สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 9 สค. 66
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงสูงสุดที่ผ่านมารายภาค มีฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณ จ.เชียงราย (119)
จ.ตรัง (100) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (73) จ.นครนายก (58) จ.นครราชสีมา (52) จ.สระบุรี (26)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 42,720 ล้าน ลบ.ม. (51%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,005 ล้าน ลบ.ม. (53%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมชลประทาน ลงพื้นที่ตรวจสอบสภาพความพร้อมของอาคารชลประทาน เงื่อนไขและข้อจำกัดในการบริหารจัดการน้ำ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำยม จังหวัดสุโขทัย เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2566
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วง 1-3 วัน บริเวณ ภาคเหนือ จ.น่าน เชียงราย และตาก ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ภาคตะวันออก จ.จันทบุรี และตราด
ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 13/2566 เรื่อง เฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขง ในช่วงวันที่ 10 – 15 สิงหาคม 2566 โดย กอนช. ได้คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ดังนี้
- สถานีเชียงแสน จ.เชียงราย ปัจจุบันมีระดับน้ำ 5.42 เมตร ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 7.38 เมตร คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้น 0.40 – 0.60 เมตร
- สถานีเชียงคาน จังหวัดเลย ปัจจุบันมีระดับน้ำ 12.26 เมตร ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 3.74 เมตร คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้น ประมาณ 2.00 – 2.50 เมตร
- สถานีหนองคาย จ.หนองคาย ปัจจุบันมีระดับน้ำ 8.35 เมตร ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 5.05 เมตร คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้น 2.50 – 3.50 เมตร
- สถานีนครพนม จ.นครพนม ปัจจุบันมีระดับน้ำ 9.46 เมตร ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 2.54 เมตร คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้น 2.50 – 3.50 เมตร และคาดการณ์ระดับน้ำจะมีแนวโน้มล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 11-15 สิงหาคม 2566
- สถานีมุกดาหาร จ.มุกดาหาร ปัจจุบันมีระดับน้ำ 8.98 เมตร ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 3.52 เมตร คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้น 2.00 – 2.50 เมตร
- สถานีโขงเจียม จ.อุบลราชธานี ปัจจุบันมีระดับน้ำ 10.60 เมตร ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 3.90 เมตร คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้น 1.00 – 1.50 เมตร ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ดังกล่าว และจังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี โปรดประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงและแจ้งเตือนให้ประชาชนรับทราบ
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 9 สิงหาคม 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 13/2566 ลงวันที่ 8 ส.ค. 2566 แจ้งเตือนเฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขง ด้วย กอนช. ได้ติดตามสถานการณ์น้ำแม่น้ำโขง พบว่าระดับน้ำในพื้นที่แม่น้ำโขงตอนล่าง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงวันที่ 10 – 15 สิงหาคม 2566 โดย กอนช. ได้คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ
ดังนี้ สถานีเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันมีระดับน้ำ 5.42 เมตร ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 7.38 เมตร เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.40 – 0.60 เมตร สถานีเชียงคาน จังหวัดเลย ปัจจุบันมีระดับน้ำ 12.26 เมตร ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 3.74 เมตร คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้น ประมาณ 2.00 – 2.50 เมตร สถานีหนองคาย จังหวัดหนองคาย ปัจจุบันมีระดับน้ำ 8.35 เมตร ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 5.05 เมตร คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้น 2.50 – 3.50 เมตร สถานีนครพนม จังหวัดนครพนม ปัจจุบันมีระดับน้ำ 9.46 เมตร ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 2.54 เมตร คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้น 2.50 – 3.50 เมตร และคาดการณ์ระดับน้ำจะมีแนวโน้มล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 11 – 15 สิงหาคม 2566 สถานีมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ปัจจุบันมีระดับน้ำ 8.98 เมตร ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 3.52 เมตร คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้น 2.00 – 2.50 เมตร และสถานีโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันมีระดับน้ำ 10.60 เมตร ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 3.90 เมตร คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้น 1.00 – 1.50 เมตร
สภาพอากาศ
ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคใต้ กับมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคเหนือ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรุงเทพมหานครร่วมกับกรมราชทัณฑ์ ดำเนินการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ เพื่อเตรียมพร้อมรับฝน ให้ท่อระบายน้ำไหลได้สะดวก รวดเร็ว ไม่อุดตัน โดยได้ดำเนินการในหลายจุด อาทิ ถนนสุรวงศ์ ถนนสาทรเหนือ พื้นที่เขตบางรัก ถนนตรีมิตร พื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ ถนนหลวงแพ่งถึงคลองลำมะขาม พื้นที่เขตลาดกระบัง และถนนเจริญกรุง (2ฝั่ง) จากคลองโอ่งอ่างถึงคลองสาทร พื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จัดการอบรมหลักสูตร “เสริมสร้างความรู้ด้านการพัฒนาและบริหารจัดการน้ำบาดาลสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” ครั้งที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถปฏิบัติงาน เจาะและพัฒนาน้ำบาดาล ควบคุมกิจการน้ำบาดาลได้อย่างมีมาตรฐาน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมฯ เป็นบุคลากร
จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 80 ราย ณ โรงแรมจันทรา อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว