สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 3 ก.ย. 66
ฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ และภาคกลาง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก และภาคใต้
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.พังงา (139) จ.ตราด (124) จ.นครสวรรค์ (117) จ.ชัยนาท (76) จ.นครราชสีมา (72) และ จ.กาญจนบุรี (37)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 44,100 ล้าน ลบ.ม. (54%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,759 ล้าน ลบ.ม. (56%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กอนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 29 ส.ค.-3 ก.ย. 66 บริเวณ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร ตาก พิษณุโลก และอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย ชัยภูมิ ขอนแก่น สกลนคร มหาสารคาม หนองบัวลำภู และกาฬสินธุ์ ภาคตะวันออก จ.ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต และเฝ้าพื้นที่เสี่ยงระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ แม่น้ำยัง บริเวณอ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด และ แม่น้ำสงคราม บริเวณอ.บ้านม่วง จ.สกลนคร ถึง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม
สทนช. สร้างต้นแบบการจัดการน้ำชุมชน แก้ปัญหาน้ำอย่างยั่งยืน นำร่อง 4 จังหวัด ฉะเชิงเทรา ชัยนาท ขอนแก่น และน่าน เพิ่มศักยภาพการปรับตัวกับสถานการณ์น้ำที่เปลี่ยนแปลงด้วยตนเองใน 4 จังหวัดนำร่อง พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำระดับชุมชน เพื่อเป็นต้นแบบและขยายผลเป็นระดับลุ่มน้ำ เสริมความเข้มแข้งที่รากฐานพร้อมร่วมแก้ไขปัญหาด้านน้ำ
วานนี้ (2 ก.ย.66) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งระหว่างองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับลุ่มน้ำ ภายใต้โครงการการเสริมสร้างขีดความสามารถองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับลุ่มน้ำ ตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อขับเคลื่อนการจัดการและวางแผนบริหารทรัพยากรน้ำระดับชุมชน ต.เกาะขนุน อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
โดย สทนช. ร่วมกับ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. มุ่งสร้างต้นแบบชุมชนเข้มแข็ง พร้อมปรับตัวกับสถานการณ์น้ำที่ผันผวนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ด้วยตนเอง โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบ การเป็นภาคีเครือข่ายร่วมวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ใช้น้ำภาคประชาชน ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรผู้ใช้น้ำ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยระยะแรกจะดำเนินการในเดือนกันยายน 2566 ในพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชัยนาท ขอนแก่น และน่าน ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมน้ำแล้งซ้ำซาก และชุมชนที่พร้อมเรียนรู้ขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำของชุมชนด้วยตนเอง พร้อมทั้งสามารถวางแผนบริหารทรัพยากรน้ำระดับชุมชนได้อย่างเหมาะสม ตามบริบทและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของพื้นที่ รวมทั้งร่วมขับเคลื่อน ติดตามประเมินผล และพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ ผสานและต่อยอดตั้งแต่ระดับชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ลุ่มน้ำย่อย และครอบคลุมทั้ง 22 ลุ่มน้ำหลักในอนาคต
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 3 กันยายน 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 16/2566 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2566 แจ้งเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ด้วย กอนช. ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 29 สิงหาคม – 3 กันยายน 2566 มีพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ดังนี้ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอกัลยาณิวัฒนา จอมทอง และอมก๋อย) จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ขุนยวม และสบเมย) จังหวัดกำแพงเพชร (อำเภอเมืองกำแพงเพชร โกสัมพีนคร ขาณุวรลักษบุรี คลองลาน ไทรงาม
พรานกระต่าย และลานกระบือ) จังหวัดตาก (อำเภอเมืองตาก ท่าสองยาง พบพระ แม่ระมาด แม่สอด วังเจ้า และอุ้มผาง) จังหวัดพิษณุโลก (อำเภอชาติตระการ นครไทย เนินมะปราง และบางระกำ) จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอน้ำปาด)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย (อำเภอนาแห้ว ผาขาว ภูเรือ และวังสะพุง) จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอคอนสาร
และบ้านแท่น) จังหวัดขอนแก่น (อำเภอชุมแพ ภูเวียง เวียงเก่า สีชมพู หนองนาคำ และหนองเรือ) จังหวัดสกลนคร
(อำเภอบ้านม่วง วานรนิวาส และอากาศอำนวย) จังหวัดมหาสารคาม (อำเภอกันทรวิชัย) จังหวัดหนองบัวลำภู
(อำเภอเมืองหนองบัวลำภู นากลาง นาวัง และศรีบุญเรือง) จังหวัดกาฬสินธุ์ (อำเภอยางตลาด) ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง (อำเภอแกลง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ นายายอาม มะขาม และแหลมสิงห์)
จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด เกาะกูด เกาะช้าง เขาสมิง คลองใหญ่ บ่อไร่ และแหลมงอบ) ภาคใต้ จังหวัดชุมพร
(อำเภอท่าแซะ และพะโต๊ะ) จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง และกระบุรี) จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร สั่งการให้มีการตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงทั่วประเทศ จำนวน 11 หน่วยปฏิบัติการ เพื่อเร่งทำฝนในช่วงปลายฤดูฝนโดยเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคเหนือตอนล่าง
และภาคกลาง ทั้งนี้ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร พร้อมปฏิบัติการทำฝน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร และเพิ่มปริมาณน้ำให้กับเขื่อนและอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
สทนช. ร่วมกับ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. ลงพื้นที่ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งระหว่างองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับลุ่มน้ำ ภายใต้โครงการการเสริมสร้าง
ขีดความสามารถองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับลุ่มน้ำ ตามแนวพระราชดำริ
ของในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อขับเคลื่อนการจัดการและวางแผนบริหารทรัพยากรน้ำระดับชุมชน ณ ตำบลเกาะขนุน อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อมุ่งสร้างต้นแบบชุมชนเข้มแข็ง พร้อมปรับตัวกับสถานการณ์น้ำที่ผันผวนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ด้วยตนเอง โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบ การเป็นภาคีเครือข่าย
ร่วมวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ใช้น้ำภาคประชาชน ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรผู้ใช้น้ำ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยระยะแรกจะดำเนินการในเดือนกันยายน 2566 ในพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชัยนาท ขอนแก่น และน่าน ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมน้ำแล้งซ้ำซาก
และชุมชนที่พร้อมเรียนรู้ขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำของชุมชนด้วยตนเอง