สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 2 มี.ค. 67
1. สภาพอากาศวันนี้ : มวลอากาศเย็นจากประเทศจีนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น
คาดการณ์ : ในช่วงวันที่ 3-9 มี.ค. 67 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก มีอากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 64% ของความจุเก็บกัก (53,057 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 50% (28,847 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่งภาคเหนือ: สิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จุฬาภรณ์ ภาคตะวันออก: คลองสียัด ภาคกลาง : กระเสียว (ต้องเฝ้าระวังในช่วงฤดูแล้ง)
3.คุณภาพน้ำ : น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค (ไม่เกิน 0.5 กรัม/ลิตร)
แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน น้ำเพื่อการเกษตร (ไม่เกิน 2 กรัม/ลิตร)
แม่น้ำท่าจีน ณ สถานีประตูระบายน้ำปากคลองจินดา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำแม่กลอง ณ สถานีอัมพวา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
แม่น้ำบางปะกง ณ สถานีวัดบางคาง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. กิจกรรมสำคัญ :
เมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2567 นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมติดตามพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากน้ำทะเลหนุนสูง ในคราวลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินการตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/67 จังหวัดสมุทรสาคร ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีน้ำทะเลหนุนสูงส่งผลกระทบให้เกิดอุทกภัยและการกัดเซาะของกระแสน้ำบริเวณริมแม่น้ำท่าจีน และลงพื้นที่ริมแม่น้ำท่าจีน ในตำบลท่าจีน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร และพื้นที่ใกล้เคียง ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำทะเลหนุนสูง