สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 17 ส.ค. 67
1. สรุปสถานการณ์น้ำ และปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.เชียงราย (149 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.บึงกาฬ (171 มม.) ภาคกลาง : จ.กรุงเทพมหานคร (49 มม.) ภาคตะวันออก : จ.ระยอง (59 มม.) ภาคตะวันตก : จ.เพชรบุรี (62 มม.) ภาคใต้ : จ.สุราษฎร์ธานี (104 มม.)
สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง
คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 18 – 22 ส.ค. 67 ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และประเทศลาว เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 58% ของความจุเก็บกัก (46,585 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 39% (22,423 ล้าน ลบ.ม.)
3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : 1. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 10/2567 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 16 – 22 ส.ค. 67 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ดังนี้
1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่มและบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทันบริเวณ
ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย หนองคาย หนองบัวลำภูบึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร และนครพนม
ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด
2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำ มากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จ.เชียงใหม่ ลำปาง พะเยา น่าน พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี และตราด
3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของลำน้ำงาว ลำน้ำปาย แม่น้ำลาว แม่น้ำน่าน แม่น้ำยม แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก ลำน้ำก่ำ และแม่น้ำตราด
2. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง ช่วงวันที่ 17 –.24 ส.ค. 67 เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง และคาดว่าจะมีฝนตกเพิ่มขึ้นในระยะนี้ ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราว บริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
4. การประชาสัมพันธ์ : เมื่อวันที่ 15 – 16 ส.ค. 67 นายไวฑิต โอชวิช ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์น้ำ สทนช. เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการ “ชี้แจงแนวทางกำกับการดำเนินงานการส่งเสริมการประหยัดน้ำ และการใช้งานระบบการจัดเก็บข้อมูลหน่วยงานประหยัดการใช้น้ำภาครัฐ” โดย ครม. เห็นชอบแนวทางการประหยัดน้ำในหน่วยงานภาครัฐ โดยให้หน่วยงานภาครัฐลดการใช้น้ำอย่างน้อย 10% และให้มีการรายงานผลให้ ครม. ทราบ เพื่อเป็นการสนับสนุนและขับเคลื่อนให้เกิดการจัดทำแผนปฏิบัติการประหยัดน้ำของหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงการติดตามประเมินผล และรับทราบความก้าวหน้าและทิศทางของการดำเนินงานประหยัดน้ำ ซึ่งจะมีระบบจัดเก็บข้อมูลหน่วยประหยัดน้ำการใช้น้ำภาครัฐที่พัฒนาขึ้น เป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถการประหยัดน้ำของประเทศ รวมทั้งได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ที่สามารถช่วยวางแนวทางการปฏิบัติเพื่อการประหยัดน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและความมั่นคงน้ำของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม
หน่วยงานและประชาชนเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ล่วงหน้าด้วย ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์คาดการณ์ พบว่าในช่วงปลายปีแนวโน้มสภาวะลานีญาจะลดลง จึงจะหารือร่วมกับหน่วยงานประเมินสถานการณ์และวางแผนบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
5. สถานการณ์น้ำท่วม : วันที่ 16 ส.ค. 67 ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.แม่สาย เมืองฯ เวียงชัย เทิง แม่จัน แม่ลาว แม่ฟ้าหลวง เชียงแสน และเชียงของ) จ.พะเยา (อ.จุน และเชียงคำ) และ จ.น่าน (อ.สองแคว)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 16 ส.ค. 67