สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 7 ก.ค. 66
ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในระยะนี้
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักบริเวณ จ.อุทัยธานี (75) จ.เลย (69) จ.ฉะเชิงเทรา (51) จ.พัทลุง (48) จ.กาญจนบุรี (30) จ.สระบุรี (28)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 40,358 ล้าน ลบ.ม. (49%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,357 ล้าน ลบ.ม. (51%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานีประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วง 8–11 ก.ค. 66 บริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุบลราชธานี มุกดาหาร และนครพนม ภาคตะวันออก จ.ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ระนอง ตรัง กระบี่ พังงา สตูล และพัทลุง
กรมชลประทาน ได้ใช้ระบบชลประทานในลุ่มน้ำชี ในการจัดจราจรน้ำ ด้วยการระบายน้ำที่เขื่อนยโสธร – พนมไพร และระบายน้ำจากเขื่อนธาตุน้อย โดยเร่งระบายน้ำลงสู่แม่น้ำชีและแม่น้ำมูลตามลำดับ เพื่อให้มีพื้นที่ไว้รองรับปริมาณน้ำที่จะไหลลงมาสมทบได้อีก ช่วยลดผลกระทบ หากไม่มีฝนตกเพิ่ม คาดว่ามวลน้ำทั้งหมดจะไหลลงสู่แม่น้ำชี ซึ่งบางส่วนจะถูกผันเข้าไปเก็บกักไว้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติโดยจะบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณฝนที่อาจตกลงมา และเตรียมเครื่องสูบน้ำ 25 เครื่อง กระสอบทราย 10,000 กระสอบ กล่องลวดถักบรรจุหินใหญ่ (Gabion) เครื่องจักร เครื่องมือ และบุคลากรเพื่อเฝ้าระวังแนวพนังกั้นน้ำยัง ตลอด 24 ชั่วโมงสทนช. จัดโครงการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุรับมือสถานการณ์อุทกภัยพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น ตามมาตรการที่ 8ใน 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566วานนี้ (6 ก.ค. 66) นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการ สทนช.ในฐานะเลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุตั้งศูนย์ส่วนหน้า และสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชน ณ โรงแรม กรีน โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท ขอนแก่นจ.ขอนแก่น โดยมีผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กรมประชาสัมพันธ์ หน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายภาคประชาชน เข้าร่วมการฝึกซ้อม สำหรับรูปแบบการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุรับมือสถานการณ์อุทกภัยเป็นการฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะ (Table Top Exercise : TTX) จำลองสถานการณ์เกิดอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น มีขั้นตอนการฝึกประกอบด้วย การจำลองการจัดตั้งศูนย์ส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย และใช้กลไกการปฏิบัติตามโครงสร้างของศูนย์ส่วนหน้า รวมทั้งการเตรียมความพร้อมทั้งเครื่องจักรเครื่องมือแผนเผชิญเหตุ โดยแบ่งการทำงานเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ส่วนอำนวยการ ส่วนปฏิบัติการ ส่วนสนับสนุน และส่วนประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้ การฝึกซ้อม ตามโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการฝึกซ้อมแล้ว 1 ครั้งในพื้นที่ภาคเหนือที่จ.เชียงราย ครั้งที่ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น และจะดำเนินการต่อเนื่องใน จ.เพชรบุรี ยะลา ลพบุรี และปราจีนบุรี ในช่วงระหว่างเดือน ก.ค. – ส.ค. 66 นี้