สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 9 มี.ค. 67
1. สภาพอากาศวันนี้ : ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อน ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีอากาศร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่มวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ส่วนภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
คาดการณ์ : ในช่วงวันที่ 10 – 14 มี.ค. 67 ประเทศไทยตอนบน มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 63% ของความจุเก็บกัก (52,029 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 48% (27,823 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่งภาคเหนือ: สิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จุฬาภรณ์ ภาคตะวันออก: คลองสียัด ภาคกลาง : กระเสียว (ต้องเฝ้าระวังในช่วงฤดูแล้ง)
3.คุณภาพน้ำ : น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำเพื่อการเกษตร
แม่น้ำท่าจีน ณ สถานีประตูระบายน้ำปากคลองจินดา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำแม่กลอง ณ สถานีอัมพวา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำบางปะกง ณ สถานีวัดบางคาง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/67
4.1 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค และพื้นที่ประสบปัญหาคุณภาพน้ำในฤดูแล้งปี 2567 เมื่อวันที่ 5-7 มี.ค. 67 ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร และนครพนม และได้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา โดยให้ อบต. และเทศบาล ในพื้นที่เตรียมความพร้อมของโครงการเพื่อเตรียมการเสนอขอแผนงานโครงการในระบบTHAI WATER PLAN ต่อไป
4.2 กรมชลประทาน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ประชุมหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ อ.เมืองชัยภูมิ บ้านเขว้า และจัตุรัส จ.ชัยภูมิ โดยได้ส่งน้ำไปช่วยเหลือพื้นที่เป้าหมายรวม 1,300,000 ลบ.ม. ช่วยบรรเทาและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรได้อย่างทั่วถึงและเพียงพอ