สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 11 สค. 66
ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.ตราด (77) จ.มุกดาหาร (66) จ.ตรัง (66) จ.กาญจนบุรี (56) จ.น่าน (48) และ จ.ลพบุรี (39)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 43,214 ล้าน ลบ.ม. (52%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,490 ล้าน ลบ.ม. (54%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ บริเวณ ต.วังกรด อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร โดยสูบน้ำจากหนองน้ำขุนไปยังหนองน้ำใส เพื่อเก็บกักเป็นน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปาหมู่บ้าน ประชาชนได้รับประโยชน์ 56 ครัวเรือน 250 คน พร้อมตรวจสอบเครือข่ายสถานีอุตุ-อุทกวิทยาแม่น้ำโขง (Mekong-HYCOS) สถานีชานุมาน อ.ชานุมาน จ.อุบลราชธานี และสถานีโขงเจียม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
กอนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 12-18 ส.ค. 66 ดังนี้ จ.เชียงราย (อ.แม่จัน แม่สาย และแม่ฟ้าหลวง) จ.เชียงใหม่ (อ.อมก๋อย) จ.ตาก (อ.ท่าสองยาง แม่สอด แม่ระมาด และอุ้มผาง) จ.น่าน (อ.เมืองน่าน บ่อเกลือ ปัว เชียงกลาง ทุ่งช้าง เฉลิมพระเกียรติ และสองแคว) จ.หนองคาย (อ.เมืองหนองคาย เฝ้าไร่ โพนพิสัย และรัตนวาปี) จ.บึงกาฬ (อ.เมืองบึงกาฬ ปากคาด บุ่งคล้า เซกา ศรีวิไล พรเจริญ โซ่พิสัย และบึงโขงหลง) จ.นครพนม (อ.เมืองนครพนม ท่าอุเทน ศรีสงคราม บ้านแพง นาทม และโพนสวรรค์) จ.สกลนคร (อ.บ้านม่วง และอากาศอำนวย) จ.ระยอง (อ.เขาชะเมา บ้านค่าย แกลง และบ้านฉาง) จ.จันทบุรี (อ.เมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ และท่าใหม่) จ.ตราด (อ.เมืองตราด คลองใหญ่ บ่อไร่ แหลมงอบเขาสมิง เกาะกูด และเกาะช้าง) จ.ระนอง (อ.เมืองระนอง กะเปอร์ และกระบุรี) จ.พังงา (อ.คุระบุรี และท้ายเหมือง) จ.ภูเก็ต (อ.เมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จ.สตูล (อ.ละงู) และ จ.ตรัง (อ.กันตัง สิเกา และปะเหลียน)
สทนช. เร่งเดินหน้าศึกษาแผนหลักแบบเพื่อการบรรเทาน้ำแล้ง–น้ำท่วม ในพื้นที่ Area Based เชียงใหม่ – ลำพูน ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. เป็นประธานการประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาแผนหลักแบบบูรณาการ เพื่อการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งพื้นที่เฉพาะ (Area Based) เชียงใหม่-ลำพูน (เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 66) เพื่อนำเสนอร่างแผนหลักและแผนปฏิบัติการ การวางโครงการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งเบื้องต้น จำนวน 6 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้านใน อ.อมก่อย และ อ.แม่อาย จ.เซียงใหม่ 2) โครงการพัฒนาชุมเหมืองตำบลดงดำ อ.ลี้ จ.ลำพูน 3) โครงการปรับปรุงระบบระบายน้ำและการผันน้ำจากดอยสุเทพลงแม่น้ำปิง 4) โครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียร่วมกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูและปรับภูมิทัศน์คลองแม่ข่า 5) โครงการฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำและบรรเทาไฟป่าในเขตป่าแม่ออน และ 6)โครงการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลสิ่งปลูกสร้างในลำน้ำเพื่อบริหารจัดการน้ำแม่กวง ทั้งนี้ แผนงานโครงการในพื้นที่ศึกษามีทั้งหมด 7,093 โครงการ มีเป้าหมายแก้ปัญหาน้ำอุปโภคบริโภค 171 หมู่บ้าน ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 321 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ได้รับการป้องกัน 1.16 ล้านไร่ และบำบัดน้ำเสียได้ 43,817 ลบ.ม./วัน
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 11 สิงหาคม 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 14/2566 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2566 แจ้งเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ด้วย กอนช. ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ในช่วงวันที่ 12 – 18 สิงหาคม 2566 มีพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ดังนี้ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย (อำเภอแม่จัน แม่สาย และแม่ฟ้าหลวง) จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภออมก๋อย) จังหวัดตาก (อำเภอท่าสองยาง แม่สอด แม่ระมาด และอุ้มผาง) จังหวัดน่าน (อำเภอเมืองน่าน บ่อเกลือ ปัว เชียงกลาง ทุ่งช้าง เฉลิมพระเกียรติ และสองแคว) โดยเฉพาะจังหวัดน่านซึ่งปัจจุบันมีน้ำท่วมขังอยู่ในพื้นที่อำเภอเวียงสา อำเภอท่าวังผา และอำเภอแม่จริม ระดับน้ำ จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย เฝ้าไร่ โพนพิสัย และรัตนวาปี) จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอเมืองบึงกาฬ ปากคาด บุ่งคล้า เซกา ศรีวิไล พรเจริญ โซ่พิสัย และบึงโขงหลง) จังหวัดนครพนม (อำเภอเมืองนครพนม ท่าอุเทน ศรีสงคราม บ้านแพง นาทม และโพนสวรรค์) จังหวัดสกลนคร (อำเภอบ้านม่วง และอากาศอำนวย) ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง (อำเภอเขาชะเมา บ้านค่าย แกลง และบ้านฉาง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ และท่าใหม่) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด คลองใหญ่ บ่อไร่ แหลมงอบเขาสมิง เกาะกูด และเกาะช้าง) ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง กะเปอร์ และกระบุรี) จังหวัดพังงา (อำเภอคุระบุรี และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จังหวัดสตูล (อำเภอละงู) จังหวัดตรัง (อำเภอกันตัง สิเกา และปะเหลียน)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
2.1 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ดำเนินการเข้าสำรวจและช่วยขนย้ายสิ่งของเครื่องใช้ และอุปกรณ์ไฟฟ้า ขึ้นเก็บไว้ที่สูง จากเหตุการณ์น้ำเอ่อล้นเข้าสู่บ้านเรือนของประชาชนและโรงเรียน ที่ได้รับผลกระทบจากฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน เพื่อเป็นการช่วยเหลือและป้องกันทรัพย์สินเสียหายในเบื้องต้น ทั้งนี้ ได้จัดเตรียมกำลังพล ยานพาหนะและยุทโธปกรณ์ ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ในพื้นที่ พร้อมให้การช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดเหตุ สาธารณภัยและได้รับการร้องขอต่อไป ณ บ้านดอนตัน และ บ้านสบหนอง ตำบลศรีภูมิ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน 2.2 กรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 6 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง ติดตั้งบริเวณ บ้านหนองน้ำใส หมู่ที่ 6 ตำบลวังกรด อำเภอ บางมูลนาก จังหวัดพิจิตร โดยสูบน้ำจากหนองน้ำขุนไปยังหนองน้ำใส เก็บกักเป็นน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปาหมู่บ้าน โดยมีประชาชนได้รับประโยชน์ จำนวน 56 ครัวเรือน 250 คน
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2566 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้กำหนดจัดประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาแผนหลักแบบบูรณาการ เพื่อการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง พื้นที่เฉพาะ (Area Based) เชียงใหม่-ลำพูนณ ห้องประชุมสวรรคโลก ชั้น 6 โรงแรมคุ้มภูคำ เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ นำโดยนายสุรสีห์ กิติมลฑลเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พร้อมทั้งผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน ผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำกลุ่มนักวิชาการอิสระรวมทั้งสื่อมวลชน ในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอร่างแผนหลักและแผนปฏิบัติการ การวางโครงการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งเบื้องต้น พร้อมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุมทุกภาคส่วน ตลอดจนร่วมตรวจสอบความ ถูกต้องและความสมบูรณ์ของข้อมูล