สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 16 มิ.ย. 66
ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.สุโขทัย (52) จ.สงขลา (51) จ.กาญจนบุรี (35) จ.ชัยภูมิ (33) จ.นครนายก (21) จ.พระนครศรีอยุธยา (17)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 41,790 ล้าน ลบ.ม. (51%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 37,379 ล้าน ลบ.ม. (52%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากช่วง 1-3 วัน ดังนี้ ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลงพื้นที่ซ่อมแซมระบบสูบน้ำและระบบประปาบาดาล ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 2 แห่ง ซึ่งสามารถใช้งานได้เรียบร้อยแล้ว ดังนี้บ้านหนองเป็ด หมู่ที่ 3 ตำบลนาคาย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานีโรงเรียนเพียงหลวง 12 หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
กอนช. ติดตามการแก้ไขและให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ
กรมชลประทานร่วมกับจังหวัดชุมพร เข้าช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้ง กิจกรรมเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ 31 พฤษถาคม 2566 จนถึงปัจจุบันมีการช่วยเหลือด้านน้ำไปแล้ว รวม 109 เที่ยว คิดเป็นปริมาณน้ำ 954,000 ลิตร และทางกรมชลประทานจะให้การช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องต่อไปเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งในจังหวัดชุมพรอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันดำเนินการนำรถบรรทุกน้ำเข้าช่วยเหลือที่ ตำบลช่องไม้แก้ว อำเภอทุ่งตะโก ปริมาณน้ำ 252,000 ลิตร ตำบลเขาค่าย อำเภอสวี ปริมาณน้ำ 288,000 ลิตร ตำบลรับร่อ อำเภอท่าแซะ ปริมาณน้ำ 120,000 ลิตร ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว ปริมาณน้ำ 30,000 ลิตร ตำบลสวนแตง อำเภอละแม ปริมาณน้ำ 240,000 ลิตร และพื้นที่ใกล้เคียงอีก 24,000 ลิตร และการช่วยเหลือด้านรถแบ็คโฮ (บูมสั้น)ขุดลอกตะกอนคลองสวีหนุ่ม คลองหินดำ คลองดินแดง ห้วยขุนไกร สระเก็บน้ำประปาคลองดินแดง และการช่วยเหลือในส่วนรถแบ็คโฮ (บูมยาว) เข้าขุดลอกตะกอนและกำจัดวัชพืช คลองหินดำสระเก็บน้ำ สระเก็บน้ำประปาฝายพัฒนา คลองสวีหนุ่ม คลองสงหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จัดชุดขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล ดำเนินการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล ขนาด 6 นิ้ว ลึก 120 เมตร สนับสนุนนิคมเกษตรกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงบ้านสนำคอก ที่บ้านแป้น ม.6 ตำบลแป้น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 16 มิถุนายน 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
1.1 กรมเจ้าท่า ดำเนินการขุดลอกแม่น้ำนึง ตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ดำเนินการขุดลอก ระยะทาง 4,225 เมตร เพื่อเพิ่มพื้นที่หน้าตัดของร่องน้ำ รองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก การอุปโภค บริโภค ลดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตร การกัดเซาะตลิ่ง โดยมีประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการขุดลอก จำนวน 4 หมู่บ้าน ประมาณ 525 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ 1,710 ไร่1.2 กรมชลประทาน ดำเนินการนำเครื่องจักรเครื่องมือเข้าช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ ตำบลเชียงแหวอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี และตำบลไร่ใหม่ อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรในพื้นที่จากสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ
สภาพอากาศ
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมีลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนจากประเทศเมียนมาเคลื่อนผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และภาคตะวันออก หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 18 – 21 มิ.ย. 66 ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
กรมทรัพยากรน้ำ ลงพื้นที่ตรวจสอบ และบำรุงรักษาสถานีโทรมาตร (Telemetering) ลุ่มน้ำท่าจีน และระบบส่งสัญญาณภาพ (CCTV) ในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐมและจังหวัดสมุทรสาคร โดยตรวจสอบการทำงานของระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร อุปกรณ์ตรวจวัดน้ำฝน และคุณภาพน้ำแบบอัตโนมัติ พร้อมทั้งทำความสะอาดบริเวณภายในตู้ควบคุม และบริเวณโดยรอบสถานีเพื่อให้มีความพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา
การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่มล่วงหน้า 3 วัน
สทนช. ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยล่วงหน้า 3 วัน พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่ม จำนวน 5 จังหวัด ดังนี้ จังหวัดจันทบุรี (ขลุง แหลมสิงห์ เขาคิชฌกูฏ และท่าใหม่) จังหวัดนครนายก (ปากพลี และเมืองนครนายก) จังหวัดปราจีนบุรี (เมืองปราจีนบุรี และประจันตคาม) จังหวัดระยอง (เขาชะเมา) และจังหวัดกาญจนบุรี (ทองผาภูมิ)