เทียบนโยบายใช้เงิน เพื่อไทย-ก้าวไกล คุ้มค่า หรือ ขาดทุน
เหลือเวลาอีกไม่ถึง 21 วัน จะถึงวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 เป็นวันเลือกตั้งครั้งสำคัญที่จะกำหนดอนาคตประเทศ-ชะตากรรมของคนไทยกว่า 70 ล้านคน
เลือกตั้ง 66 นอกจากการแข่งขั้นกันอย่างดุเดือดระหว่างพรรคการเมืองที่อยู่กันละขั้วแล้ว ขั้วเดียวกัน-พรรคฝ่ายค้านยังต้องหักเหลี่ยม-เฉือนคมกันอย่างถึงพริกถึงขิง เพื่อกินส่วนแบ่งทางการเมืองของฝ่ายประชาธิปไตย
รูปธรรมที่จับต้องได้-ประกอบการติดสินใจเลือกพรรคพี่ หรือ พรรคน้อง คือ นโยบายและความคุ้มค่าของการใช้เงินงบประมาณ นอกเหนือจากอุดมการณ์ประชาธิปไตย-เสรีนิยมประชาธิปไตยที่ขึ้นเวทีปราศรัยก็ลุกเป็นไฟ-กินกันไม่ลง
พรรคน้องก้าวหน้า-ก้าวไกล ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่-ทั้งฉบับ รื้อกลไกสืบทอดอำนาจ ประชามติทำทันที ขยายสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น เลือกตั้งตามที่อาศัยอยู่จริงได้
เงินที่ต้องใช้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 3,000 ล้านบาท สำหรับทำประชามติ 2 ครั้ง เพื่อขอร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และเพื่อรับรองร่างรัฐธรรมนูญใหม่ รวมถึงการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)
นโยบายปฏิรูปกองทัพ แยกทหารออกจากการเมือง ปรับกองทัพมาอยู่ภายใต้รัฐบาลพลเรือน ตั้งผู้ตรวจการกองทัพ ประชาชนตรวจสอบกองทัพได้ ยกเลิกศาลทหาร ลดขนาดกองทัพ ลดจำนวนนายพล ตัดสิทธิพิเศษที่ไม่เป็นธรรม ยกเลิกบังคับเกณฑ์หาร
ปฏิรูปการศึกษาทหาร นำเข้ายุทโธปกรณ์ ต้องจ้างงาน-โอนถ่ายเทคโนโลยี คืนที่ดินกองทัพให้ประชาชน คืนธุรกิจกองทัพให้รัฐบาล เพิ่มสวัสดิการทหารชั้นผู้น้อย ปลอดภัย-มั่นคง-มีอนาคต ยุบ กอ.รมน. ยกเลิกกฎอัยการศึกชายแดนใต้ ยกเครื่องกฎหมายความมั่นคงพิเศษ
เงินที่ใช้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 12,000 ล้านบาท หากลดกำลังพลลงได้ 30-40 % และนำธุรกิจกองทัพมาบริหารโดยกระทรวงการคลัง จะมีรายได้เพิ่มปีละ 50,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาสวัสดิการและเงินเดือนของทหารเกณฑ์
นโยบายสร้างสังคม คนเท่ากัน สิทธิลาคลอด 180 วัน พ่อ-แม่แบ่งกันได้ ผ้าอนามัยไม่เก็บ VAT แจกฟรีในโรงเรียน พระเลือกตั้งได้ ขายเหล้าตลอดวัน ยกเลิกห้ามขายเหล่า-ฆ่าสัตว์วันพระ รัฐจ้างคนพิการ 20,000 คน เงินคนพิการเดือนละ 3,000 บาท เงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 3,600 ล้านบาท เป็นเงินจ้างงานผู้พิการในหน่วยงานรัฐ
นโยบายสวัสดิการ “เกิด” ของขวัญแรกเกิด 3,000 บาท ซื้อของเลี้ยงลูก เงินเด็กเล็ก เดือนละ 1,200 บาท ศูนย์เลี้ยงเด็กอ่อน-เด็กก่อนวัยเรียนใกล้บ้าน ห้องปั๊มนมในที่ทำงาน
