สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 2 ส.ค. 66
ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงสูงสุดที่ผ่านมารายภาค มีฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณ จ.แม่ฮ่องสอน (120)
จ.บึงกาฬ (106) จ.ตรัง (91) จ.ตราด (36) จ.กาญจนบุรี (27) และ กรุงเทพมหานคร (10)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 41,225 ล้าน ลบ.ม. (50%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,606 ล้าน ลบ.ม. (51%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กอนช. ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 12/2566 ในช่วงวันที่ 28 ก.ค. – 2 ส.ค. 66 ดังนี้
• ภาคเหนือ จ.ตาก และอุทัยธานี
• ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชัยภูมิ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
• ภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
• ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จัดชุดบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 4 นาย พร้อมรถยนต์ตรวจการณ์ จำนวน 1 คัน เข้าติดตามและประเมินสถานการณ์ปริมาณน้ำในแม่น้ำกก สะพาน และประตูระบายน้ำ สถานการณ์ปกติ เพื่อเป็นข้อมูลในการแจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง และสามารถเข้าช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีหากเกิดเหตุการณ์ ณ พื้นที่ อ.เวียงชัย จ.เชียงราย
กอนช. ติดตามหน่วยงานดำเนินการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ EEC และจ.พะเยากรมชลประทาน บริหารจัดการน้ำในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จังหวัดระยอง ให้เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำ Hydro flow ขนาด 42 นิ้ว จำนวน 3 เครื่อง บริเวณปากคลองผันน้ำเชื่อมอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่-อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จังหวัดระยอง เพื่อเร่งการผันน้ำจากอ่างฯ คลองใหญ่ ไปเติมอ่างฯ หนองปลาไหล เพื่อกระจายน้ำสำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภค และอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC นั้นกรมชลประทาน ร่วมวางแผนและเร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำแล้วเสร็จจำนวน 1 เครื่อง พร้อมเดินเครื่องผันน้ำแล้ว โดยสามารถสูบน้ำได้ในอัตรา 3.5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้ช่วยเร่งผันน้ำไปยังอ่างฯ หนองปลาไหลได้เร็วยิ่งขึ้น คาดว่าจะสามารถเร่งติดตั้งอีกจำนวน 2 เครื่อง ได้แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 1 ส.ค.66 ที่ผ่านมา
กรมเจ้าท่า ขุดลอกแม่น้ำลาว ต.แม่ลาว อ.เชียงคำ จ.พะเยา ระยะทาง 2,475 ม. ปริมาณวัสดุขุดลอก 43,240 ลูกบาศก์เมตร ผลที่คาดว่าจะได้รับหลังการขุดลอก เพิ่มพื้นที่หน้าตัดของร่องน้ำ รองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก การอุปโภค บริโภค และการเกษตร การกัดเซาะตลิ่ง โดยมีประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการขุดลอก ประมาณ 300 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ 5,000 ไร่
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 2 สิงหาคม 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 12/2566 ลงวันที่ 24 ก.ค. 2566 กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์พบพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ในช่วงวันที่ 28 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2566 โดยมีผลกระทบกับ ภาคเหนือ จังหวัดตาก (อำเภออุ้มผาง) จังหวัดอุทัยธานี (อำเภอบ้านไร่) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอเกษตรสมบูรณ์) จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย) จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอเซกา และบึงโขงหลง) จังหวัดนครพนม (อำเภอท่าอุเทน และศรีสงคราม) จังหวัดสกลนคร (อำเภอโคกศรีสุพรรณ) จังหวัดร้อยเอ็ด (อำเภอเสลภูมิ และโพนทอง) จังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอนางรอง) จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอชุมพลบุรี) จังหวัดศรีสะเกษ (อำเภอภูสิงห์ ขุขันธ์ ขุนหาญ
และปรางค์กู่) จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอบุณฑริก) ภาคตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอท่าตะเกียบ) จังหวัดชลบุรี (อำเภอบ่อทอง) จังหวัดระยอง (อำเภอเขาชะเมา บ้านค่าย แกลง และบ้านฉาง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง มะขาม เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ โป่งน้ำร้อน แก่งหางแมว และนายายอาม) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด บ่อไร่ เกาะช้าง แหลมงอบ และเขาสมิง) ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง กะเปอร์ และกระบุรี) จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จังหวัดกระบี่ (อำเภอเมืองกระบี่) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอบ้านตาขุน และพนม) จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอช้างกลาง)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมเจ้าท่า ดำเนินการขุดลอกแม่น้ำลาว ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา โดยคาดว่าหลังการขุดลอก จะมาสามารถเพิ่มพื้นที่หน้าตัดของร่องน้ำ รองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก การอุปโภค บริโภค และการเกษตร ลดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตร การกัดเซาะตลิ่ง โดยมีประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการขุดลอก ประมาณ 300 ครัวเรือน
พื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ 5,000 ไร่
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
กรมโยธาธิการและผังเมือง จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา โครงการขุดลอกพัฒนาแหล่งน้ำบึงแม่หนอง ภายใต้โครงการพัฒนาตามผังภูมิสังคมเพื่อการบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (Geo – social Map) หมู่ที่ 6 ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี โดยอาศัยกลไกความร่วมมือการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในจังหวัดสระบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” พัฒนาคุณภาพชีวิตให้พี่น้องประชาชน นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งที่ดี Change for Good ในพื้นที่