สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 20 ก.ค.66
ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักมากบริเวณ จ.พังงา (152) จ.สุรินทร์ (89) จ.พะเยา (86) จ.ระยอง (41) จ.ลพบุรี (34)
จ.กาญจนบุรี (30)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 40,317 ล้าน ลบ.ม. (49%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 35,850 ล้าน ลบ.ม. (50%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี ยกเว้นสถานีบางปะกง
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติกอนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก (เพิ่มเติมจากฉบับที่ 9/2566) ในช่วงวันที่ 18-21 ก.ค. 66 ดังนี้ภาคเหนือ บริเวณ จ.เชียงใหม่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณ จ.หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ อุบลราชธานี นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ ภาคกลาง บริเวณ จ.กาญจนบุรี และสระบุรี ภาคตะวันออก บริเวณ จ.จันทบุรี และตราดกอนช. เร่งช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยจากพายุตาลิมและร่องมรสุมโดยสถานการณ์ในหลายพื้นที่เริ่มคลี่คลาย ชี้แม้มีปริมาณฝนมากขึ้นแต่ฝนสะสมทั้งประเทศยังคงต่ำกว่าค่าปกติ 24% แต่มีทิศทางดีขึ้นโดยยังต้องประหยัดน้ำและส่งเสริมการเพาะปลูกรอบเดียว พร้อมย้ำกรมชลประทานใช้อ่างพวงบริหารจัดการน้ำให้เกิดความสมดุลวานนี้ (19 ก.ค. 66) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. ในฐานะรองผู้อำนวยการ กอนช. เปิดเผยภายหลังการประชุมการประเมินสถานการณ์น้ำ กอนช. ณ อาคารจุฑามาศ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) กรมทรัพยากรน้ำ กรมชลประทานกรมทรัพยากรธรณี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นต้น เข้าร่วมการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยมีปริมาณฝนตกเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของพายุตาลิม ร่องมรสุม และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ โดยพื้นที่ที่มีฝนมาก คือ บริเวณชายขอบของประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือฝั่งตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือฝั่งตะวันออก ภาคตะวันออกภาคตะวันตก ภาคใต้ตอนบน และฝั่งตะวันตก ซึ่งส่งผลให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ เช่น จ.ระนอง และชุมพร รวมถึงเกิดดินสไลด์ในบางแห่ง ทั้งนี้ กอนช. ได้มีการออกประกาศล่วงหน้าเพื่อแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม
พร้อมบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อน 12 มาตรการรับมือฤดูฝน เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์และให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย ปัจจุบันสถานการณ์ในหลายพื้นที่เริ่มคลี่คลายแล้วปัจจุบันพายุตาลิม ซึ่งอยู่บริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ได้ลดกำลังเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงแล้ว และจะค่อยๆ สลายตัวทั้งนี้ สทนช. ได้ร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา และ สสน. คาดการณ์ฝนและปริมาณน้ำจากอิทธิพลของพายุและร่องมรสุม คาดว่าจะส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในช่วงวันที่ 16-22 ก.ค. 66 รวมกว่า 800 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งจะช่วยเติมเต็มปริมาณน้ำให้กับอ่างเก็บน้ำที่มีน้ำน้อย โดยคาดการณ์อ่างฯ ที่จะมีน้ำไหลเข้าสูงสุด ได้แก่ เขื่อนวชิราลงกรณ 188 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ 108 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิริธร 83 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนรัชชประภา 69 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนลำปาว 63 ล้าน ลบ.ม.
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 10/2566 ลงวันที่ 15 ก.ค. 2566 กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์ ประกอบกับพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีแนวโน้มทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำและขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และร่องมรสุมกำลังแรงทำให้พบพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ในช่วงวันที่ 18 – 21 กรกฎาคม 2566 โดยมีผลกระทบกับ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอแม่แจ่ม จอมทอง ฮอด และอมก๋อย) จังหวัดน่าน (อำเภอนาน้อย) จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอฟากท่า) จังหวัดพิษณุโลก (อำเภอเนินมะปราง และวังทอง) และจังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ หล่มสัก วิเชียรบุรีและบึงสามพัน) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนองคาย (อำเภอสังคม โพธิ์ตาก และท่าบ่อ) จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอพรเจริญ ศรีวิไล โซ่พิสัย และเมืองบึงกาฬ) จังหวัดสกลนคร (อำเภอกุสุมาลย์ วานรนิวาส คำตากล้า บ้านม่วง และอากาศอำนวย) จังหวัดเลย (อำเภอนาด้วง และปากชม) จังหวัดหนองบัวลำภู (อำเภอสุวรรณคูหา และนากลาง)จังหวัดอุดรธานี (อำเภอทุ่งฝน หนองหาน พิบูลย์รักษ์ น้ำโสม นายูง บ้านผือ และกุดจับ) จังหวัดนครพนม (อำเภอปลาปาก เรณูนคร นาแก เมืองนครพนม และธาตุพนม) จังหวัดมุกดาหาร (อำเภอดงหลวง) จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอคอนสวรรค์ หนองบัวแดง และแก้งคร้อ) จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอวารินชำราบ นาจะหลวย เดชอุดม สำโรง น้ำยืนทุ่งศรีอุดม น้ำขุ่น สิรินธร พิบูลมังสาหาร และเมืองอุบลราชธานี) จังหวัดนครราชสีมา (อำเภอปากช่อง) จังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอกระสัง) จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอสังขะ ศีขรภูมิ ลำดวน เมืองสุรินทร์ เขวาสินรินทริ์ บัวเชด และศรีณรงค์) จังหวัดศรีสะเกษ (อำเภอขุขันธ์ ภูสิงห์ ปรางค์กู่ เมืองศรีสะเกษ กันทรารมย์ อุทุมพรพิสัย ยางชุมน้อยน้ำเกลี้ยง โนนคูณพยุห์ กันทรลักษ์ วังหิน เบญจลักษ์ ศรีรัตนะ ราศีไศล และไพรบึง) ภาคกลาง จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอทองผาภูมิ และสังขละบุรี) จังหวัดสระบุรี (อำเภอแก่งคอย มวกเหล็ก และวิหารแดง) ภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี แหลมสิงห์ นายายอาม และเขาคิชฌกูฏ) จังหวัดตราด (อำเภอแหลมงอบ และเขาสมิง)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมการประเมินสถานการณ์น้ำ กอนช.ว่า ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยมีปริมาณฝนตกเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของพายุตาลิม ร่องมรสุม และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ โดยพื้นที่ที่มีฝนมาก คือ บริเวณชายขอบของประเทศ ซึ่งส่งผลให้
เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ เช่น จ.ระนอง จ.ชุมพร ฯลฯ รวมถึงเกิดเหตุดินสไลด์ในบางแห่ง ทั้งนี้ กอนช.ได้มีการออกประกาศล่วงหน้าเพื่อแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่มพร้อมบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อน 12 มาตรการรับมือฤดูฝน เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์และให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์ในหลายพื้นที่เริ่มคลี่คลายแล้ว “ปัจจุบันพายุตาลิมซึ่งอยู่บริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ได้ลดกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงแล้ว และจะค่อย ๆ สลายตัวในระยะถัดไป ทั้งนี้ สทนช. ได้ร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา และ สสน. คาดการณ์ฝนและปริมาณน้ำจากอิทธิพลของพายุและร่องมรสุม คาดว่าจะส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในช่วงวันที่ 16-22 ก.ค. 66 รวมกว่า 800 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)