เงินที่ต้องใช้ 50,000 ล้านบาท เป็นเงินอุดหนุนเด็กเล็กและของขวัญแรกเกิด ที่มาของเงินเพิ่มเติมจากเงินอุดหนุนเด็กเล็ก ซึ่งเคยจัดสรรไว้ปีละประมาณ 16,000 ล้านบาท และใช้งบประมาณจากรายได้เพิ่มการจัดเก็บรายได้ภาครัฐรูปแบบใหม่และปรับปรุงระบบภาษี 650,000 ล้านบาทต่อปี
นโยบายสวัสดิการ “เติบโต” เรียนฟรี อาหารฟรี มีรถรับส่ง คูปองเปิดโลก สำหรับเยาวชนเรียนรู้นอกห้องเรียน เงินต้องใช้อุดหนุนกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา 44,600 ล้านบาท ที่มาจากเงินงบประมาณกระทรวงศึกษาฯ รายได้ใหม่
นโยบายสวัสดิการ “ทำงาน” ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทุกปี เริ่มทันทีวันละ 450 บาท ทำงานไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หากเกินต้องได้ OT ประกันสังคมถ้วนหน้า เจ็บป่วยได้เงินชดเชย-ค่าเดินทางหาหมอ คูปองเสริมทักษะ-เปลี่ยนอาชีพ 5,000 บาทต่อปี
เงินที่ต้องใช้ 56,000 ล้านบาท รัฐสมทบให้กับประกันสังคมถ้วนหน้า จากเงินงบประมาณจากการจัดเก็บรายได้ภาครัฐรูปแบบใหม่และเงินที่เพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงระบบภาษี
นโยบายสวัสดิการ “สูงอายุ” เงินผู้สูงวัยเดือนละ 3,000 บาท เจ็บป่วยติดเตียงมีระบบดูแล เงินที่ใช้ 500,000 ล้านบาท เป็นเงินบำนาญผู้สูงอายุเดือนละ 3,000 บาท ที่มาเงินงบประมาณรายจ่ายบางส่วนที่ตั้งไว้สำหรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดิม ปีละ 80,000 ล้านบาท รวมกับงบประมาณจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บรายได้ภาครัฐรูปแบบใหม่และปรับปรุงระบบภาษี
นโยบายสวัสดิการ “ทุกช่วงวัย” บ้านตั้งตัว 350,000 หลัง น้ำประปาดื่มได้ทุกพื้นที่ รถเมล์ไฟฟ้าทุกจังหวัด – เติมเงินท้องถิ่นเพิ่มขนส่งสาธารณะ
เงินต้องใช้ 98,500 ล้านบาท เป็นเบี้ยผู้พิการ เดือนละ 3,000 บาท และการอุดหนุนงบประมาณให้กับ อปท. เพื่อจัดทำบริการสาธารณะ เพิ่มเติม แหล่งที่มาเงินงบประมาณรายจ่ายบางส่วนเดิมที่เคยตั้งไว้เป็นเบี้ยคนพิการ ปีละ 20,000 ล้านบาท และงบจังหวัดจัดการตัวเองตามนโยบายกระจายอำนาจปีละ 17,500 ล้านบาท รวมกับการจัดเก็บรายได้ภาครัฐรูปแบบใหม่และปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษี
นโยบายเลือกตั้งผู้บริหารจังหวัด เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ประชามติยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค ไม่มีใครตกงาน-เสียประโยชน์ เลือกตั้ง “นายกเขต” ทุกเขตในกทม.ใช้เงินย 3,000 ล้านบาท (ใช้ครั้งเดียว) เป็นค่าจัดการเลือกตั้ง
นโยบายเพิ่มงบจังหวัดจัดการตนเองทั่วประเทศ 200,000 ล้านยาทต่อปี ท้องถิ่นมีช่องทางหารายได้ใหม่ กู้เงิน-ออกพันธบัตร-ตั้งบริษัทจัดเก็บภาษี ปรับสูตรกระจายงบให้เป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างพื้นที่
ต้องใช้เงิน 200,000 ล้านบา เป็นเงินอุดหนุน อปท. ที่มาจากการโอนงบประมาณการถ่ายโอนหน้าที่และพันธกิจจากหน่วยงานราชการ ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคมาให้อปท.
นโยบายการศึกษาที่ฟรีจริง เรียนฟรี อาหารฟรี มีรถรับส่ง ทุกโรงเรียนมีงบพอ ต้องใช้เงิน 33,000 ล้านบาท เงินมาจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี รายได้จากจัดเก็บรายได้ภาครัฐรูปแบบใหม่ ปรับปรุงระบบภาษี
นโยบายการศึกษาเท่าทันโลก ออกแบบหลักสูตรใหม่ เน้นทักษะที่ได้ใช้จริง ช่วงโมงเรียนดีมีคุณภาพ ลดคาบเรียน-การบ้าน-การสอบ ลดวิชาบังคับ เพิ่มวิชาทางเลือก โรงเรียน 2 ภาษา นักเรียนพูดภาษาอังกฤษได้ ส่งเสริมเทคโนโลยีทางการศึกษา การศึกษานอกระบบแบบ on-demand อำนวยความสะดวกในการทำ Home School ค่าใช้จ่าย TCAS อัตราเดียว ไม่เกิน 500 บาท ต้องใช้เงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 200 ล้านบาท
นโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต คูปองเปิดโลกสูงสุด 2,000 บาทต่อปี เรียนฟรีอาชีวะถึง ปวส.จบแล้วมีงานทำ เพิ่มงบพัฒนาคุณภาพสถาบันอาชีวศึกษาแห่งละ 10 ล้านบาทต่อปี ส่งเสริมสหกิจศึกษา (เรียน+ฝึกงาน) ในมหาวิทยาลัย
ยกระดับกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ลดค่าใช้จ่ายเรียนต่อมหาวิทยาลัย จ่ายเมื่อจ่ายไหวเท่านั้น แพลตฟอร์มเรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนฟรีไม่จำกัด มีระบบจัดหางาน คูปองเสริมทักษะ-เปลี่ยนอาชีพ
ต้องใช้เงินงบประมาณประจำปี จัดเก็บรายได้ภาครัฐรูปแบบใหม่ ปรับปรุงระบบภาษี 17,000 ล้านบาทเป็นค่าคูปองพัฒนาเรียนรู้
นโยบายปฏิรูปที่ดินทั้งระบบ กองทุนพิสูจน์สิทธิ 10,000 ล้านบาท ยุติข้อพิพาท-ออกเอกสารสิทธิ์ให้เกษตรกร เปลี่ยน สปก.เป็นโฉนดอย่างเป็นธรรม เปลี่ยนนิคมสหกรณ์เป็นโฉนดทันที ตั้งธนาคารที่ดิน กระจายการถือครองที่ดินให้ประชาชน เปลี่ยนระบบภาษีที่ดิน ลดความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดิน ต้องใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 10,000 ล้านบาท (ใช้ครั้งเดียว)
นโยบายปลดหนี้เกษตรกร ปลดหนี้ ธ.ก.ส.เกษตรกรสูงวัย จ่ายหนี้ถึงครึ่ง รัฐยกอีกครึ่งให้ทันที ต้นไม้ปลดหนี้ – รัฐเช่าที่เกษตรกรปลูกไม้มีค่า ปลดหนี้ตั้งแต่วันแรก แถมต้นไม้ใน 20 ปี หลังคาปลดหนี้-รัฐติดดแผงโซลาร์ให้ฟรี เกษตรกรขายไฟฟ้าปลดหนี้
ต้องใช้เงิน 52,500 ล้านบาท เป็นเงินใช้ปลดหนี้เกษตรกรสูงวัย (ใช้ครั้งเดียว) เงินมาจากงบลงทุนจากภาครัฐ ปีละ 11,250 ล้านบาท รวม 4 ปี 45,000 ล้านบาท และงบประมาณจากการระดมทุนในประเทศและต่างประเทศ 41,250 ล้านบาทต่อปี รวม 4 ปี จำนวน 165,000 ล้านบาท
นโยบายลดต้นทุนเกตรกร กระจายงบพัฒนาแหล่งน้ำให้ท้องถิ่น ครอบคลุมพื้นที่นอกเขตชลประทาน 90 ล้านไร่ ซื้อ 1 แถม 1 ปุ๋ยสั่งตัด-แม่ปุ๋ยราคาถูก ผ่านสหกรณ์-กลุ่มเกษตรกร-วิสาหกิจชุมชน ดอกเบี้ย 0 % ผ่อนโดรน รถไถ รถดำนา เครื่องจักร ต้องใช้เงิน 30,000 ล้านบาท
นโยบายสุขภาพกายดี ตรวจสุขภาพประจำปี ฟรีค่าตรวจ-ค่าเดินทาง รวมคัดกรองมะเร็ง 6 ชนิดฟรี แว่นตาฟรีถึง 18 ปี ต้องใช้เงิน 15,000 ล้านบาท จากกองทุนประกันาสุขภาพแห่งชาติ
นโยบายกองทุนดูแลผู้สูงอายุ-ผู้ป่วยติดเตียง งบประมาณเฉลี่ย 9,000 บาทต่อคนต่อเดือน ศูนย์ดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในชุมชนอย่างน้อยอำเภอละ 1 แห่ง ต้องใช้เงิน 33,350 ล้านบาท
