สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 24 เม.ย. 66
ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ในขณะที่ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.พังงา (95 มม.) จ.กาฬสินธุ์ (91 มม.) และ จ.นครศรีธรรมราช (80 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 23,165 ล้าน ลบ.ม. (40%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 18,921 ล้าน ลบ.ม. (40%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน วันที่ 24-26 เม.ย. 66 ในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย บึงกาฬหนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
กอนช. ติดตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ จ.กระบี่
กรมชลประทาน วางแผนแนวทางดำเนินการศึกษา สำรวจ ออกแบบ โครงการฯ เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ จ.กระบี่ ดังนี้โครงการอ่างเก็บน้ำคลองกระบี่ใหญ่ ต.ทับปริก อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่ แก้ไขปัญหาน้ำเอ่อล้นตลิ่งท่วมขังในพื้นที่ โดยการศึกษาเบื้องต้น พบว่า หากดำเนินการโครงการฯ แล้วเสร็จ จะสามารถตัดยอดน้ำได้ประมาณ 30.96 ล้าน ลบ.ม./ปี และส่งน้ำให้พื้นที่รับประโยชน์ 12,000 ไร่โครงการอ่างเก็บน้ำบริเวณตอนบนของลุ่มน้ำ พื้นที่ ต.ทับปริก อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่ เพื่อเก็บกักน้ำและส่งน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภค-บริโภคในฤดูแล้งโครงการคลองผันน้ำ เพื่อลดปริมาณน้ำไหลเข้าเทศบาลเมืองกระบี่ และเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการขยายตัวของชุมชนโครงการแก้มลิงหนองทะเล ณ หนองน้ำธรรมชาติบ้านหนองทะเล อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่ เพิ่มศักยภาพการเก็บกักเพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับผลิตน้ำประปา และเพื่อการเกษตรในพื้นที่ ต.หนองทะเล และพื้นที่ใกล้เคียง คาดว่าแล้วเสร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 24 เมษายน 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
1.1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นำรถบรรทุกติดตั้งเครื่องสูบส่งน้ำระยะไกล เข้าติดตั้งเพื่อสูบน้ำสนับสนุนการผลิตน้ำประปาของ อบต.ไชยราช อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งดำเนินการสร้างและปรับปรุงบ่อพักน้ำ คาดว่าใช้เวลาสูบน้ำประมาณ 10 วัน เพื่อให้มีปริมาณน้ำสำหรับผลิตน้ำประปาได้เพียงพอสำหรับช่วงฤดูแล้ง และบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
1.2 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานและเจาะบ่อน้ำบาดาล ตามโครงการสำรวจและจัดทำแผนที่ศักยภาพน้ำบาดาล สำหรับบริหารจัดการน้ำบาดาลพื้นที่ภัยแล้งซ้ำซาก แอ่งหนองฝ้าย ณ บ้านหนองงิ้วโล้ง หมู่ที่ 9 ตำบลหนองโสน อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี
สภาพอากาศ
ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และด้านตะวันออกของภาคตะวันออกก่อน สำหรับความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมด้านตะวันตกของประเทศไทย ทำให้ตอนบนยังคงมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือ ด้านตะวันตกของ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก สำหรับลมตะวันออก และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 23,165 ล้าน ลบ.ม. (40%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 18,885 ล้าน ลบ.ม. (39%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,533 ล้าน ลบ.ม. (50%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,747 ล้าน ลบ.ม. (34%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 6,999 ล้าน ลบ.ม. (39%)
ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 18,809 ล้าน ลบ.ม. (40%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 19,354 ล้าน ลบ.ม. (88%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 7,925 ล้าน ลบ.ม. (92%)