สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 5 มี.ค. 67
1. สภาพอากาศวันนี้ : ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
คาดการณ์ : ในช่วงวันที่ 6-7 มี.ค. 67 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันและมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 64% ของความจุเก็บกัก (52,609 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 49% (28,401 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่งภาคเหนือ: สิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จุฬาภรณ์ ภาคตะวันออก: คลองสียัด ภาคกลาง : กระเสียว (ต้องเฝ้าระวังในช่วงฤดูแล้ง)
3.คุณภาพน้ำ : น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์เตือนภัยน้ำเพื่อการเกษตร
แม่น้ำท่าจีน ณ สถานีประตูระบายน้ำปากคลองจินดา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำแม่กลอง ณ สถานีอัมพวา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำบางปะกง ณ สถานีวัดบางคาง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. กิจกรรมสำคัญ : กรมชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่นาข้าวฝั่งตะวันตกลุ่มน้ำยมที่ทำนาปรังรอบที่ 1 ซึ่งข้าวกำลังตั้งท้องออกรวงและต้องใช้น้ำเพื่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว จึงได้ประสานงานกับกลุ่มผู้ใช้น้ำที่ใช้น้ำจากสถานีสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้าที่มีอยู่ในแม่น้ำยมกว่า 10 แห่ง ในพื้นที่ ต.สามง่าม ต.กำแพงดิน อ.สามง่าม ซึ่งขณะนี้เกษตรกรมีการจัดรอบเวรเพื่อส่งน้ำไปตามคลองซอยและระบบท่อให้ถึงแปลงนาที่อยู่ห่างจากแพสูบน้ำประมาณ 2 กม. ให้มีน้ำหล่อเลี้ยงต้นข้าวด้วยวิธีเปิดก๊อกน้ำทำนา ในส่วนของการที่จะทำนาปรังรอบที่ 2 จากการประชุมกลุ่มเกษตรกร 90% จะไม่ทำนาปรังรอบที่ 2 เนื่องจากอากาศที่ร้อนและค่าไฟฟ้าในการสูบน้ำค่อนข้างสูง รวมถึงจะได้เป็นการพักหน้าดินตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่อีกด้วย