นโยบายแก้ปัญหาหนี้สิน จ่ายดี ลดดอกเบี้ย ดอกเบี้ยเงินกู้เป็นธรรม สงครามหนี้นอกระบบตั้งงบประมาณ 1 หมื่นล้านบาท หนี้ราชการไม่ท่วมหัว หักไม่เกิน 70 % ของเงินเดือน ต้องใช้เงิน 500 ล้านบาทชดเชยดอกเบี้ยให้กับธนาคารออมสิน (ใช้ครั้งเดียว)
นโยบายส่งเสริม SMEs ลดรายจ่าย บรรเทาผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล หักค่าใช้จ่ายเหมาภาษี หวยใบเสร็จ ลดหย่อนภาษีให้ธุรกิจที่ซื้อจาก SMEs โควตาชั้นว่างสินค้าในห้างใหญ่ คูปองแลกซื้อสินค้าท้องถิ่น ทุนแสนตั้งตัว 2 แสนราย ทุนล้านตั้งตัว 2.5 หมื่นราย ตั้งสภา SMEs ทุกจังหวัด ต้องใช้เงิน 44,000 ล้านบาท
นโยบายคมนาคมเพื่อทุกคน รถไฟฟ้าถึง ทุกจังหวัดทั่วไทย พัฒนาระบบตั๋วร่วม ใช้บัตรเดียว เดินทางทุกระบบ รถเมล์และรถไฟฟ้า 8-45 บาทตลอดสาย รถเมล์ไฟฟ้าทุกคันภายใน 7 ปี ใช้เงิน 10,000 ล้านบาท
ส่วนพรรคพี่ใหญ่ประชาธิปไตย-เพื่อไทย เงินเดือนคนจบปริญญาตรี 25,000 บาท งบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้น 40,000 ล้านบาท นโยบาย 1 ครอบครัว 1 ศักยภาพ สร้างเงิน สร้างงาน 20 ล้านตำแหน่ง งบประมาณรายจ่ายประจำปี 10,000 ล้านบาท
นโยบายเรียนฟรี มีรายได้ เรียนรู้ง่ายตลอดชีวิต (แพลตฟอร์ม Learn to Earn) เงินที่ต้องใช้และที่มาของเงิน 150 ล้านบาท ตั้งกองทุนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
นโยบาย One Tablet per Child free internet เงินที่ต้องใช้ งบประมาณประจำปี 29,000 ล้านบาท นโยบาย One Tablet per Teacher with free internet งบประมาณประจำปี 2,800 ล้านบาท
นโยบาย 1 อำเภอ 1 ทุน งบประมาณประจำปี 3,000 ล้านบาท นโยบายเรียนฟรีต้องฟรีจริง เพิ่มงบอาหารกลางวัน 20 % มีรถรับส่ง งบประมาณประจำปี 7,000 ล้านบาท
นโยบายเพิ่มงบประมาณให้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา งบประมาณประจำปี 8,000 ล้านบาท นโยบายเรียนอาชีวะฟรีมีอยู่จริง ปั้นสถาบันอาชีวะเป็นศูนย์สร้างสรรค์สร้างตัวได้ งบประมาณประจำปี 5,000 ล้านบาท
นโยบายจบปริญญาตรี อายุ 18 ปี ใช้งบประมาณปกติ นโยบาย 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน งบประมาณประจำปี 3,000 ล้านบาท นโยบายโรงเรียน 2 ภาษาทุกท้องถิ่น นโยบายยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ งบประมาณปกติ
นโยบายสินค้าการเกษตรขึ้นยกแผง รายได้เกษตรเพิ่มขึ้น 3 เท่าใน 4 ปี งบประมาณปกติ นโยบายพักหนี้เกษตรกร 3 ปี งบประมาณประจำปี 8,000 ล้านบาท นโยบายโคขุนเงินล้าน ทุเรียนล้านไร่ ปลูกพืชทดแทนและเลี้ยงสัตว์ งบประมาณปกติ
สนับสนุนการทำประมงพื้นบ้านขนาดเล็ก งบประมาณปกติ เจรจากฎหมายประมง (IUU) รวมถึงประมงทะเลและการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาส เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันภาคการเกษตร งบประมาณปกติ
เงินสมทบคนสร้างตัว วงเงินที่ใช้และที่มาของเงิน งบประมาณประจำปี 90,000 ล้านบาท สวัสดิการผู้สูงอายุ 300,000 ล้านบาท งบประมาณรายจ่ายประจำ 300,000 ล้านบาท หวยบำเหน็จ งบประมาณรายจ่ายประจำปี 800 ล้านบาท สนับสนุนและให้สิทธิประโยชน์การจ้างงานผู้สูงอายุ งบประมาณรายจ่ายประจำปี 500 ล้านบาท
