สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 21 สค. 66
ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงสูงสุดที่ผ่านมารายภาค มีฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณ จ.พิษณุโลก (120) กรุงเทพมหานคร (103) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (73) จ.ตราด (71) จ.อุบลราชธานี (70) จ.ระนอง (45)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 44,020 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,324 ล้าน ลบ.ม. (55%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กอนช. ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 15/2566 ในช่วงวันที่ 20-25 ส.ค. 66 ดังนี้ ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ น่าน และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคายบึงกาฬ นครพนม สกลนคร อุดรธานี อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก จ.จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต สตูล ตรัง และสุราษฎร์ธานี
หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จัดชุดบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 12 นาย
รถขุดตัก จำนวน 1 คัน และ รยบ.เทท้าย 10 ล้อ จำนวน 2 คัน ร่วมกับ กรมชลประทาน อบต.พระธาตุผาแดง และผู้นำชุมชน ร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหาถนนทรุดตัว ที่เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน ทำให้เกิดดินสไลด์ทับท่อระบายน้ำ ได้ทำการติดตั้งแบบ เทลีนท่อระบายน้ำ พร้อมวางท่อระบายน้ำ จำนวน 15 ท่อน ทั้ง 2 ฝั่งถนน ผลการปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย บริเวณเส้นทาง บ.หนองบัว – บ.หัวฝาย อ.แม่สอด จ.ตาก
กอนช. ติดตามหน่วยงานลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำพื้นที่อีสานตอนบน พร้อมรับมือฝนปี 66 ตาม 12 มาตรการกรมชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการน้ำประตูระบายน้ำห้วยหลวง และสถานีสูบน้ำบ้านแดนเมือง จังหวัดหนองคาย
ทั้งนี้ ประตูระบายน้ำห้วยหลวง ตำบลวัดหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมแผนการรับมืออันอาจเกิดจากอุทกภัย 2566 โดยได้ดำเนินการตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบควบคุมการ เปิด-ปิด บานระบาย การตรวจสอบเครื่องสูบน้ำอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงได้รับการสนับสนุนเครื่องจักร เครื่องมือจากส่วนเครื่องจักรกลที่ 3 สำนักเครื่องจักรกล และส่วนเครื่องจักรกล สำนักงานชลประทานที่ 5 เป็นต้นโครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำบ้านแดนเมือง โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง ตำบลวัดหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย มีโครงข่ายระบบชลประทาน จำนวน 13 โครงข่าย ครอบคลุมพื้นที่ 315,195 ไร่ รวมทั้งแก้มลิงและอาคารประกอบ จำนวน 20 แห่ง ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการดำเนินโครงการ ซึ่งหากก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ บรรเทาอุทกภัยในเขตจังหวัดหนองคายและอุดรธานี ส่งน้ำให้กับพื้นที่ชลประทานเดิม 15,000 ไร่ และเพิ่มพื้นที่ชลประทานใหม่อีก 300,195 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 284 หมู่บ้าน 37 ตำบล 7 อำเภอ ของจังหวัดหนองคายและจังหวัดอุดรธานี โดยมีครัวเรือนที่ได้รับผลประโยชน์ 29,835 ครัวเรือน ทั้งยังเป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อขยายพื้นที่ชลประทานในพื้นที่ใกล้เคียง
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 21 สิงหาคม 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 15/2566 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2566 แจ้งเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ด้วย กอนช. ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมกำลังปานกลางจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ในช่วงวันที่ 20 – 25 สิงหาคม 2566 มีพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ดังนี้ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย (อำเภอเมืองเชียงราย
ขุนตาล และแม่สรวย) จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอฝาง และแม่อาย) จังหวัดน่าน (อำเภอนาหมื่น และเวียงสา) จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอเขาค้อ) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย เฝ้าไร่ โพนพิสัย และรัตนวาปี) จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอบุ่งคล้า) จังหวัดนครพนม (อำเภอ ท่าอุเทน และศรีสงคราม) จังหวัดสกลนคร (อำเภอพรรณานิคม สว่างแดนดิน และอากาศอำนวย) จังหวัดอุดรธานี (อำเภอบ้านดุง) จังหวัดอำนาจเจริญ (อำเภอเมืองอำนาจเจริญและหัวตะพาน) จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอเมืองสุรินทร์) จังหวัดศรีสะเกษ (อำเภอเมืองศรีสะเกษ) จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอเขื่องใน) ภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี แก่งหางแมว และขลุง) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด เขาสมิง บ่อไร่ คลองใหญ่ และเกาะช้าง) ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง และกะเปอร์) จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงาคุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง ทับปุด และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จังหวัดสตูล (อำเภอเมืองสตูล และละงู) จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง ปะเหลียน และวังวิเศษ) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอพนม และบ้านตาขุน)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมทรัพยากรน้ำ ร่วมกับ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) และสภาวิศวกรดำเนินการลงพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำมรสวบ ต.ชัยเกษม อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของอาคารและสิ่งปลูกสร้างด้านแหล่งน้ำเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและบำรุงรักษาให้มีใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล พัฒนาและปรับปรุงแอปพลิเคชัน Badan4Thai เพื่อให้ประชาชนสามารถสืบค้นข้อมูลบ่อน้ำบาดาลได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น โดยมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับน้ำบาดาลหลายด้าน ได้แก่ ข้อมูลรายชื่อช่างเจาะน้ำบาดาลที่มีหนังสือรับรองจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล การคำนวณความลึก ปริมาณ และระดับน้ำบาดาล การคำนวณราคาค่าเจาะบ่อน้ำบาดาล (โดยประมาณ) และสามารถดาวน์โหลดแผนที่น้ำบาดาลได้อีกด้วย
โดยประชาชนทุกท่านสามารถดาวน์โหลด “Badan4Thai” ได้แล้ววันนี้ที่ App Store และ Play Store