“ช่อคูน” สมุนไพรไทยยุคตามตำราแพทย์แผนไทยโบราณ
สมุนไพรไทยถือว่าเป็นสุดยอดของยารักษาโรคแขนงหนึ่งที่ได้รับการยอมรับ และในยุคปัจจุบันก็มีผลิตภัณฑ์ที่นำคุณสมบัติเด่นของสมุนไพรไทยมาเป็นส่วนประกอบในการสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคให้เข้ามาใช้ผลิตภัณฑ์มากมายหลากหลายแบรนด์
วันนี้เราจะมาพูดถึงแบรนด์ ช่อคูน (CHORKOON) ซึ่งเป็นผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (Natural/Organic Personal Care) ที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก (แพทย์พระคัมภีร์) ซึ่งมีความเจริญมาพร้อมกับกรุงเทพมหานครเมืองหลวงของไทย และนำเทคโนโลยีและงานวิจัยสากล (ตะวันตก) เข้ามาช่วยต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นสินค้าที่ทันสมัย ใช้สะดวก อ่อนโยน ฟื้นคืนความสมดุล
–จากปัญหาสู่ธุรกิจ
ศิริพัฒน์ มีทับทิม กรรมการผู้จัดการ บจก.พรหมมหาราช ปิโตรเลียม หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์ “ช่อคูน” เล่าว่า จุดเริ่มต้นของธุรกิจดังกล่าวมาจากการตนเองได้มีโอกาสได้ไปเรียนหลักสูตรอายุรเวช และได้พบกับคุณธัญญพัทธ์ นิธิศศรีบัณฑิต แต่ตอนนั้นยังไม่ได้คิดว่าจะทำธุรกิจร่วมกัน โดยมีช่วงหนึ่งหลังจากนั้นซึ่งตนเกิดความสนใจในเกษตรอินทรีย์ และได้ออกไปทำการเกษตรอินทรีย์แบบจริงจัง แต่สิ่งที่พบก็คือมีตนอยู่เพียงรายเดียวที่ทำเกษตรอินทรีย์แต่แปลงข้างๆ นั้นไม่ใช่เลย
จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ตนกลับมาทบทวนแนวทางการทำเกษตรแบบอินทรีภัณฑ์ โดยได้มีการทดลองตลาดเพื่อทดสอบว่าผู้บริโภคเข้าใจหรือไม่ว่าตัวผลิตภัณฑ์คืออะไร และดีอย่างไร ผลปรากฏว่าผู้บริโภคเข้าใจ จึงเริ่มก่อตั้งเป็นธุรกิจขึ้นมา และมีการขยายอย่างต่อเนื่อง
“ ต้องขอขอบคุณกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนในเรื่องของการเป็นที่ปรึกษา คอยให้คำแนะนำจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ ช่อคูน ได้ในที่สุด ”
–เน้นการสร้างแบรนด์ของตนว่าถูกต้องแล้วหรือไม่ที่กำลังทำอยู่ ประกอบกับที่ตนเองเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจากสารเคมีที่ได้รับจากแปลงเกษตรข้างๆ จนป่วยและมีอาการผมร่วง ทำให้เกิดไอเดียในการนำสมุนไทยมาใช้ และต่อยอดไปถึงการแปรรูปสมุนไพรไทยให้ออกมาเป็นผลิต
ศิริพัฒน์ กล่าวต่ออีกว่า ในช่วงแรกของการทำตลาดนั้น ตนใช้วิธีการออกงานแสดงสินค้าเพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จัก และนำผลิตภัณฑ์เข้าไปวางจำหน่ายในห้างโมเดิร์นเทรดตามช่องทางการทำตลาดแบบปกติทั่วไป จนกระทั่งได้มาพบกับจุดเปลี่ยนสำคัญ โดยมองว่าน่าจะทำให้แบรนด์ “ช่อคูน” เป็นที่รู้จัก หรือเรียกว่าเป็นการมุ่งเน้นสร้างแบรนด์ และเพิ่มมูลค่ามากกว่าการนำผลิตภัณฑ์ไปฝากขาย ซึ่งแนวทางก็คือทำให้ผลิตภัณฑ์หายาก เพื่อดูว่ามีลูกค้าติดตามเราไหม หรือกลุ่มลูกค้าของเราเป็นใคร
“ การเปลี่ยนรูปแบบการทำตลาดเราจะไม่ได้เน้นที่ยอดขาย เหมือนที่ผ่านมา ซึ่งผลิตภัณฑ์ไปวางจำหน่ายอยู่หลายจุดตามสถานที่ต่างๆ แต่ก็ต้องหมดไปกับต้นทุนค่าเช่าพื้นที่ เพราะฉะนั้นเราจึงหันมามุ่งเน้นที่การดูแลลูกค้า เพราะเชื่อมั่นว่าผลิตภัณฑ์ของเราดีจริง และลูกค้าก็มีการบอกต่อ หรือนะนำผู้อื่นให้ใช้ ”