นโยบาย “รถไฟฟ้า กทม.” 20 บาทตลอดสาย งบประมาณรายจ่ายประจำปี 40,000 ล้านบาท + 8,000 ล้านบาทต่อปี ติดแอร์ให้รถไฟชั้นสามทุกขบวน พร้อมปรับปรุงสภาพภายในให้มีความทันสมัย งบประมาณรายจ่ายประจำปี 920 ล้านบาทต่อปี
ยกระดับรถไฟโดยสารทั่วประเทศให้สามารถเป็นการเดินทางแบบไปกลับประจำได้อย่างแท้จริง ที่มาของเงินจากงบประมาณปกติ เงินกู้ เงินนอกงบประมาณ วงเงิน 11,700 ล้านบาทต่อปี
เชื่อโยงรถไฟขนส่งสินค้า จาก ลาว เข้าสู่ ท่าเรือแหลมฉบัง และสนามบินสุวรรณภูมิ งบประมาณปกติ เงินกู้ เงินนอกงบประมาณ วงเงิน 45,000 ล้านบาทต่อปี เป็นระยะเวลา 9 ปี
เชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงทั่วประเทศ งบประมาณปกติ เงินกู้ เงินนอกงบประมาณ วงเงิน 80,000 ล้านบาทต่อปี เป็นระยะเวลา 10 ปี เร่งเจรจาพื้นที่ทับซ้อนด้านพลังงาน สนับสนุนพลังงานสะอาด พลังงานทางเลือก บริหารงบประมาณปกติ
ยกระดับ 30 บาท รักษาทุกโรค งบประมาณปกติเพิ่มขึ้นจากเดิม 20,000 ล้านบาท เปลี่ยนโรงพยาบาลรัฐที่พร้อมเป็นองค์การมหาชน สร้างศูนย์ชีวาภิบาลดูแลผู้ป่วยสูงอายุ งบประมาณปกติ
รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน งบประมาณรายจ่าย 3,000 ล้านบาท ปฏิรูปกองทัพเป็นทหารอาชีพ ปฏิรูประบบราชการ กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม กระจายอำนาจ เพิ่มงบท้องถิ่น เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดที่พร้อม บริหารงบปกติ
ไม่ท่วม ไม่แล้ง ชนบทมีน้ำกินน้ำใช้ ด้วยระบบบาดาล งบประมาณประจำปี เบื้องต้น 500,000 ล้านบาท มีที่ทำกิน ได้รับเอกสารสิทธิ์ทั่วหน้า ชีวิตดี มีคุณภาพและปลอดภัย บริหารงบประมาณปกติ
Blockchain สัญชาติไทย เงินสกุลดิจิตอล และ Digital Wallet เพื่อประชาชน รัฐบาลดิจิตอลเพื่อประชาชน เขตธุรกิจใหม่ Digital OTOP นโยบาย 1 ตำบล 1 IT Man กลต.ดิจิทัล และการระดมทุนดิจิทัลเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจดิจิทัล บริหารงบประมาณปกติ
ส่งเสริมแลนด์มาร์คการท่องเที่ยวด้านการแพทย์และสุขภาพ เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว 3 ล้านล้านล้านบาทต่อปี ยกระดับหนังสือเดินทางไทย ศูนย์กลางด้านการขนส่งของภูมิภาค ยกระดับเมืองมหานครทั้งระบบ บริหารงบประมาณปกติ
ลดภาระหนี้ประชาชน งบประมาณประจำปี 13,000 ล้านบาท สนับสนุนและส่งเสริม SMEs งบประมาณประจำปี 30,000 ล้านบาท
กระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล วงเงินที่ต้องใช้ 560,000 ล้านบาท ที่มาของเงิน จากการบริหารระบบงบประมาณและระบบภาษี ประมาณการรายได้รัฐที่เพิ่มขึ้นในปี 67 จำนวน 260,000 ล้านบาท
ภาษีที่ได้มาจากผลคูณต่อเศรษฐกิจจากนโยบาย จำนวน 100,000 ล้านบาท การบริหารจัดการงบประมาณ จำนวน 110,000 ล้านบาท การบริหารงบประมาณด้านสวัสดิการที่ซ้ำซ้อน จำนวน 90,000 ล้านบาท
ลดช่องว่างรายได้ประชาชนให้มีรายได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 20,000 บาท ส่งเสริม Blockchain Hub และ Fintech center ของอาเซียน บริหารงบประมาณปกติ
เป็นฉากต่อสู้การเมืองไทยแห่งอนาคตที่มีพรรคใหญ่ 2 พรรค คือ เพื่อไทยกับก้าวไกล