ภาคกลาง : จ.ลพบุรี (72 มม.) ภาคตะวันตก : จ.เพชรบุรี (61 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
คาดการณ์ : วันที่ 1-3 ก.ย. 67 ร่องมรสุมกำลังปานกลางจะเลื่อนพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ ภาคตะวันออก และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 61% ของความจุเก็บกัก (48,876 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 43% (24,709 ล้าน ลบ.ม.)
3. ประกาศที่เกี่ยวข้อง
3. 1. สทนช.ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2567 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 24 – 30 ส.ค. 67 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้
3.1. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แจ้งเตือนเฝ้าระวัง!!! น้ำทะเลหนุนสูงช่วงวันที่ 30 ส.ค. – 5 ก.ย. 67 เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง และคาดว่าจะมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
3.2. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้น ช่วงวันที่ 25-31 ส.ค. 67 ขอให้เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นและเตรียมรับมือจากสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งและท่วมขังบริเวณริมแม่น้ำโขง บริเวณ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
3.3. กรมชลประทานแจ้งปรับเพิ่มการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ จึงขอแจ้งปรับเพิ่มปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราระหว่าง 900 – 1,400 ลบ.ม./วิ ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 0.50 – 1.50 ม.
4. แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมหน่วยบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 5/2567 พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หารือร่วมกันเพื่อวางแผนบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่
ในส่วนของ จ.สุโขทัย ได้มีมวลน้ำสูงสุดไหลผ่าน อ.ศรีสัชนาลัย แล้วเมื่อ 27 ส.ค. 67 มีปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 1,700 ลบ.ม./วินาที ปัจจุบันลดลงเหลือ 1,300 ลบ.ม./วินาที และมีแนวโน้มลดลง สำหรับลุ่มน้ำน่านในพื้นที่ อ.เวียงสา จ.น่าน ยังมีปริมาณน้ำสูงกว่าตลิ่ง ซึ่งได้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เขื่อนสิริกิติ์ได้ปรับลดการระบายน้ำลงเพื่อช่วยลดปริมาณน้ำไหลลง แม่น้ำน่าน และรองรับน้ำจากน้ำปาดและลุ่มน้ำยมที่จะผันระบายน้ำเข้ามาที่แม่น้ำน่านในส่วนของการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาขณะนี้อยู่ในอัตรา 1,200 ลบ.ม./วินาที โดยจะควบคุมไม่ให้เกิน 1,400 ลบ.ม./วินาที ทั้งนี้ กรมชลประทานได้แจ้งเตือนให้ประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบรับทราบล่วงหน้า
5. สถานการณ์อุทกภัย: วันที่ 28 ส.ค. 67 ในพื้นที่ 11 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.เมืองฯ เวียงชัย พญาเม็งรายเชียงแสน ป่าแดด เทิง ขุนตาล พานเชียงของ แม่สรวย แม่ลาว และ เวียงเชียงรุ้ง) จ.เชียงใหม่ (อ.แม่ออน) จ.แม่ฮ่องสอน (อ.เมืองฯ ) จ.น่าน (อ.เชียงกลาง และบ่อเกลือ) จ.พะเยา (อ.เมืองฯ ภูซาง ดอกคำใต้ เชียงม่วน และเชียงคำ) จ.อุตรดิตถ์(อ.ฟากท่า) จ.สุโขทัย (อ.เมืองฯ สวรรคโลก ศรีสำโรง และศรีสัชนาลัย) จ.นครสวรรค์ (อ.เมืองฯ) จ.เลย (อ.ท่าลี่) จ.หนองบัวลำพู (เมืองฯ) จ.สตูล (อ.มะนัง)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 28 ส.ค. 67