ปัจจุบันช่องทางการจำหน่ายของ “ช่อคูน” จะอยู่ที่เพจเฟสบุ๊ก และไลน์แอด (Line@) เป็นหลัก โดยที่ลูกค้าจะสามารถติดตามข้อมูลการเคลื่อนไหวของเราได้ว่าจะมีการไปออกงานที่ไหนบ้าง เมื่อไหร่ โดยเมื่อไปออกงานก็จะมีผู้ที่สนใจเข้ามาติดต่อเพื่อขอนำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่าย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราก็ไม่ได้ให้ทุกรายที่มาติดต่อแต่เราจะเลือกจุดของทำเลที่สะท้อนภาพของแบรนด์ได้ดีที่สุด เพื่อชูภาพลักษณ์มาเป็นจุดขาย
–แปรรูปผลิตภัณฑ์ตามตำราแพทย์แผนไทย
สำหรับจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ “ช่อคูน” นั้น ศิริพัฒน์บอกว่าอยู่ที่การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสมุนไพร และนำเสนอโดยมีพื้นฐานมาจากตำราแพทย์แผนไทยในพระคัมภีร์ตักศิลา ซึ่งเป็นศาสตร์การรักษาฉบับโบราณ ทำให้รู้ว่าสมุนไพรมีสาระสำคัญอะไร และมีผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง โดยผลิตภัณฑ์ของเราเป็นสมุนไพรที่ใช้ภายนอก แต่ให้ผลลัพธ์ที่มากกว่านั้น ยกตัวอย่างเช่น สบู่ ซึ่งจะไม่ใช้เพียงแค่ใช้ถูแล้วล้างน้ำให้ร่างกายสะอาดเท่านั้น แต่จะมีคุณสมบัติทางด้านการประสานผิว เสมือนผู้ใช้ได้อาบน้ำที่ต้มจากสมุนไพร โดยหากเป็นขั้นตอนตามแบบฉบับโบราณจะต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างมาก เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์ของ “ช่อคูน” จะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบไปด้วย 1.ประเภทล้างออก เช่น แชมพู เจลอาบน้ำ โดยทำตามหลักของการถอนพิษ, 2.ประเภททา ซึ่งจะมีคุณสมบัติในการปรับสมดุลให้กับผิว โดยเป็นไปตามหลักการแพทย์แผนไทย ซึ่งเชื่อว่าหากผิวมีความสมดุลก็จะเป็นแรงต่อต้านไม่ให้สารเคมีต่างๆเข้ามาสู่ร่างกายได้ และ3.ประเภทที่ใช้ในช่องปาก เช่น ยาสีฟัน และน้ำยาบ้วนปาก เป็นต้น
ขณะที่ภาพรวมของธุรกิจในอนาคตในส่วนตัวแล้วมองไปถึงเรื่องของการสร้างสังคมของผู้ที่ชื่นชอบแนวคิดในการรักษาสุขภาพด้วยแนวทางของธรรมชาติ โดยทำให้เกิดการรวมตัวกันของแบรนด์ต่างๆ เพื่อร่วมกันประชาสัมพันธ์ ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นการดีกว่าที่จะไปทุ่มเทงบให้กับการโฆษณาโดยที่ไม่รู้จะได้ผลมากน้อยแค่ไหน อย่างไร
“ กลยุทธ์ที่สำคัญของเราอีกรูปแบบหนึ่งก็คือการไม่ทำธุรกิจแบบโดดเดี่ยว แต่จะรวมคนที่ทำธุรกิจแบบเดียวกันเป็นกลุ่ม โดยปัจจุบันได้มีการก่อตั้งเครือข่ายธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรอินทรีย์แปรรูป (nonfood) ซึ่งเป็นการรวมตัวกับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในธุรกิจเดียวกัน โดยสังกัดกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ล่าสุดมีผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกอยู่ประมาณ 20 ราย ”
ศิริพัฒน์ ปิดท้ายถึงกุญแจที่ไขประตูไปสู่ความสำเร็จในธุรกิจของตนว่า ยึดหลักการทำอะไรที่ไม่เกินตัวมาก ยกตัวอย่างเช่นล่าสุดที่ได้มีการลงทุนก่อสร้างโรงงาน ก็เป็นการสร้างโรงงานที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก แต่เน้นที่การมีประสิทธิภาพสูง สามารถปรับเปลี่ยนไลน์การผลิตได้เร็ว เพราะปัจจุบันอายุของผลิตภัณฑ์ไม่ยาวมาก ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เราจึงต้องปรับเปลี่ยนให้ทันตามความต้องการของลูกค้า.